KS Daily View 28..11.2022 > ประเมิน SET ปรับฐาน กรอบ 1610-1630 จากสถานการณ์ประท้วง, Zero COVID-19 จีน / ราคาน้ำมันที่ลดลงกดดันกลุ่มพลังงาน / กลยุทธ์ คือ “Selective Buy” / หุ้นแนะนำ KAMART

ประเด็นที่มีผลต่อการลงทุนและ Sector ที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้

จีน : ติดตามทิศดัชนีค่าระวางเรือเทกอง BDI ล่าสุดฟื้นตัว 6.6% DoD เป็น 1,324 จุด ขณะที่ราคาสินแร่เหล็กล่วงหน้าตลาด Dalian เดือน ม.ค. ปรับตัวขึ้น 3.3% DoD เป็น US$98.60/ton เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา หลังจีนประกาศปรับลด RRR ลง 25bps.

นอกจากนี้จีนได้มีการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคอสังหาฯก่อนหน้านี้ได้แก่ การเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ และรัฐบาลท้องถิ่นมีการปล่อยสินเชื่อให้กับบริษัทอสังหาฯมากขึ้น การผ่อนปรนมาตรการเข้มงวดของธนาคารกับบริษัทอสังหาฯ (Three red lines) และการลดการวางเงินดาวน์ของผู้ซื้อ เป็นต้น หุ้นเกี่ยวข้องกับดัชนีค่าระวางเรือ และราคาสินแร่เหล็ก ได้แก่ PSL, DOHOME, และ GLOBAL เป็นต้น

รวมไปถึงติดตามการ lockdown ในเมืองจีนเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อ spread petrochemical ต่อเนื่อง โดย HDPE-Naphtha spread และ PX-Naphtha spread ลดลง -11% WoW และ -21% WoW เป็น US$276/ton และ US$256/ton ตามลำดับ

ราคาพลังงาน : สหรัฐฯ อนุญาตให้ Chevron กลับมาขุดเจาะน้ำมันดิบที่เวเนซุเอลาอีกครั้งผ่านบริษัทที่ JV กับบริษัทของรัฐบาลเวเนซุเอลา (PDVSA) เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าเวเนซุเอลาจะกลับมาผลิตน้ำมันดิบได้ในระดับ 80,000-100,000 bpd ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า และเพิ่มเป็น 120,000 bpd ภายใน 2 ปี จากระดับปัจจุบันที่ 50,000 bpd มองข่าวดังกล่าวเป็น sentiment เชิงบวกต่อ TASCO ซึ่งเน้นใช้น้ำมันดิบหนักในการผลิตยางมะตอย

ติดตามการส่งสัญญาณของผู้นำในกลุ่ม OPEC+ ซึ่งกำลังจะมีการจัดประชุมในวันที่ 4 ธ.ค. ว่าจะส่งสัญญาณเช่นไร หลังจากที่ได้ลดกำลังการผลิตไปแล้ว 2 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน พ.ย. แต่ราคาน้ำมันดิบล่าสุดปรับตัวลงมาที่ระดับ 76 และ 85 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรลสำหรับ WTI และ Brent ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าระดับก่อนที่ OPEC+ จะมีมติดังกล่าวช่วงต้นเดือน ต.ค.

โดยปัจจัยที่ต้องติดตามนอกจากนี้ได้แก่ สถานการณ์การระบาดของโควิดในจีน, นโยบายการปล่อย SPR ของสหรัฐฯ นโยบาย และปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของยุโรป, สภาพอากาศในช่วงฤดูหนาว รวมถึงผลของมาตรการที่ควบคุมเพดานราคาน้ำมันดิบของ G7

ในประเทศ :

  • ติดตามแนวโน้มยอดขายของบริษัทในกลุ่มสินค้า IT ใน 4Q22 (COM7, IT, SYNEX) ซึ่งยังมีแนวโน้มชะลอตัวต่อ หลัง ADVICE เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมตลาดสินค้าไอทีปีนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าคอนซูเมอร์แทบจะไม่มีการเติบโตหรืออาจเติบโตลดลงด้วย โดยยอดขายตกลงต่อเนื่องมาหลายเดือน คาดว่าจนถึงไตรมาส 1 ปีหน้าก็ยังไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัว ทำให้ต้องโปรแกรมเงินผ่อนนานถึง 36 เดือนเพื่อกระตุ้นยอดขาย
  • ติดตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ของ กกพ. หลัง กพช. เห็นชอบให้ ปตท. ร่วมกับ กฟผ. บริหารจัดการผลกระทบราคาก๊าซธรรมชาติต่อค่าไฟฟ้า โดยให้ปตท. คิดราคาก๊าซฯ สำหรับ โรงไฟฟ้าของ กฟผ. IPP และ SPP ในระดับราคาเดียวกับที่ใช้การประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เป็นเวลา 4 เดือน ระหว่าง ม.ค.-เม.ย. 2566

กลยุทธ์การลงทุน : เรายังคงมุมมองบวกต่อ SET Index ต่อเนื่องไปจนถึงในช่วง 1H23 ตามเดิม ประเมินดัชนีคาดจะแกว่งตัวขึ้นไปจนถึงก่อนการประชุม Fed ช่วงกลางเดือน ธ.ค. ประเมินแนวต้าน 1666 จุด และ 1700 จุดในช่วงที่เหลือของปี และหากดัชนีย่อลงมาเรามองเหมือนเดิมคือ คาดไม่ทำ New low หรือคาดไม่หลุด 1550 จุด ประเมินแนวรับสำคัญอยู่ที่ 1605 จุดเป็นแนวรับแรก โดยเหตุผลทั้งทางปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยและกำไรบริษัทจดทะเบียนที่ยังเห็นการเติบโต

หุ้นกลุ่มที่แนะนำลงทุน : เน้นกลุ่ม Domestic Play อาทิ กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง อาทิ CK กลุ่มสื่อ อาทิ PLANB กลุ่มที่ Outlook กำไรงวด 4Q22 โต YoY และ QoQ และปีหน้าโตเกิน 15% อาทิ SNNP, PTG, CRC, PLANB, EGCO, GPSC, HENG และ BE8 และชะลอลงทุน อาทิ กลุ่มส่งออกอาหาร ยกเว้นส่งออกอาหารสัตว์ กล่มปิโตรเคมี

ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาด 1615-1630 จุด หุ้นแนะนำ PYLON

Top pick : KAMART (ราคาพื้นฐาน 9.00 บาท) คาดกำไรปกติไตรมาส 4/65 ที่ 107 ลบ. (+75% YoY และ +22% QoQ) นำโดยยอดขายตลาดในประเทศที่เติบโตแข็งแกร่งและช่องทางอื่น ๆ และ GPM ที่ 50.5% / เราปรับประมาณการกำไรปี 65/66/67 ขึ้น 31%/14%/11% บริษัทฯ จะเปิดตัวแบรนด์ร่วมกับเซเลบริตี้อย่างน้อย 3 แบรนด์ในไตรมาส 1/66 เพื่อกระตุ้นยอดขาย / คงคำแนะนำ “ซื้อ” และเพิ่มราคาเป้าหมายเป็น 9.00 บาท (จาก 7.27 บาท) จากการปรับเพิ่ม EPS และ PER ขึ้นเป็น 18.4 เท่า จากค่าเฉลี่ยเป็น +0.5SD

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตาม ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน ต.ค. คาด +6% YoY และ +11% YoY ตามลำดับ ขณะที่คาดว่าไทยจะขาดดุลการค้า 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. (เพิ่มขึ้นจากระดับ -853 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ถ้อยแถลงของ ECB President Lagarde และถ้อยแถลงของ Fed Williams
  • วันอังคาร ติดตาม ตัวเลข Retail sales ของญี่ปุ่นเดือน ต.ค. คาด +5% YoY ตัวเลขเงินเฟ้อเยอรมันเดือน พ.ย. คาด -0.2% MoM และ +10.3% YoY ตัวเลข S&P/Case-Shiller Home Price เดือน ก.ย. คาด -0.9% MoM และ +11% YoY ดัชนี CB Consumer confidence ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 100 จุด (-2.4% MoM)
  • วันพุธ ติดตาม การประชุม กนง. คาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 1.25% ตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยเดือน ต.ค. คาด +2.2% YoY ตัวเลข NBS Manufacturing PMI ของจีนเดือน พ.ย. คาด 49 จุด (ทรงตัว MoM) ตัวเลข NBS Non-manufacturing PMI ของจีนเดือน พ.ย. คาด 49 จุด (ทรงตัว MoM) ตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซนเดือน พ.ย. คาด +0.2% MoM และ +10.3% YoY ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 200K (-16% MoM) ตัวเลข JOLTs Job Openings ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด 10.3 ล้านตำแหน่ง (-3.9% MoM) ตัวเลข Pending Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด -5% MoM ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รายสัปดาห์ และถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลข Caixin Manufacturing PMI ของจีน เดือน พ.ย. คาด 49.4 จุด ตัวเลขดัชนี Consumer Confidence ของญี่ปุ่น เดือน พ.ย. คาด 29.1 จุด (ทรงตัว MoM) ถ้อยแถลงของ BOJ Kuroda ตัวเลข Personal Spending ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +0.8% MoM ตัวเลข Personal Income ของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. คาด +0.4% MoM ตัวเลข ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 49.8 จุด (-0.8% MoM) ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์คาด +235K ถ้อยแถลงของ Fed Bowman และ Fed S. Barr
  • วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข Non-farm Payroll ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 200K (-23% MoM) ตัวเลข Unemployment rate ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 3.7% (ทรงตัว MoM) และตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด +0.3% MoM และ +4.6% YoY
- Advertisement -