บล.กรุงศรีฯ:

INVESTMENT STRATEGY

ภาคบริการยังคงเป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตเดือน พ.ย.

รายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แสดงว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยยังคงอาศัยภาคบริการเป็นตัวขับเคลื่อน ในขณะที่กิจกรรมในฝั่งอุปทานยังลดลงอีก ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเป็นไปตามมุมมองระยะยาวของเราว่าเศรษฐกิจจะยังถูกฉุดโดยอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอตัวลง และจะส่งผลให้การส่งออกหดตัวลงอีกในเดือนต่อๆ ไป

กิจกรรมในภาคการผลิตยังคงเผชิญอุปสรรค

การผลิตในภาคอุตสาหกรรม (MPI) ลดลง 5.6% yoy จาก -4% ในเดือนก่อนหน้า แม้ว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยรวมจะยังค่อนข้างนิ่งอยู่ที่ 61.7% โดยกลุ่มยานยนต์ขยายตัวมากที่สุดที่ 13% yoy จาก 10.1% ในเดือนก่อนหน้า ในขณะที่กลุ่มปิโตรเลียม (-20.6%) และเครื่องใช้ไฟฟ้าหดตัวลงมากที่สุด

ภาคบริการยังคงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวถึง 14.3% นำโดยกลุ่มการท่องเที่ยว ซึ่งมีส่วนช่วยให้การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคมีแนวโน้มแข็งแกร่งมากขึ้นโดยเร่งตัวขึ้นเป็น 7.2% yoy (จาก 6.6%) ทั้งนี้ การจับจ่ายใช้สอยเพื่อซื้อสินค้าคงทนขยายตัวลดลงอย่างมากเหลือเพียง 0.3% เท่านั้น ในขณะที่สินค้าไม่คงทน และสินค้ากึ่งคงทนยังขยายตัวได้พอสมควรที่ 2.7% และ 2.4% ตามลำดับ

เสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น เนื่องจากตลาดงานแข็งแกร่งขึ้น โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น และภาวะเศรษฐกิจดีขึ้น

มุมมองของเรา: แนวโน้มเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นไปตามที่คาดเอาไว้ก่อนหน้านี้สักระยะหนึ่งแล้ว โดยอุปสงค์ในตลาดโลกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เราคิดว่าประเทศไทยจะยังคงต้องอาศัยรายได้จากภาคบริการเป็นหลักในช่วงเดือนต่อ ๆ ไป ซึ่งจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถเอาตัวรอดจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกในอีกหกเดือนข้างหน้าได้ ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจโลกหดตัวเกินกว่าหกเดือน อาจจะทำให้ประเทศไทยประสบภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงสั้น ๆ ได้ในปี 2023 ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสอีกที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้อีกไม่มากนัก ณ จุดนี้ เราคาดว่าจะขึ้นอีกเพียง 50bp เท่านั้นในปี 2023

- Advertisement -