สรุปภาวะตลาด

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ในภาคเช้าดัชนีเคลื่อนไหว sideway แดนบวกสลับลบ แต่ในภาคบ่ายดัชนีปรับตัวลงแรงถึง -10 จุด มีแรงขายมากในหุ้น DELTA ซึ่งกดดันดัชนีราว -10.8 จุด ส่วนแรงซื้อเข้ามา ในหุ้นกลุ่มธนาคาร แต่มีแรงขายออกมาบ้างในช่วงบ่าย ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,663.86 จุด -9.39 จุด -0.56% มูลค่าการซื้อขาย 85,209 ลบ.ต่างชาติ +1,277.71 ลบ. TFEX -16,913 สัญญา ตราสารหน้ี +9,742.95 ลบ.

ปัจจัยบวก +

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 83 เซนต์ -1.14% ปิดที่ 73.67 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากตัวเลข สต็อกน้ำมันกลั่นและน้ำมันเบนซินของสหรัฐที่ปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมา

+ ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ออกคำสั่งให้ทหารรัสเซียที่ประจำการอยู่ในยูเครนหยุดยิงในช่วง คริสต์มาสของศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ โดยกองทัพรัสเซียจะหยุดยิงเป็นเวลา 36 ชั่วโมง เริ่ม 6 ม.ค.

+ จีนและฮ่องกงจะเปิดพรมแดนระหว่างกันอย่างค่อยเป็นค่อยไปต้ังแต่วันอาทิตย์นี้ (8 ม.ค.) ส่วนผู้ที่เดินทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่จะต้องแสดงผลตรวจโควิด-19 แบบ PCR ที่เป็นลบภายใน 48 ชั่วโมง

ปัจจัยลบ –

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 339.69 จุด -1.02% เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐจะเป็นปัจจัยกดดันให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานกว่าที่คาดไว้

– กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกลดลง 19,000 ราย สู่ระดับ 204,000 รายในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 225,000 ราย

– ADP เปิดเผยว่าการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น 235,000 ตำแหน่งในเดือนธ.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 153,000 ตำแหน่ง จากระดับ 127,000 ตำแหน่งในเดือน พ.ย.

– FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 45.9% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 4.75-5.00% ในการประชุมวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ. เพิ่มขึ้นจากก่อนหน้าน้ีที่ให้น้ำหนักเพียง 27.2%

– สนค.เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) ประจำปี 65 (ม.ค.-ธ.ค.) อยู่ที่ 6.08% ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ไว้ว่าเงินเฟ้อทั้งปี 65 จะอยู่ที่ 5.5-6.5% ถือเป็นสถิติตัวเลขที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 24 ปี พร้อมคาด 1Q66 ยังพุ่งต่อ ส่วนทั้งปี 66 คาดที่ 2.5% ลุ้น เม.ย.ทยอยลดตามราคาสินค้าที่เริ่มปรับลดลง

– ค่าเงินบาทประเดิมสัปดาห์แรกปี 2566 แข็งค่าสุดในเอเชียแข็งค่าสุดในรอบ 8 เดือน วานนี้แตะระดับ 33.75 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่ามากสุดเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย 2.1% และอันดับ 2 ของโลก เปิดเช้าน้ีที่ระดับ 34.03 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 33.87 บาทต่อดอลลาร์

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันน้ียังแกว่งตัวผันผวนระหว่างวัน โดยข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐ ทำให้นักลงทุนกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลานานกว่าคาด ประกอบกับยังจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนธ.ค. คาด กรอบดัชนีในวันน้ีที่ 1,655-1,670 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • ช้อปดีมีคืนปี 66 : BJC CPALL MAKRO CRC COM7 SPVI CPW JMART HMPRO ZEN M AU
  • การท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่อง และจีนเปิดประเทศ 8 ม.ค. 66 : MINT CENTEL ERW SPA AU SHR
  • หุ้นโรงไฟฟ้าได้ประโยชน์จากรายได้ปรับขึ้นตามค่า FT แต่ต้นทุนเร่ิมคงที่ : GPSC BGRIM RATCH
  • หุ้นยั่งยืนด้านพลังงานหมุนเวียน : EA TSE SSP SUPER PRIME
  • หุ้นได้ประโยชน์จากรถยนต์ไฟฟ้า : EA GPSC BCP OR DELTA
  • หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
  • หุ้นเด่น IAA : AOT ADVANC BBL COM7 CPALL

หุ้นรายงานพิเศษ

IP (ราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus 20.00 บาท ) “ได้ประโยชน์จากนักท่องเที่ยวชาวจีนเดินทางเข้าไทย”

