บล.เอเซีย พลัส:

ทรงดี

กําไรสุทธิ 4Q65 อยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท ตามฝ่ายวิจัยและตลาดคาด อ่อนตัว 4% QoQ (+64% YoY) เพราะ Credit Cost สูงขึ้น เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในการบริหารจัดการ ส่วนกําไรสุทธิปี 2565 เท่ากับคาดอยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 56% YoY ส่งให้ ROE มีพัฒนาการมาที่ 9.1% จาก 6.1% ปีก่อน และสูงกว่า SCB, KBANK, BBL ที่ 8.2%, 7.3%, 5.9% ตามลําดับ โดยแนวโน้มกําไร 1Q66 เติบโต QoQ รับอานิสงค์การปรับอัตราดอกเบี้ยเต็มไตรมาส และค่าใช้จ่ายดําเนินงานลดลงตามฤดูกาล

ซื้อ จากจุดแข็งด้าน Digital ผ่านความได้เปรียบบนฐานข้อมูลผู้ใช้งานแอพเป๋าตัง ราว 40 ล้านคน อีกท้ังในเชิง Valuation มี PBV ซื้อขาย 0.6 เท่า ยัง Laggard SCB และ KBANK สวนทาง ROE พร้อมประเมิน Div yield (จ่ายปีละครั้ง) ราว 5% ต่อปี สูงสุดใน ธ.พ. ใหญ่ (ปีก่อนประกาศเงินปันผลปลาย ก.พ. และ XD กลาง เม.ย.)

ที่มา: สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส

กําไรปี 2565 ตามคาดโต 56% YOY … ROE ขึ้นนํากลุ่ม ธ.พ. ใหญ่

กําไรสุทธิปี 2565 เท่ากับคาดอยู่ที่ 3.4 หมื่นล้านบาท ขยายตัว 56% YoY หนุนด้วย Credit Cost ลดลงเหลือ 0.9% (ECL หรือสํารองที่ 2.4 หมื่นล้านบาท) เทียบกับ 1.3% ปีก่อน (ECL ที่ 3.2 หมื่นล้านบาท) กอปรกับกําไรก่อนสํารอง (PPOP) เท่ากับ 7 หมื่นล้านบาท สูงขึ้น 12% YoY เพราะรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) และรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (Non – NII) เติบโต 8.4% YoY และ 7.9% YoY ตามลําดับ ส่วน ROE มีพัฒนาการมาที่ 9.1% จาก 6.1% ปีก่อน และสูงกว่า SCB, KBANK, BBL ที่ 8.2%, 7.3%, 5.9% ตามลําดับ

โดยกําไรสุทธิ 4Q65 อยู่ที่ 8.1 พันล้านบาท ตามฝ่ายวิจัยและตลาดคาดอ่อนตัว 4% QoQ (+64% YoY) เพราะ Credit Cost สูงขึ้นกว่าคาดการณ์ เพื่อรองรับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในการบริหารจัดการ หักล้าง PPOP ทําได้ดีกว่าประเมิน 10% มาที่ 1.9 หมื่นล้านบาท (+9.7% QoQ,+24.6% YoY) ดังนี้

