KS Daily View 19.12.2022 > ติดตามนโยบายเปิดประเทศจีน แนะหุ้นกลุ่ม Defensive/ โรงไฟฟ้า SET คาดแกว่งตัวลง 1610-1620 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BGRIM
ประเด็นสำคัญเมื่อวาน : ต่างประเทศ ดัชนี Dow Jones -0.85%DoD, S&P500 -1.11%, NASDAQ -0.97% โดย Sector ในดัชนี S&P500 ปรับลงทุก Sector หลักๆคือ กลุ่ม Real Estate -2.96% Consumer Discretionary -1.74%, Utilities -1.6%, Healthcare -1.4% ฯลฯ ส่วนกลุ่มที่ลงน้อยกว่าค่าเฉลี่ยคือ Communication Services -0.11% ในประเทศ : โดย SET Index เมื่อวันศุกร์ปิด 1619.01 จุด(-0.08%DoD) โดยหุ้นที่ปรับลงหลักๆ นำโดย DELTA -3.65%, BAY -1.7%,ส่วนหุ้นที่ปรับขึ้นแรง CPF +2.1%, EA +1.3%
ประเด็นที่ต้องติดตาม :
1.) Tourism sector: ติดตามนโยบายการเปิดประเทศของจีน โดยล่าสุดสื่อท้องถิ่นของฮ่องกง(HK01) รายงานว่าจีนกับฮ่องกงเตรียมทำ Quarantine-Free ระหว่างกันกล่าวคือ ให้คนจีนเดินทางไปฮ่องกงได้โดยไม่ต้องกักตัว ขณะที่คนฮ่องกงที่เดินทางมาจีนให้กักตัวที่บ้าน 3 วัน โดยอาจเร่ิมเร็วสุดในวันที่ 9 ม.ค. หรืออย่างช้าก่อนเทศกาลตรุษจีนที่จะเร่ิมในวันที่ 22 ม.ค. ซึ่งหากการเปิดประเทศเป็นไปด้วยดีคาดว่าจีนจะมีการขยายการเปิดประเทศในส่วนอื่นๆต่อไป มองหุ้นไทยในกลุ่มท่องเที่ยว และกลุ่มที่จะได้อานิสงค์แรงซื้อของคนจีนจะได้ sentiment เชิงบวกจากเรื่องดังกล่าว
2.) Export sector: ติดตามตัวเลขส่งออก และนำเข้าเดือน พ.ย. ที่จะประกาศในสัปดาห์หน้า ซึ่งคาดว่าจะเห็นการปรับตัวลงต่อตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น มองว่าปัจจัยดังกล่าวจะยังเป็นตัวกดดันหุ้นกลุ่ม Global play ในภาพรวม
3.) ติดตามมาตรการของขวัญปีใหม่ของรัฐบาลที่จะเข้า ครม. ในวันที่ 20 ธ.ค. ได้แก่ มาตรการช้อปดีมีคืน โดยจะมีผลระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-15 ก.พ. 2566 รวม 46 วันเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท จากปีก่อน ได้สูงสุด 30,000 บาท มองเป็นบวกกับกลุ่มบัตรเครดิต และค้าปลีก
4.) ติดตามกรณีที่ Norges Bank (ธนาคารกลางนอร์เวย์) ตัดสินใจเอาหลักทรัพย์ PTT และ OR ออกจาก Investment universe ของกองทุน Pension Fund ของรัฐบาลนอร์เวย์เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. เนื่องจากความเสี่ยงที่ทั้งสองบริษัทอาจมีการลงทุนที่เข้าข่ายสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่าทางอ้อมซึ่งขัดกับแนวปฏิบัติของกองทุนในข้อ Section 4(a) ตามความเห็นของคณะกรรมการจริยธรรมกองทุน(Council of Ethics) เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 2565 ทำให้กองทุนต้องขายหลักทรัพย์ PTT และ OR ที่ถืออยู่ 0.35% และ 0.23% ออกไป ทั้งนี้คาดว่าข่าวดังกล่าวจะเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาหุ้นในระยะสั้น ขณะที่ต้องตามต่อว่าจะมีกองทุนต่างประเทศกองอื่นๆ ตัดสินใจแบบเดียวกันหรือไม่ เนื่องจากทาง OR ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้มีการจ่ายเงินให้กับบริษัทที่เข้าร่วมลงทุนหลังจากบริษัทดังกล่าวติดอยู่ในรายชื่อ sanction list ของประเทศตะวันตก ทั้งนี้เรามองว่าราคาหุ้น PTT และ OR สุดท้ายแล้วจะปรับตัวตามปัจจัยพื้นฐานในระยะกลางถึงยาว โดยทาง นวค. KS ให้ราคาเหมาะสมของ PTT และ OR ที่ 42.75 บาท และ 29.50 บาทตามลำดับ
แนวโน้มตลาดหุ้นต่างประเทศ : เราประเมินตลาดหุ้นทั่วโลกต้นสัปดาห์นี้แกว่งตัวออกข้างไร้ทิศทาง โดยใกล้เข้าสู่เทศกาลหยุดยาวสิ้นปีซึ่งปลายสัปดาห์นี้บางตลาดเริ่มหยุดทำการ และประเด็นสำคัญต่างๆอาทิการประชุมธนาคารกลางผ่านพ้นไปแล้ว ทำให้ Key Focus กลับมาอยู่ที่รายงายตัวเลขเศรษฐกิจฝั่งสหรัฐ อาทิ ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ธ.ค. ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ฝั่งสหรัฐ โดยประเมินตลาดหุ้นฝั่งสหรัฐคาด Dow side ในการปรับลงคาดเริ่มจำกัด เห็นจาก RSI ปรับลงต่อเนื่องลงมาอยู่ที่ 42 จุด ประเมินอาจจะเห็นการ Rebound โดยมุมมองเชือว่ายังคาดหวังแรงหนุนจาก Window dressing โดยอิงสถิติในอดีต ช่วงระยะเวลาเดือน ธ.ค. (สิ้นเดือน พ.ย. – สิ้นเดือน ธ.ค.) ดัชนี S&P 500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 70 ครั้ง จาก 94 ครั้ง หรือ 74% คิดเป็นค่าเฉลี่ยที่ 1.4% และปีนี้อาจจะเห็นภาพ Santa Claus Rally จากสถิติช่วงระยะเวลา 5 วันทำการสุดท้ายของปีและ 2 วันทำการแรกหลังปีใหม่ ในอดีตดัชนี S&P 500 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 70 ครั้ง จาก 94 ครั้ง หรือ 74% ค่าเฉลี่ยที่ 1.2% ส่วนตลาดหุ้นฝั่งเอเซีย อาทิ จีน ฮ่องกง เราประเมินอาจจะแกว่งออกข้าง โดยหนุนจากการเดินหน้าผ่อนคลายการเปิดประเทศ และคาดหวังจะเห็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ภาคอสังหาหลังจากรัฐบาลจีนตั้งเป้าปี 2023 เศรษฐกิจจะเติบโต 5%YoY
แนวโน้มตลาดหุ้นไทย : KS คาด SET Index สัปดาห์นี้แกว่งตัวออกข้างในกรอบ 1604 -1650 จุด ประเมินจากปัจจัยแวดล้อม เขื่อว่าไม่มีปัจจัยที่จะกดดัน หรือหนุนตลาดหุ้นไทยอย่างมีนัยยะ เนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วประเด็นสำคัญ ทั้งประชุม Fed รายงานเงินเฟ้อสหรัฐ ออกมาแล้ว โดยสัปดาห์นี้เชื่อว่าตลาดคงรอ รายงานตัวเลขการส่งออกไทยในเดือน พ.ย. เชื่อว่าอาจจะกระตุ้นการเก็งกำไรในหุ้นส่งออกระยะสั้นได้ หนุนจากเงินบาทระยะสั้นอ่อนค่า โดยรวมประเมินตลาดน่าจะโฟกัสหุ้นเฉพาะตัว
Theme หุ้นแนะนำช่วงนี้
1.)โรงไฟฟ้า BGRIM คาดได้กระแสบวกจากการขึ้นค่า Ft และเป็นกลุ่ม Outperform ช่วงที่ตลาดกังวล Recession
2.) กลุ่มอาหารสัตว์ แนะนำ ITC, AAI
3.) หุ้นลิ้งจีนเปิดประเทศ และคาดหวังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน โดยรัฐบาลตั้งเป้า GDP ปี 2023 โต 5% อาทิ SNNP MINT PSL
ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดกรอบ 1610-1620 จุด หุ้นแนะนำ BGRIM
Top pick : BGRIM (ราคาพื้นฐาน 61.25 บาท)
1.) กกพ. ประกาศ Ft งวดเดือน ม.ค.-เม.ย.66 ค่า Ft ขยับขึ้นไปที่ 190.44 สตางค์/หน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยอยู่ที่ 5.69 บาทต่อหน่วย (สูงกว่าสมมติฐานของ KS ที่คาดทั้งปี 2023 ที่ 5.2 บาท) หรือ Upside ราว 50 สตางค์ เรามองบวกต่อ BGRIM: Ft เพิ่มขึ้น 1 สตางค์ earnings เพิ่มขึ้น 25ลบ./ปี
2.) ราคา Gas pool price แนวโน้มแกว่งตัวลง และค่าเงินบาทที่แนวโน้มแข็งค่าๆ ล่าสุดบาทลงมาแตะ 34.7 บาทอีกครั้ง แข็งค่าเทียบกับปลาย 3Q22 อยู่ที่ 38.0 บาท โดยๆเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นทุกๆ 1 บาท/ดอลลาร์คาดจะเพิ่ม upside เชิงบวกต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2566 ของ BGRIM ที่ 9.9%
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันจันทร์ ติดตาม ตัวเลข Info business climate ของเยอรมัน เดือน ธ.ค. คาด 87.4 จุด (+1.3% MoM) และตัวเลข NAHB Housing Market index ของสหรัฐฯ เดือน ธ.ค. คาด 34 จุด (+3% MoM)
- วันอังคาร ติดตามการประชุม BOJ คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% ตัวเลขดัชนี PPI เดือน พ.ย. ของเยอรมัน คาด -2.2% MoM และ +30.6% YoY ตัวเลข Building Permits ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 1.48 ล้านยูนิต (-1.8% MoM) ตัวเลข Housing Starts ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 1.4 ล้านยูนิต (-1.5% MoM)
- วันพุธ ติดตามตัวเลขยอดขายรถยนต์ และยอดส่งออกรถยนต์ของไทย ตัวเลข GfK Consumer confidence ของเยอรมันเดือน พ.ย. คาด -38 จุด (ฟื้นตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ -40.2 จุด) ตัวเลข CB Consumer confidence ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 101 จุด (+0.8% MoM) ตัวเลข Existing Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 4.2 ล้านยูนิต (-5.2% MoM) และตัวเลข stock นำ้มันดิบของสหรัฐฯ รายสัปดาห์
- วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน พ.ย. คาด -5% YoY และ +0.6% MoM ตัวเลขดุลการค้าของไทยคาด -US$0.1bn ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์คาด +225K (vs. +211K สัปดาห์ก่อนหน้า)
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อญี่ปุ่นเดือน พ.ย. คาด +3.9% YoY (สูงขึ้นจาก 3.7% YoY เดือนก่อนหน้า) ตัวเลข US Personal Income เดือน พ.ย. คาด +0.3% MoM ตัวเลข US Personal Spending เดือน พ.ย. คาด +0.2% MoM ตัวเลข Durable Goods order ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด -0.8% MoM ตัวเลข PCE Price index ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด +0.2% MoM และ +5.5% YoY ตัวเลข Core PCE Price index ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด +0.2% MoM และ +4.6% YoY ตัวเลข New Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 0.61 ล้านยูนิต (-5% MoM) และตัวเลข Michigan Consumer sentiment ของสหรัฐฯ เดือน พ.ย. คาด 59.1 จุด (+4% MoM)