สรุปภาวะตลาด
วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้นในช่วงเปิดตลาด จากแรงซื้อหุ้น DELTA แต่มีแรงขายสลับเข้ามา ทำให้ดัชนีอ่อนตัวลง หลังจากปรับตัวขึ้นมาต่อเนื่อง แรงขายมาจากหุ้นกลุ่มพลังงาน ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง ส่วนแรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มธนาคาร นอกจากน้ีนักลงทุนติดตามการเปิดเผยรายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,673.25 จุด -5.72 จุด -0.34% มูลค่าการซื้อขาย 76,429 ลบ. ต่างชาติ +121.17 ลบ. TFEX -5,427 สัญญา ตราสารหนี้ +16,894.88 ลบ.
ปัจจัยบวก +
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิด เพิ่มขึ้น 133.40 จุด +0.40% หลังจากเฟดเปิดเผยรายงานการประชุม ซึ่งระบุว่ากรรมการ เฟดมีความเห็นตรงกันว่าควรจะชะลออัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ
+ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 3.9% ใน 4Q65 โดยสูงกว่าระดับ 3.7% ที่มีการเปิดเผยก่อนหน้าน้ี
+ สนค. เปิดเผยว่า ปี 66 สนค.คาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยจะขยายตัว 2-3% ชะลอลงจากปี 65 ที่คาดว่าขยายตัว 5.5-6.5%
+ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เผย 11 เดือนของปี 2565 ส่งออกข้าว 6.9 ล้านตัน มูลค่าเกิน 1.2 แสนล้านบาท ความต้องการหอมมะลิเพิ่ม 102.2% ตั้งเป้าปี 2565 ส่งออกได้ 8 แสนตัน
ปัจจัยลบ –
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 4.09 ดอลลาร์ -5.3% ปิดที่ 72.84 ดอลลาร์/บาร์เรล ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลง กว่า 5% ในวันพุธ (4 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงกังวลว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจท่ัวโลก และการพุ่งขึ้นของยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในจีน จะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน
– ดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐปรับตัวลงสู่ระดับ 48.4 ในเดือนธ.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 48.5 จากระดับ 49.0 ในเดือนพ.ย. โดยดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตสหรัฐอยู่ในภาวะหดตัว
– สหภาพยุโรป (EU) เตรียมออกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากจีน ซึ่งอาจรวมถึงการสวมหน้ากากอนามัย และการตรวจเชื้อก่อนขึ้นเครื่องจากเที่ยวบินที่มาจากจีน
– หัวหน้าด้านเทคนิคขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไวรัสโอมิครอนสายพันธ์ุ XBB.1.5 ถือเป็นไวรัสโควิด-19 ที่สามารถแพร่ระบาดรุนแรงที่สุดในขณะนี้
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันน้ีแกว่งตัวในลักษณะ Sideway โดยมีแรงหนุนจากกรรมการเฟดมีความเห็นตรงกันว่าควรจะชะลอ อัตราการปรับขึ้นดอกเบี้ย เพื่อลดความเสี่ยงที่จะมีต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ขณะที่หุ้นกลุ่มพลังงานยังถูกกดดันต่อเนื่อง จากทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง คาดกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,665-1,680 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- ช้อปดีมีคืนปี 66 : BJC CPALL MAKRO CRC COM7 SPVI CPW JMART HMPRO ZEN M AU
- การท่องเท่ียวเติบโตต่อเนื่อง และจีนเปิดประเทศ 8 ม.ค. 66 : MINT CENTEL ERW SPA AU SHR
- หุ้นโรงไฟฟ้าได้ประโยชน์จากรายได้ปรับขึ้นตามค่า FT แต่ต้นทุนเร่ิมคงที่ : GPSC BGRIM RATCH
- หุ้นยั่งยืนด้านพลังงานหมุนเวียน : EA TSE SSP SUPER PRIME
- หุ้นได้ประโยชน์จากรถยนต์ไฟฟ้า : EA GPSC BCP OR DELTA
- หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
- หุ้นเด่น IAA : AOT ADVANC BBL COM7 CPALL
หุ้นรายงานพิเศษ
- ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มธนาคารเป็น “Overweight” แนะนำ Top Pick ได้แก่ BBL KBANK KTB SCB TISCO
หุ้นมีข่าว
(+) UAC (Bloomberg consensus – บาท) จ่อบันทึกกำไรพิเศษขายหุ้น UAPC มูลค่าหลักร้อยล้านบาท ในไตรมาส 1/2566 นี้ ส่วนโรงไฟฟ้าชุมชน ภูผาม่าน คาดเซ็นสัญญาซื้อขายเดือนมกราคมนี้ คาดสร้างรายได้ 150 ล้านบาท พร้อมลุ้นผลประมูลพลังงานทดแทน หลังผ่านคุณสมบัติเบื้องต้น 15 เมกะวัตต์ ส่วนโรงงาน RDF ที่สปป.ลาว เริ่มสร้างรายได้ มั่นใจรายได้รวมปี 2566 มากกว่า 2 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SYNEX (Bloomberg consensus 18.65 บาท) เข้าข่ายได้อานิสงส์โครงการ “ช้อปดีมีคืน” หนุนยอดขายพุ่ง พร้อมลั่นปี 2566 ผลงานทะยานต่อเนื่องจากปี 2565 รับพอร์ตลูกค้าโตเด่น แถมรุกขยายฐานลูกค้าใหม่เพิ่มเติม ด้านโบรกส่องผลงานไตรมาส 4/2565 ช่วงไฮซีซันดันกำไรโต (ที่มา ทันหุ้น)
(+) MEGA (Bloomberg consensus 57.00 บาท) ส่งซิกผลงานปี 65 เข้าเป้า รายได้โต 5-10% มั่นใจดันกำไรสูงกว่าปีก่อน พร้อมปักธงรายได้ปี 66 โตไม่ต่ำกว่า 5% รับท่องเท่ียวฟื้น-จีนเปิดประเทศ หนุนดีมานด์ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ยา และวิตามินเพิ่มขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)
(+) K (Bloomberg consensus – บาท) “คิงส์เมนฯ” ลั่นปี 66 เทิร์นอะราวด์ ปักธงรายได้พุ่ง 780 ล้านบาท ตุนแบ็กล็อก 250 ล้านบาท พร้อมซุ่มเจรจารับงานอีกเพียบ ขณะที่ผลงานปี 65 มั่นใจรายได้เข้าเป้า 700 ล้านบาท รับแรงหนุนรายได้จัดงาน Motor Expo 2022 (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 5 ม.ค. สํานักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า
- สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
- ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
- สภาธุรกิจตลาดทุนไทยแถลงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน
- สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- 25 ม.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 1/2566
- 31 ม.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินไทย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 5 ม.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือน ธ.ค.จากไฉซิน
- สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือน ธ.ค.จาก ADP จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้า เดือนพ.ย. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนธ.ค.จากเอส แอนด์ พี โกลบอล สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จาก สํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 6 ม.ค. อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนธ.ค. ยอดค้าปลีกเดือนพ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.
- สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนธ.ค. ดัชนีภาคบริการเดือนธ.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน เดือนพ.ย.
- 31 ม.ค. – 1 ก.พ. กําหนดการประชุมธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย