บล.เอเซีย พลัส:

ทางไม่สะดวก

กําไรสุทธิ 4Q65 เท่ากับ 1.43 พันล้านบาท ต่ํากว่า Bloomberg Consensus ราว 28% และหดตัว 31% QoQ (-29% YoY) เพราะค่าใช้จ่ายดําเนินงานเผชิญแรง กดดันจากทั้งค่าใช้จ่ายสํารองท้ังจํานวนของธุรกิจ บล. ราว 708 ล้านบาท จาก ธุรกรรมซ้ือขายหุ้นท่ีเป็นข่าวช่วง พ.ย. 65 กอปรกับผลขาดทุนรถยึดไต่ระดับข้ึน ขณะที่ Credit Cost เร่งตัวสอดรับกับ NPL ด้านกําไรทั้งปีตามฝ่ายวิจัยคาดแต่ต่ํา กว่าตลาด 5% สําหรับแนวโน้มปี 2566 ยังท้าทายท้ังธุรกิจธนาคารภายใต้ดอกเบ้ีย ขาขึ้นและคุณภาพสินทรัพย์ เช่นเดียวกับ บล. จากความไม่แน่นอนของสภาวะตลาด

ราคาหุ้นปี 2565 ปรับตัวขึ้น 23.4% มากกว่า SETBANK ลบ 6.4% และ SET บวก 0.7% สะท้อนการเติบโตของกําไรปี 2565 และ Div Yield มากพอสมควร ด้วย 4Q65 อ่อนแอและข้างหน้าดูท้าทาย มอง Risk to reward ยังไม่จูงใจ คงแนะนํา Switch ไปยัง TISCO, BBL และ KTB ที่คุณภาพสินทรัพย์ดูแข็งแกร่งกว่า

ที่มา: สายงานวิจัย บล. เอเซีย พลัส

กําไร 4Q65 ต่ำตลาดคาด หดตัว QOQ และ YOY จาก OPEX และ ECL

สําหรับกําไรก่อนสํารอง (PPOP : NII + Non NII – OPEX) อยู่ที่ 3.8 พันล้านบาท (+4.2% QoQ, -5.1% YoY) โดยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (NII) ทําได้ดีเกินคาดหมาย บวก 16% QoQ และ 30% YoY เท่ากับ 5.5 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยแนะติดตามความต่อเนื่องของ NII หลังเติบโต Outperform สินเชื่อที่ขยายตัว 3.5% QoQ (+21.4% YoY) เกือบทุกประเภทสินเชื่อ (เพิ่มเติมตารางหน้า 7) นําโดยสินเชื่อเช่าซื้อ (สัดส่วน 49% ของพอร์ตสินเชื่อ ณ ส้ินงวด 4Q65 +3% QoQ, +19% YoY) และถือว่าสูงกว่าหรือใกล้เคียง ธ.พ. ใหญ่ที่ NII ได้รับประโยชน์ยามดอกเบี้ยขาขึ้นจากสัดส่วนโครงสร้างสินเชื่ออิงกับ Floating rate มากกว่า อย่าง BBL (+15% QoQ, +40% YoY), KBANK (+9.2% QoQ, +17.4% YoY) และ KTB (+7.5% QoQ, +15.3% YoY)

ตลาดคาด หดตัว QOQ และ YOY จาก OPEX และ ECL

กําไรสุทธิ 4Q65 เท่ากับ 1.43 พันล้านบาท ต่ำกว่า Bloomberg Consensus ราว 28% และหดตัว 31% QoQ (-29% YoY) จากค่าใช้จ่ายดําเนินงาน (OPEX) อยู่ที่ 4.3 พันล้าน บาท (+38% QoQ, +42% YoY) อันเป็นผลจากการตั้งสํารองทั้งจํานวน 708 ล้านบาท สําหรับธุรกรรมซื้อขายหลักทรัพย์ที่ผิดปกติตามที่เคยเป็นข่าวในวันที่ 10 พ.ย. 65 (อยู่ในกระบวนการสืบสวน แต่ตั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักความระมัดระวัง) หากไม่รวมรายการดังกล่าว OPEX อยู่ที่ประมาณ 3.6 พันล้านบาท สูงขึ้นจาก 3.1 พันล้านบาท งวด 3Q65 และ 3 พันล้านบาทช่วงเดียวกันปีก่อน เหตุเพราะผลขาดทุนรถยึดไต่ระดับต่อเนื่องมาที่ 742 ล้านบาท เทียบกับ 497 ล้านบาทงวดก่อนและ 489 ล้านบาทในงวด 4Q64 นอกจากนี้ ECL (สํารอง) ทะยานสู่ระดับ 2.1 พันล้านบาท (Credit cost ที่ 2.22%) จาก 1.1 พันล้านบาทในงวดก่อน (Credit cost ที่ 1.23%) และ 1.6 พันล้านบาทช่วง 4Q64 (Credit cost ที่ 2.10%) สอดรับไปกับคุณภาพสินทรัพย์ที่ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจะกล่าวในส่วนถัดไป