  • NII ตามคาดเท่ากับ 2.4 หมื่นล้านบาท (+7.5% QoQ, +15.3% YoY) หนุนด้วยภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ผลักดัน Yield on loan มาที่ 4.3% จาก 4.0% งวดก่อน (4Q64 ที่ 3.8%) ขณะที่ Cost of fund อยู่ที่ 0.9% เทียบกับ 0.8% ในงวด 3Q65 (4Q64 ที่ 0.7%) ภาพรวม NIM เร่งตัวมาที่ 2.8% จาก 2.6% งวดก่อน (4Q64 ที่ 2.5%) องค์ประกอบรวมชดเชยสินเชื่อลดลง 0.7% QoQ (-1.4% YoY) มาที่ 2.6 ล้านล้านบาท เนื่องจากสินเชื่อรัฐบาล (สัดส่วน 16% ของพอร์ตสินเชื่อ : -15% QoQ, -23% YoY) อย่างไรก็ดี สินเชื่อรัฐบาลมีอัตราดอกเบี้ยไม่สูงใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ปัจจุบันที่ 1.25%) ทําให้ฝ่ายวิจัยมองว่าในระยะถัดไป KTB สามารถจัดสรรเงินที่ไม่ได้ปล่อยกู้ส่วนนี้ ไปยังลูกค้ากลุ่มอื่นที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่า (M-Rate) โดยหากไม่รวมลูกค้ารัฐบาล ณ สิ้นงวด 4Q65 สินเชื่อขยายตัว 2.6% QoQ และ 4.3% YoY
  • Non – NII สูงกว่าคาดการณ์ 18% ที่ 1 หมื่นล้านบาท (+15.5% QoQ, +17% YoY) เพราะ FVTPL ที่ 1.6 พันล้านบาท VS คาด 889 ล้านบาท (1 พันล้านบาทงวด 3Q65, 960 ล้านบาทงวด 4Q64) และรายได้อื่น (งวดนี้หลักๆ มาจากหนี้สูญรับคืน) เท่ากับ 3.1 พันล้านบาท เทียบกับที่ประเมิน 1.6 พันล้านบาท และ 1.7 พันล้านบาทงวดก่อน และ 2.2 พันล้านบาท ช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมฯ ต่ำกว่าประเมิน 12% อยู่ที่ 5.1 พันล้านบาท (- 5.4% QoQ, -1.7% YoY) แต่ทั้งปียังเติบโต 1.5% YoY
  • ค่าใช้จ่ายดําเนินงาน (OPEX) ตามคาดอยู่ที่ 1.6 หมื่นล้านบาท (+10% QoQ, +6% YoY) ทั้งค่าใช้จ่ายการตลาดตามฤดูกาล และการลงทุนระบบ IT แต่ฐานรายได้รวมที่เติบโต ทําให้ Cost to income Ratio (CIR) ทรงตัวที่ 45.3% และลดลงจาก 49.2% ของงวดเดียวกันปีก่อน ส่วนทั้งปี CIR เท่ากับ 43.7% ดีขึ้นจาก 45.5% ปี 2565
  • ECL สูงกว่าที่คาดไว้ 5.9 พันล้านบาท (Credit Cost ที่ 0.9%) เป็น 7.5 พันล้านบาท (Credit Cost ที่ 1.2%) เพิ่มจาก 5.7 พันล้านบาท (Credit Cost ที่ 0.9%) งวดก่อน แต่ต่ำลงจาก 8.2 พันล้านบาท งวด 4Q64 โดยคุณภาพสินทรัพย์ฝ่ายวิจัยมองว่ายังอยู่ในการบริหารจัดการสะท้อนผ่านมูลหนี้ NPL (Stage 3) ณ สิ้นงวด 4Q65 ที่ 1 แสนล้านบาท ลดลง 3.5% QoQ (-5.3% YoY) คิดเป็น NPL / Loan ที่ 3.9% จาก 4.0% ณ สิ้นงวดก่อน (4.1% ณ สิ้นปี 2564) ซึ่งในงวดนี้อาจมีการจัดชั้นลูกหนี้ที่มีความเสี้ยงเป็น NPL พิจารณาจากสินเชื่อ Stage 2 เท่ากับ 2.2 แสนล้านบาท ลดลง 2.2% QoQ (-4.8% YoY) และทําการ Write – off เพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกต่องบดุลในปี 2566 ด้าน Coverage Ratio ที่ 172.5% (VS BBL, KBANK, SCB ที่ 260.8%, 144.3% และ 152.7% ตามลําดับ) สูงขึ้นจาก 169.3% ณ สิ้นงวดก่อน และ 162.3% ณ สิ้นปี 2564 ประกอบกับพอร์ตสินเชื่อรายย่อย (สัดส่วน 43% ของพอร์ตสินเชื่อ) ส่วนใหญ่อิงกับฐานลูกค้าเงินเดือน (เช่น ข้าราชการ) ประเมินทําให้พอร์ตความเสี่ยงไม่สูงมาก

ดอกเบี้ยขึ้น หนุนแนวโน้มกําไร 1Q66

ทิศทางกําไรสุทธิ 1Q66 เติบโต QoQ และ YoY รับอานิสงค์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเต็มไตรมาส (NII 4Q65 ที่  2.4 หมื่นล้านบาท VS 2.1 หมื่นล้านบาท งวด 1Q64) โดยเฉพาะพอร์ตสินเชื่อรายย่อยที่เป็นสัดส่วนหลักของ KTB ซึ่งส่วนใหญ่อิงกับ MRR (สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อบ้าน) ซึ่งถูกปรับขึ้น 0.15% พร้อมกับ MLR, MOR หลังการประชุม กนง. ปลาย ธ.ค. 65 (ต้น ต.ค. 65 ปรับเฉพาะ MLR, MOR) มาอยู่ที่ 6.37% (หลังรวมการส่งผ่านต้นทุน FIDF ตั้งแต่ 3 ม.ค. 66 อยู่ที่ 6.77%) นอกจากน้ี OPEX มีแนวโน้มปรับตัวลงตามฤดูกาล