  • บริษัทคาดรายได้ในปี 65 อยู่ที่ราว 1,500-1,600 ลบ. เติบโต 63-74%YoY โดยในช่วง 9M65 บริษัทมีกำไรสุทธิ 95 ลบ. คิดเป็น 68% ของประมาณการกำไรปี 65 (อ้างอิงค่าเฉลี่ยจาก Bloomberg Consensus)
  • และบริษัทต้ังเป้ารายได้ปี 66 ราว 2,500 ลบ. คิดเป็นการเติบโตราว 60%YoY พร้อมรับรู้รายได้ธุรกิจโรงพยาบาลนครพัฒน์ เข้ามาเต็มปี ประกอบกับบริษัทมีแผนขยายร้านขายยา จำนวน 30 สาขา แบ่งเป็นร้านขายยาแบรนด์ LAB Pharmacy 15 สาขา และร้านขายยาในปั๊ม PTT (OR) จำนวน 15 สาขา
  • ความเห็น เรามีมุมมองเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานในอนาคตของบริษัท ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง จากการเติบโตของทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ และบริษัทได้ประโยชน์จากการที่จีนเปิดประเทศ เนื่องจากเราคาดว่าสินค้าของบริษัทจะเป็นที่ต้องการของคนต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์ยา อาหารเสริม โดยราคาเหมาะสม Bloomberg Consensus เท่ากับ 20.00 บาท ราคาปิดมี upside จากราคาเหมาะสมราว 28%ฃ

หุ้นมีข่าว

(+) STARK (Bloomberg consensus – บาท) บิ๊ก STARK ลั่นคิดถูกหลังเลิกดีล LEONI ทำให้ STARK พ้นบ่วง แนะรอดูผลงานที่จะประกาศออกมาเป็นคำตอบแจงข่าวลือครบไม่มีลับลวงพราง ชูเงินเพิ่มทุน 5 พันล้าน ที่ได้มาต่อยอดกิจการอีก 1-3 ดีล แจงกองทุนครบชี้ 90% ยังมั่นใจ คำนวณมูลค่าชัดๆ แถมมีเงินสดอื้อ ปีนี้เวียดนามส่งออกแรงงานเยอะ มาร์จิ้นสูง (ที่มา ทันหุ้น)

(+) BCH (Bloomberg consensus 23.70 บาท) เผยจีนเข้าไทย หนุนรายได้จากการตรวจ PCR-ฉีดวัคซีนเพิ่ม ขณะที่ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 ไว้ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท ไม่รวมอัพไซด์จากโควิด แย้มผู้ป่วยต่างชาติเข้ามารักษาเพิ่มขุ้น ลุย WMC-คลินิกเด็กหลอดแก้ว (IVF) เดินหน้าเปิดโรงพยาบาลเป็น 20 แห่ง ใน 5 ปี (ที่มา ทันหุ้น)

(+) TNP (ราคาเหมาะสม 5.75 บาท) เด้งรับอานิสงส์ชุดใหญ่ บัตรสวัสดิการรัฐเพิ่มวงเงินอีก 200 บาท จีนเปิดประเทศหนุนนักท่องเที่ยวคึกคัก ปิดท้าย “ช้อปดีมีคืน” กระตุ้นยอดสะพัด ด้านผู้บริหาร “อมร พุฒิพิริยะ” ควักงบ 150 ล้านบาท ขยายสาขาเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ปักธงปั๊มยอดขาย ทั้งปีโต 15-20% ดันมาร์จิ้นฟู (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ORI (Bloomberg consensus 13.60 บาท) ผนึก TokenX ยื่นไฟลิ่งสำนักงาน ก.ล.ต. เล็งออกโทเคนดิจิทัล “เรียลเอ็กซ์” จำนวนไม่เกิน 19,230,769 โทเคน เข้าลงทุนใน 3 คอนโดกลางเมือง พร้อมประกันผลตอบแทน 5 ปีแรก สูงสุด 5% ต่อปี คาดจะน้าเข้าซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ ดิจิทัลของบิทคับ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยแถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
    • ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
    • สภาธุรกิจตลาดทุนไทยแถลงดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน
    • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สภาผู้ส่งออก) แถลงสถานการณ์การส่งออก
    • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงข้อมูลสรุปภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์
    • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
  • 25 ม.ค. ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งที่ 1/2566
    • กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
  • 31 ม.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงาน ภาวะเศรษฐกิจและการเงินไทย
  • 6 ก.พ. พาณิชย์ รายงาน CPI เดือนม.ค.

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 6 ม.ค. อียูรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนนธ.ค. ยอดค้าปลีกเดือนพ.ย. ดัชนีความเช่ือมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.
    • สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร เดือนธ.ค. ดัชนีภาคบริการเดือนธ.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนพ.ย.
  • 9 ม.ค. อียูรายงานอัตราว่างงานเดือนพ.ย.
  • 10 ม.ค. สหรัฐ รายงานสต็อก สินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนพ.ย.
  • 11 ม.ค. สหรัฐ รายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • 12 ม.ค. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนนธ.ค.ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนธ.ค.
  • 31 ม.ค. – 1 ก.พ. กำหนดการประชุมธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- Advertisement -