Trading ในกรอบ 1650-1670 ส่งท้ายปีเสือดุ

ตลาดหุ้นวานนี้… SET Index ปิดที่ 1,661.20 จุด เพิ่มขึ้น 13.92 จุด (+0.85%) มูลค่าการซื้อขาย 49,917.82 ล้านบาท ตอบรับปัจจัยบวกตัวเลขเศรษฐกิจไทยฟื้นต่อเนื่องจากแรงหนุนภาคท่องเที่ยว และท้ายตลาดรับผลเปลี่ยนซีรีย์ Futures

แนวโน้มตลาดวันนี้… มองอิงขาขึ้นในแนวโน้ม sideway/sideway up รับโมเมนตัมบวกหลังต่างชาติซื้อต่อเนื่องและเปิดสัญญาฝั่ง Long futures โดยกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกเพิ่มขึ้น บ่งชี้ถึงความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอตัวลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปหรือซอฟต์แลนดิ้ง และอาจเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเฟดต้องการให้ตลาดแรงงานและอัตราเงินเฟ้อให้กลับสู่เป้าหมาย ทั้งนี้ US bond yield ปรับตัวลงช่วยหนุนบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น ขณะที่ปัจจัยในประเทศ วานนี้ธปท. รายงานเศรษฐกิจ พ.ย. ดีขึ้นจากตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้าไทยดีกว่าที่คาดไว้ ในขณะที่ฝั่งปัจจัยลบ อย่างการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ส่วนแนวโน้มธ.ค. ปี 66 ติดตามปัจจัยสำคัญอย่าง 1.อุปสงค์ของต่างประเทศที่ชะลอตัว 2.การเปิดประเทศของจีน 3.การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุน และ 4.ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมถึงวันนี้จะมีการปรับพอร์ตรับ SET50/SET100 Rebalancing ที่จะมีผลในต้นปีหน้า

กลยุทธ์การลงทุน… ประเมิน SET Index แกว่งตัว sideway/sideway up แนะนำ Trading ในกรอบ 1650-1670 ในเชิง valuation เรามองว่า SET เริ่มแพงขึ้น และ EYG ปรับลดลงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี เข้าใกล้ -1.0S.D โดยแนะนำสะสมกลุ่มธนาคาร BBL KBANK TTB KKP ที่เรามองว่ายังสามารถซื้อแล้วถือหุ้นข้ามปีได้มี downside ที่จำกัด กลุ่มโรงไฟฟ้าจากต้นทุนก๊าซธรรมชาติลดลง BGRIM GPSC EGCO GULF RATCH กลุ่มโรงพยาบาลจากความกังวลการแพร่ระบาดโควิดหลังจีนเปิดประเทศ BH BDMS PR9 IMH ธีม January Effect DELTA HANA SINGER JMART KBANK KTB AOT ADVANC KTC

เคาะไป คุยไป PR9

  • ประมาณรายได้ 4Q65 เท่ากับ 1,095 ล้านบาท (+2.88%QoQ, +17.00%YoY) โดยยังเป็นการเพิ่มขึ้นในรายได้จากทั้ง OPD และ IPD ทั้งในกลุ่มลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ ซึ่งยังเป็น expat ชาวจีน และแนวโน้มคนไข้ fly-in จากพม่าจะกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อน COVID-19 ด้านอัตรากำไรขั้นต้นคาดจะดีขึ้นอยู่ที่ 35% จาก 3Q65 ที่ 34% จากการฟื้นตัวของผู้ป่วย ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการจ่ายและบริหารมีแนวโน้มใกล้เคียงกันกับช่วง 3Q65 ส่งผลให้เราประเมินกำไรสุทธิสำหรับ 4Q65 ที่ 155 ล้านบาท (+5.34%QoQ, +33.65%YoY)
  • แนะนำซื้อที่ราคาเป้าหมาย 23.50 บาท โดยเรามีความเห็นต่อแนวโน้มของรายได้และกำไรสุทธิเติบโตอย่างต่อเนื่อง จากการเปิดใช้ตึกใหม่ แนวโน้ม occupancy rate ปรับตัวสูงขึ้น และคาดว่าผลประกอบการจะออกมาเติบโตโดดเด่นกว่าอุตสาหกรรม

Global Markets

(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และยุโรปพุ่งขึ้นจากตัวเลขว่างงานที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดอาจทำให้ตลาดแรงงานเริ่มคลายความร้อนแรง และจะทำให้เฟดชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย

(0) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ทรงตัวจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มอุปสงค์ที่อาจชะลอตัวลง  หลังจากหลายประเทศซึ่งรวมถึงสหรัฐและญี่ปุ่นออกมาตรการเข้มงวดในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 จากผู้ที่เดินทางมาจากจีน ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากในประเทศ

(+) สัญญาทองคำตลาด COMEX ปรับตัวขึ้นจากการอ่อนค่าของดอลลาร์และการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ

ประเด็นเด่นวันนี้

  • ปรับกลยุทธ์ รับ January Effect ในช่วงเดือนม.ค.มักมีปรากฏการหนึ่งที่น่าสนใจ และมองเป็นโอกาสในการทำกำไร คือ January effect นั่นคือดัชนีตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงเดือนแรกของปีมักปรับตัวขึ้นเป็นบวก จากสถิติย้อนหลังช่วง 10 ปีที่ผ่านมา January effect เกิดขึ้น 8 ใน 10 ปี โดยมีเพียง ปี 2020 และ 2014 เท่านั้น ที่ดีชนีตลาดหุ้นไทยในวันที่ 31 ม.ค. ปิดต่ำกว่าวันที่ 1 ม.ค. ทำให้ปีนี้เป็นไปได้ที่จะคาดหวังให้เกิดปรากฏการดังกล่าวขึ้นอีกครั้ง เป็นโอกาสในการเก็งกำไรใน SET50 ฝั่ง Long ซึ่งจะได้เปรียบกว่าในช่วงดัชนีขาขึ้น หรือหุ้นที่มี Beta เช่น DELTA HANA SINGER JMART ที่มี Beta สูงกว่า 2 จะได้เปรียบกว่าในช่วงดัชนี ขาขึ้น
  • BOT มองไทยยังฟื้นตัวดี แต่ยังมีปัจจัยที่น่ากังวล มุมมองของทางฝ่ายปัจจัยใดควรติดตาม? โดยธปท.ยังมองไทยจะเติบโตดีในเดือน ธ.ค. เนื่องจากมีปัจจัยหนุนเด่นชัด เช่น ตัวเลขนักท่องเที่ยวสูงกว่าคาด การฟื้นตัวของการบริโภคดีขึ้นต่อเนื่อง การใช้จ่ายของภาครัฐขยายตัว แต่ปัจจัยที่น่ากังวลคือ 1.การปรับตัวขึ้นของต้นทุนค่าจ้างและราคาสินค้า 2.ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 3.อุปสงค์ของต่างประเทศที่อาจชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ โดยทางฝ่ายมองปัจจัยที่มีน้ำหนักมากที่สุด ที่อาจกระทบถึงการฟื้นตัวภายใน คือ ภาพของเศรษฐกิจชะลอตัว เนื่องจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ต้นทุนราคาสินค้า ค่าจ้าง มักแปรผันตามราคาพลังงาน ซึ่งไม่ได้อยู่ ในแนวโน้มหลักขาขึ้นเหมือนในช่วงกลางปีแล้ว ขณะที่ความต่อเนื่องของการฟื้นตัวจะขึ้นอยู่กับภาคการท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากภาคบริการของไทยมีสัดส่วนกว่า 56.68% ของ GDP ในปี 2021 โดยมองจะมีแรงหนุนต่อเนื่องจากนักท่องเที่ยวจีนที่จะเข้ามาเสริม จึงมองภาพเศรษฐกิจชะลอตัว เป็นปัจจัยที่ควรให้น้ำหนักมากที่สุดใน การติดตาม นอกจากนี้ยังมีปัจจัยการเมือง/การเลือกตั้งภายในที่น่าสนใจ ซึ่งจะมาในช่วงกลางปีหน้า
  • ตัวเลขที่น่าติดตามในปีหน้า…
    • 2 ม.ค. Manufacturing PMI(EU), Caixin Manufacturing PMI(CN)
    • 3 ม.ค. Manufacturing PMI(USA)
    • 4 ม.ค. ISM Manufacturing PMI (USA) และ JOLTs Job Openings(USA)
    • 5 ม.ค. ADP Nonfarm Employment Change (USA)
    • 6 ม.ค. Nonfarm Payrolls (Dec)(USA), Unemployment Rate (Dec)(USA), ISM Non-Manufacturing PMI (Dec)(USA)
- Advertisement -