บล.บัวหลวง:
TMBThanachart Bank (TTB TB /TTB.BK)
TTB – แพล็ตฟอร์มออไลน์หนุนการเติบโต
เมื่อวันที่ 2 พ.ย. เราได้จัดการประชุมกับทางผู้บริหารของ TTB โดย TTB คาดสินเชื่อรายย่อยจะเป็นตัวหนุนการเติบโตในระยะยาว ต้นทุนทางการเงินไม่ได้ปรับตัวขึ้นมากนัก เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยฝาก CASA จะยังคงทรงตัวอยู่ เราคาดธนาคารดิจิทัลจะเป็นเครื่องยนต์หนุนการเติบโตในระยะยาว
สินเชื่อพร้อมที่จะกลับมาเติบโตอีกครั้ง
ในเมื่อวันที่ 2 พ.ย. เราได้จัดการประชุมกับทางผู้บริหารของ TTB โดยได้รับเกียรติจาก คุณนริศ อารักษ์สกุลวงศ์ (หัวหน้ากลยุทธ์องค์กร) และคุณดารารัตน์ อุระพันธมาศ (หัวหน้านักลงทุนสัมพันธ์) มาเข้าร่วมให้ข้อมูลกับนักลงทุน ในประเทศ ปัจจุบันธนาคารพร้อมที่จะหนุนการเติบโตของธุรกิจแล้ว เนื่องจากบริษัทได้รวม TBANK เข้ามาในการดำเนินงาน เปิดตัวแพลตฟอร์มดิจิทัลใหม่ และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ TTB ได้กำหนดให้มีการบริหารและหนี้เสีย โดยการตัดจําหน่ายออกไป ดังนั้นเราคาดจะเห็นสินเชื่อที่เติบโต YoY ที่ 3.5% ในปี 2565 และ 2.5% ในปี 2566 หนุนมาจากธุรกิจรายย่อย สังเกตว่าพอร์ตสินเชื่อของ TTB ลดลง 1.6% YoY ในปี 2564 และทรงตัว YoY ในปี 2563 เนื่องจากบริษัทโฟกัสไปที่คุณภาพของสินทรัพย์ (การบริหารจัดการหนี้เสียและอัตราการตั้งสำรอง) และการควบรวม 2 ธนาคาร (พอร์ตสินเชื่อพุ่งขึ้นถึง 103% ในปี 2562 จากการรวม TBANK)
อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม FIDF ที่ปรับตัวขึ้น
ธปท. ประกาศว่าค่าธรรมเนียม FIDF จะกลับไปอยู่ที่ 0.46% ของเงินฝาก สําหรับทุกธนาคารในปี 2566 (ทางการได้ปรับลดมาอยู่ที่ 0.23% ในปี 2563) และเราคาดว่าธปท.จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 25bps ไปเป็น 1.25% ในการประชุมกนง.ในวันที่ 30 พ.ย. และไปเป็น 2% ภายในสิ้นปี 2566 ดังนั้นเราคาด TTB จะปรับขึ้นทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบลอยตัวและคงที่ (สมุดเงินกู้ใหม่) ซึ่งน่าจะบรรเทา (หรือกลบ) ผลกระทบจากค่าธรรมเนียม FIDF และต้นทุนทางการเงินที่ขึ้นมาได้ (TTB จะเน้นเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสําหรับเงินฝากประจํามากกว่าเงินฝาก CASA ดังนั้นต้นทุนทางการเงินจึงไม่เพิ่มขึ้นมากนัก) การบริหารสินเชื่อและอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีประสิทธิภาพจะมีผลอย่างมาก ต่อความสามารถในการทํากําไรของธนาคารพาณิชย์ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า สังเกตว่าเราคาด NIM ปี 2566 ของ TTB ที่ 2.96%
คาดกําไรจะเติบโต YoY ในไตรมาส 4/65
สําหรับไตรมาส 4/65 เราคาดกำไรที่ 3.7 พันล้านบาท เติบโต 32% YoY (ทรง ตัว QoQ) หนุนมาจากการเติบโตของสินเชื่อและการตั้งสํารองที่ลดลง (อัตราการตั้งสํารองเฉลี่ยลดลงจาก 146bps ของสินเชื่อในไตรมาส 4/64 มาเหลือ 122bps ในไตรมาส 4/65) ดังนั้นเราคาดกำไรปี 2565 จะอยู่ที่ 1.4 หมื่นล้านบาท เติบโต 34% YoY
แพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัลจะหนุนการเติบโตในระยะยาว
เราคาดแพลตฟอร์มธนาคารดิจิทัลใหม่นี้จะหนุนการเติบโตของกำไรในระยะยาว (ล่าสุดกำไรของ TTB มีแรงหนุนมาจากเพียงการตั้งสํารองที่ลดลง) แพลตฟอร์มดิจิทัลถูกออกแบบมาเพื่อรองรับทั้งธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อและสินเชื่อไม่มีหลักประกัน แต่จะยังคงสามารถขายสินค้าทางการเงินได้ เช่น ประกันกองทุนรวมและผลิตภัณฑ์ออมทรัพย์อื่นๆ