ซื้อ … VALUATION ไม่แพง พร้อม DIV YIELD 5% ต่อปี

อิง GGM (ROE 9.1%, COE ที่ 12%) ให้ PBV 0.72 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลังปี 2551 – ปัจจุบันที่ 1 เท่า ราว 0.75 SD) ได้ FV ปี 2566 ที่ 20.30 บาท (เทียบเท่า PER ที่ 8 เท่า ,ค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2551–ปัจจุบันที่ 9.4 เท่า) คงคําแนะนําซื้อ แนวโน้ม NII รับประโยชน์จากการปรับอัตราดอกเบี้ยเต็มปี ขณะที่คุณภาพสินทรัพย์อยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับ ธ.พ. ใหญ่อื่น นอกจากนี้ในระยะถัดไปคาดเห็นพัฒนาการต่อยอดจากฐานข้อมูลผู้ใช้งานแอพ เป๋าตังราว 40 ล้านคน ทั้ง NII ผ่านการปล่อยสินเชื่อ Digital ผ่าน KTB และ Virtual Bank (กรณีที่ได้รับใบอนุญาต) รวมถึง Non – NII จากการขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน อาทิ การจําหน่ายหุ้นกู้หรือทองคํา ในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งในเชิง Valuation มี PBV ซื้อขาย 0.6 เท่า ยัง Laggard SCB และ KBANK ที่ซื้อขายบน PBV ราว 0.75 และ 0.66 เท่า ตามลําดับ สวนทาง ROE ที่ KTB อยู่ในระดับสูงกว่า พร้อมประเมิน Div yield (จ่ายปีละครั้ง) ราว 5% ต่อปี สูงสุดใน ธ.พ. ใหญ่ (ปีก่อนประกาศเงินปันผลปลาย ก.พ. และ XD กลาง เม.ย.)

ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ําหนักต่อประมาณปี 2566 ของ KTB

NIM ลดลงต่ำกว่าคาด KTB โดยทุกๆ 10bp ของ NIM ที่ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปี 2566 ที่ 2.6% จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 4% และกําไรสุทธิปี 2566 ลดลง 8% และ ROE ต่ำลงเฉลี่ย 0.1% ทําให้ FV ต่ำลงจากเดิมราว 0.4 บาท

กรณีที่สินเชื่อเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย โดยทุกๆ 1% ของคาดการณ์สินเชื่อสุทธิปี 2566 ที่ลดลงจากปัจจุบันประเมินเติบโต 3% yoy จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 0.6% และกําไรสุทธิปี 2566 ลดลง 1% ส่วน FV ไม่เปลี่ยนแปลง

กรณีที่คุณภาพสินทรัพย์มีแนวโน้มแย่กว่าคาด โดยทุกๆ 10 bps ของคาดการณ์ Credit Cost ปี 2566 ที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ประเมินไว้ 85 bps จะทําให้ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มราว 12% จากปัจจุบันที่ 2.2 หมื่นล้านบาท และกําไรสุทธิปี 2566 ลดลงราว 6% และ ROE ต่ำลงเฉลี่ย 0.1% รวมถึง FV ต่ำลงจากเดิมราว 0.4 บาท

ESG ของ KTB

สิ่งแวดล้อม การให้สินเช่ือที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงการบริหารความเสี่ยงของพอร์ตสินเชื่อ อันเป็นผลจาก Net zero emission, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกฎเกณฑ์ต่างๆ นอกจากนี้ในส่วนของธนาคาร เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งไฟฟ้า, ขยะ ผ่านการแปรรูปเศษอาหารให้กลายเป็นดิน สามารถกําจัดเศษอาหารในห้องอาหารสํานักงานใหญ่ได้ 100% ของปริมาณที่เกิดขึ้นจริง 1.5 กิโลกรัม

สังคมแห่งคุณค่า มุ่งเน้นการดําเนินงานตามแนวทางการให้บริการลูกค้าอย่างเป็นธรรม (Market Conduct) ตามแนวทางของ ธปท. รวมถึงการออกผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายและเข้าถึงประชนทุกระดับ โดยเฉพาะแอพเป๋าตัง ที่มีส่วนสนับสนุนมาตรการภาครัฐ ต้ังแต่ช่วง COVID-19 และต่อเนื่องถึงการขายสลากผ่านช่องทางเป๋าตัง ช่วยลด ราคาสลากกินแบ่งรัฐบาลบางส่วนให้เป็นไปตามที่ภาครัฐต้องการ

Governance การกํากับดูแลกิจการที่ให้ความสําคัญเรื่องการกํากับการทํางานของฝ่ายจัดการที่มีความเป็นอิสระ  นอกจากนี้ดําเนินการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ และข้อบังคับ ผ่านการสร้างวัฒนธรรมไม่ทนต่อการทุจริต (Zero Tolerance)

- Advertisement -