ตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังแข็งแกร่ง หนุนให้เฟดขึ้นดอกเบี้ยต่อ

ตลาดหุ้นวานนี้…SET Index ปิดที่ 1,663.86 จุด ลดลง 9.39 จุด (-0.56%) มูลค่าการซื้อขาย 85,208.62 ล้านบาท จากแรงขายหุ้น DELTA แม้จะมีแรงซื้อกลุ่มแบงก์เก็งผลประกอบการ รวมถึงกลุ่มสื่อสารและพลังงานต้นน้ำที่มีแรงซื้อกลับเข้ามา

แนวโน้มตลาดวันนี้… ขานรับ Sentiment เชิงลบหลังการจ้างงานของภาคเอกชน ธ.ค. สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้เฟดจะยังคงคุมเข้มนโยบายการเงินเพื่อฉุดเงินเฟ้อให้ต่ำลง ขณะที่ FedWatch Tool ระบุว่า นลท. ให้น้ำหนัก 36.4% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ซึ่งก่อนหน้านี้ให้น้ำหนักเพียง 27.2% ขณะที่คืนนี้ติดตาม Nonfarm Payrolls ธ.ค. สหรัฐฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 200K หากออกมาดีกว่าคาดจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดต่อเนื่อง และคาดว่าอัตราว่างงานจะทรงตัวที่ระดับ 3.7% รวมถึง CPI ธ.ค. กลุ่ม EU ที่คาดว่าจะชะลอตัวติดกันเป็นเดือนที่ 2 ที่ 9.7%YoY ส่วนปัจจัยในประเทศติดตามการเคลื่อนไหวของ DELTA ที่ทุกๆ การขึ้น-ลง 1 บาท จะกระทบต่อตลาดราว 0.1 จุด การเริ่มเข้าสู่ประกาศผลประกอบการของกลุ่มแบค์ และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจีนในสัปดาห์หน้า

กลยุทธ์ การลงทุน … ประเมิน SET Index แกว่งตัว sideway ทยอยปรับพอร์ทขายทำกำไรบางส่วน ระยะสั้นแนะนำเพียง Trading ในกรอบ 1650-1675 และ Selective buy ในธีม

    • ราคาน้ำมันดิบรีบาวนด์ PTTEP TOP BCP KSL
    • China reopening play SNNP TKN AAV PTTGC
    • เก็งกำไรงบ 4Q กลุ่มแบงค์ BBL KBANK KTB

เคาะไป คุยไป… YONG

  • แนวโน้มผลประกอบการ 4Q65 ราว 23.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ แต่ขยายตัว 18%YOY ตามสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นพันธมิตรกับบริษัท ได้ทยอยเปิดโครงการแนวราบเป็นจํานวนมาก รวมถึงลูกค้าหน่วยงานภาครัฐ
  • ภาพรวมรายได้ปี 65 เติบโตราว 14.5% (ใกล้เคียงเป้าหมายของ YONG ที่ 15%) โดดเด่นทั้งธุรกิจผลิตและ
  • จำหน่ายคอนกรีตสำเร็จรูปและผสมเสร็จ และกำไรสุทธิอยู่ที่ 92.3 ล้านบาท (+33.9%YoY)
  • แนะนำ “ซื้อ” YONG ที่ราคาเป้าหมายปี 66F เท่ากับ 2.90 บาท อิง PE ปี 66F ที่ระดับ 17 เท่า สูงกว่าระดับปัจจุบันเล็กน้อย แต่เรามองว่าเหมาะสม เนื่องจาก YONG มีความโดดเด่นกว่าอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็น ประสิทธิภาพในการทำกำไร อย่าง GPM และ NPM ที่ทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม รวมถึงความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่มีมากกว่ากลุ่ม

Global Markets

(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และตลาดหุ้นยุโรป ปิดร่วงลงจากข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐจะเป็นปัจจัยกดดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานกว่าที่คาดไว้

(+) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดบวก ได้แรงหนุนจากตัวเลขสต็อกน้ำมันกลั่นและน้ำมันเบนซินของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา

(-) สัญญาทองคำตลาด COMEX ปิดร่วงลง ถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และความกังวลที่ว่าเฟดจะเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่ง

ประเด็นเด่นวันนี้

  • เงินเฟ้อธ.ค. 65 ออกมาตามคาด เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน กระทบทั้งตลาด โดยกระทรวงพาณิชย์รายงานอัตราเงินเฟ้อ ธ.ค. 65 เท่ากับ 5.89%YoY (ตลาดคาด 5.9%YoY) ส่งผลให้ภาพรวมทั้งปีอยู่ที่ 6.08%YoY ใกล้เคียงกับเป้าหมายที่ 5.5- 6.5% จากราคาพลังงานที่สูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายสำคัญ ควบคุมปริมาณการผลิต และปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้อุปทานการผลิตพลังงานตึงตัวมากขึ้น ส่วนแนวโน้มปี 56 คาดว่าจะชะลอตัวลงในกรอบ 2.0-3.0% จาก 1. ราคาสินค้าส่วนใหญ่เริ่มทรงตัว และบางรายการปรับลดลง 2.ราคาพลังงานมีแนวโน้มชะลอตัวตามอุปสงค์โลกที่ลดลง 3. ฐานราคาในปี 2565 ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อค่อนข้างสูง และ 4. มาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐ ทั้งนี้ยัง ต้องติดตามประเด็น การปรับขึ้นค่ากระแสไฟฟ้า การปรับขึ้นค่าจ้างทั้งระบบ และเงินบาทที่ยังผันผวน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิต รวมถึงอุปสงค์ในประเทศที่เพิ่มขึ้น อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อกลับมาสูงกว่าเป้าไว้ได้ ทั้งนี้มองเป็นบวกต่อกลุ่ม Domestic consumption
  • สัปดาห์หน้าติดตาม: 1. CPI ธ.ค. 55 สหรัฐฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 6.7%YoY หากออกมาตามที่คาดจะเป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 สะท้อนภาพเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ผ่านจุดพีคไปแล้ว และเป็นอีกปัจจัยที่จะทำให้เฟดชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยรุนแรง เหลือเพียงครั้งละ 0.25% ในการประชุม FOMC 31 ม.ค. – 1 ก.พ. นี้ 2. ตัวเลขส่องออก ธ.ค. 65 ของจีน ตลาดคาดหดตัวหนัก 12%YoY จากแรงกดดันของภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แม้จมีการผ่อนคลายมาตรการโควิดไปแล้ว แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ถูกปิดโรงงาน
- Advertisement -