สรุปภาวะตลาด

วันพุธที่ผ่านมา นิเคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดช่วงการ ซื้อ-ขาย ปรับตัวขึ้นจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน ตามราคาน้ำมันดิบที่ฟื้นตัวขึ้น คลายกังวลจากข่าวก่อนหน้าว่า OPEC จะปรับเพิ่มกำลังการผลิต และหุ้นกลุ่มค้าปลีกเป็นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นค้าของเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับปัจจัยเฉพาะตัวของหุ้น MAKRO ที่มี Big Lot ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,624.40 จุด +9.07 จุด +0.56% มูลค่าการซื้อขาย 64,614 ลบ.ต่างชาติ +2,390.32 ลบ. TFEX +13,673 สัญญา ตราสารหนี้ -2,960.85 ลบ.

ปัจจัยบวก +

+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 95.96 จุด +0.28% หลังจากรายงานการประชุมเดือนพ.ย.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เห็นพ้องกันว่าควรจะชะลอขึ้นดอกเบี้ย หวั่นนโยบายการเงินกระทบเศรษฐกิจสหรัฐ

+ สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก เพิ่มขึ้น 17,000 ราย สู่ระดับ 240,000 รายในสัปดาห์ที่ แล้ว สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 225,000 ราย สนับสนุนเฟดชะลอการขึ้นดอกเบี้ย

+ ที่ปรึกษาแบงก์ชาติจีนเชื่อว่า GDP จีนปี 66 ขยายตัวกว่า 5% หากการหยุดชะงักจากโควิด-19 สิ้นสุดลง และ รัฐบาลจีนออกนโยบายเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นความเชื่อมั่นและการบริโภค

+สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดกิจกรรมชักจูงการลงทุน ณ ประเทศญี่ปุ่นผลักดันการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ปัจจัยลบ –

– สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดร่วงลง 3.01 ดอลลาร์ -3.7% ปิดที่ 77.94 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังมี รายงานว่ากลุ่มประเทศ G7 เตรียมกำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซียไม่ให้เกิน 70 ดอลลาร์/บาร์เรล และสต็อก น้ำมันดิบสหรัฐแลง 3.7 ล้านบาร์เรลมากกว่าคาดว่าจะลดลงเพียง 800,000 บาร์เรล รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในจีน

– ดัชนี PMI รวมภาคผลิต-บริการสหรัฐในเดือนพ.ย. หด ตัวเป็นเดือนที่ 5 ปรับตัวลงสู่ระดับ 46.3 แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน และต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งบ่งชี้ว่า ภาคธุรกิจของสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว

– ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคผลิต-บริการ ขั้นต้นของยูโรโซนเดือนพ.ย. ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยสู่ระดับ 47.8 จาก 47.3 ในเดือนต.ค. สวนทางกับคาดการณ์ แต่ ดัชนี PMI ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 เป็นเดือนที่ 5  ติดต่อกัน ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคธุรกิจของยูโรโซนยังคงอยู่ในภาวะหดตัว

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้ปรับตัวขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐปรับตัวลง หลังประธาน เฟดสาขาคลีฟแลนด์สนับสนุนการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันปรับตัวลง จากความกังวลเรื่องจีนล็อกดาวน์ ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อดัชนี มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,615-1,635 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ลุ้น เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5-มาตรการกระตุ้นท่องเที่ยว เข้าครม. 28 พ.ย. : ERW CENTEL VRANDA ASAP SPA AAV BA AOT
  • ลุ้นมาตรการอุดหนุน EV เข้า ครม. เดือน พ.ย. นี้ : EA NEX BYD GPSC
  • MSCI Rebalancing มีผล 30 พ.ย. :
    • MSCI Global Standard หุ้นเข้า : -, หุ้นออก : BAM
    • MSCI Global Small Cap หุ้นเข้า: BAM, ERW, JWD, NEX, RAM หุ้นออก: PSG, SYNEX
  • FTSE : Mid Cap หุ้นเข้า TLI
  • ช็อปดีมีคืนปี 66 : BJC CPALL MAKRO CRC COM7 SPVI CPW JMART HMPRO ZEN M AU

หุ้นรายงานพิเศษ

CPN (แนะนำซื้อ Bloomberg Consensus 77.00 บาท) มุมมองบวกจากกำไรฟื้นตัวเติบโตต่อเนื่อง

  • ภาพรวมการเปิดเมืองและการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศที่เพิ่มขึ้นหนุนงวด 3Q65 มีกำไร 2,872 ล้านบาท +1153%YoY, +4%QoQ และเติบโตต่อเนื่องใน 4Q65 จากรายได้ที่มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการทยอยปรับลดส่วนลดค่าเช่าพื้นที่ โดยคาดว่าในช่วง 2 เดือน สุดท้ายของปีส่วนลดค่าเช่าพื้นที่จะลดเหลือเพียงตัวเลขหลักเดียว ขณะที่โรงแรม 3 แห่งรวม CENTARA โคราชที่มีอัตราการเข้าพัก (Occupancy Rate) เกิน 65% และมีรายได้เฉลี่ยต่อห้อง (RevPar) ที่ดีขึ้น ขณะที่โครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายยังมีแผนพัฒนาต่อเนื่องเช่นกัน
  • ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อผลประกอบการในอนาคตที่ได้รับอานิสงส์จากภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัวสนับสนุนผลประกอบการเติบโตต่อเนื่อง และการเปิดดำเนินการศูนย์การค้าใหม่ต่อเนื่อง โดยมีแผนเปิดบริการเซ็นทรัล นครสวรรค์ใน 1Q67 และเซ็นทรัล นครปฐม เปิด 2Q67 ทั้งนี้ Bloomberg Consensus คาดกำไร 4Q65 เฉลี่ย 2,949 ล้านบาท +62%YoY +3%QoQ และคาดกำไรทั้งปี 65 เฉลี่ย 10,117 ล้านบาท +42%YoY ส่วนปี 66 คาดกำไรเฉลี่ย 11,957 ล้านบาท +18%YoY จึงแนะนำซื้อ

หุ้นมีข่าว

(+) CK (Bloomberg Consensus 27.50 บาท) ใกล้เต็มที เซ็นงานใหม่ 2.1 แสนล้านบาท หลวงพระบางชัดปีนี้ ส่วนสายสีส้ม BEM ขอผู้ถือหุ้น 28 พฤศจิกายน มีดับเบิลเดกและงานวางระบบสีม่วงใต้อีก ชี้ราคาเหล็กลง ดึงมาร์จิ้นขึ้นระดับ 7-8% ราว 8 ปี ก่อสร้างกลับมาทำกำไรปีหน้า 2 พันล้านบาท อยู่ในวิสัยที่ทำได้ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) NRF (Bloomberg Consensus 7.80 บาท) ลั่นตลาดโปรตีนจากพืชโตแรงดีมานด์ล้น แบรนด์ใหญ่ส่งออเดอร์ OEM ส่งออกพุ่ง เผยโรงงานร่วมทุนแล้วเสร็จกลางปี 2566 รองรับออเดอร์ แย้มมีเจรจาดีลต่อเนื่อง โอกาสต่อยอดขายคาร์บอนเครดิตเพียบ ลุยเดินหน้าหลายโครงการ ผลงานไตรมาส 4/2565 โตต่อ ยอดขายฟื้นตัว (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BEC (Bloomberg consensus 11.80 บาท) ประเมินทิศทางปี 2566 เติบโตมากกว่าปีนี้ พร้อมวางงบลงทุน 2,000 ล้านบาท ลุยธุรกิจคอนเทนต์ เร่งสร้างสตูดิโอรองรับการผลิตละครเพิ่ม ชี้ช่วยลดต้นทุนในระยะยาว จับตาผลงานไตรมาส 4/2565 จ่อบุ๊กรายได้จากธุรกิจภาพยนตร์เรื่อง “บัวผันฟันยับ” ที่คาดหวังรายได้ 150-200 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SPCG (Bloomberg consensus 13.80 บาท) จับตาผลงานไตรมาส 4/2565 เด่น หลังเข้าไฮซีซันธุรกิจ คาดผลิตกระแสไฟฟ้าและจำหน่ายสูงกว่าไตรมาสก่อนที่ 85.1 ล้านหน่วย เดินหน้าแผนลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในพื้นที่อีอีซี และโครงการ Miyako Mega Solar Project เฟสทางตอนใต้ในญี่ปุ่นต่อเนื่อง หวังขยายพอร์ตกำลังผลิตไฟฟ้าทุนรายได้ แย้มยังสนใจ M&A และ JV (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 24 พ.ย. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
  • สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
    • สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 25 พ.ย. กระทรวงพาณิชย์รายงานดุลการค้า
  • 30 พ.ย. ประชุมกนง. ครั้งที่ 6 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
  • 6 ธ.ค. ก.พาณิชย์รายงานตัวเลข CPI เดือนต.ค.

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 28 พ.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีการผลิตเดือนพ.ย. จากเฟดสาขาดัลลัส
  • 29 พ.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนพ.ย.
    • สหรัฐ รายงานดัชนีราคาบ้านเดือนก.ย.จากเอส แอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนพ.ย.จาก Conference Board
  • 4 ธ.ค. กลุ่มโอเปกพลัสประชุมนโยบายการผลิต 13-14 ธ.ค. กําหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐ
- Advertisement -