ในขณะที่ Non – NII อยู่ที่ 2.6 พันล้านบาท (+29.2% QoQ, -7.8% YoY) หนุนด้วยรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ที่ 1.6 พันล้านบาท (+4.9% QoQ และ YoY) แรงส่งจากงาน IB ขนาดใหญ่ ประกอบกับรายได้อื่นอยู่ที่ 821 ล้านบาท เทียบกับ 42 ล้านบาท งวดก่อน (เฉลี่ย 1Q65 – 4Q65 ที่ 239 ล้านบาทต่อไตรมาส) แต่ลดลงจาก 1.2 พันล้านบาทในงวด 4Q64 เหตุเพราะรายการหนี้สูญรับคืนลดลง

ภาพรวมกําไรสุทธิปี 2565 ต่ำกว่าที่ตลาดประเมิน 5% แต่ตามฝ่ายวิจัยคาดการณ์ ที่ 7.6 พันล้านบาท (+20% YoY) เพราะ Credit Cost ลดลงมาที่ 1.46% (ECL ที่ 5 พันล้านบาท) จาก 1.79% ปีก่อน (ECL ที่ 5.2 พันล้านบาท) และ PPOP ขยายตัว 12% YoY เท่ากับ 1.45 หมื่นล้านบาท จาก NII สูงขึ้น 21.5% YoY ที่ 1.9 หมื่นล้านบาท ตามการขยายตัวของสินเชื่อ ชดเชย Non – NII ชะลอตัว 1% YoY เหลือ 8.4 พันล้านบาท เพราะรายได้ที่มิใช่การดําเนินงานหลัก อย่างเช่นรายได้อื่นในงวด 4Q65 ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเท่ากับ 6.2 พันล้านบาท เติบโต 1.5% YoY

โดยแนวโน้มกําไรสุทธิปี 2566 ฝ่ายวิจัยมองทําได้เพียงประคองตัวจากปีก่อน ทั้งจาก Credit Cost ที่ไม่น่าลดลงได้ในอัตราเดียวกับปี 2565 จากปัจจัยด้านคุณภาพสินทรัพย์ นอกจากน้ีทิศทางผลขาดทุนรถยึดยังยืนในระดับสูง หลัง NPL สินเช่ือเช่าซื้อยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ KKP แต่เป็นทั้งกลุ่มฯ มีโอกาสเปิด Downside ต่อราคารถยนต์มือสอง จากการเร่งระบายรถยึดเพื่อลดระดับ NPL ในงบดุล รวมทั้งฝั่ง NII มีแรงกดดันจากต้นทุนทางการเงินอย่าง FIDF ส่งผลต่อพอร์ตสินเช่ือที่มีสัญญาอัตราดอกเบี้ยคงที่ อย่างสินเชื่อเช่าซื้อ (สัดส่วน 49% ของพอร์ต) อีกท้ังเมื่อนํา 2 มุมมองข้างต้นมารวมกัน ตามความเห็นของฝ่ายวิจัยอาจนําไปสู่นโยบายสินเช่ือที่เข้มงวดมากขึ้น กอปรกับรายได้ค่าธรรมเนียมฯ ในกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ เผชิญความท้าทายจากความผันผวนของสินทรัพย์เสี่ยง และภาษีธุรกรรมการซื้อขายหุ้นไทยที่อยู่ระหว่างรอประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

การเติบโตที่มาพร้อมกับ NPL

สําหรับคุณภาพสินทรัพย์ ณ สิ้นงวด 4Q65 พบว่ามูลหน้ี NPL (Stage 3) สูงขึ้น 10% QoQ (+28% YoY) มาที่ 1.3 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะ NPL สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์อยู่ที่ 4.7 พันล้านบาท (+26% QoQ, +73.1% YoY : NPL / Loan 4Q65 ที่ 2.5% VS 2.1% ณ ส้ินงวด 3Q65) หลังช่วงที่ผ่านมาสินเช่ือเช่าซื้อเติบโตพอสมควรจากสิ้นปี 2562 ราว 72% หรือคิดเป็น CAGR ประมาณ 20% ต่อปี นอกจากนี้ยังเห็นการขยับขึ้นของ NPL ในกลุ่ม SME มาอยู่ที่ 2 พันล้านบาท (+26% QoQ, +25% YoY : NPL / Loan 4Q65 ที่ 5.9% VS 5.0% ณ สิ้นงวด 3Q65)

ภาพรวมส่งผลให้ NPL / Loan ณ สิ้นงวด 3Q65 อยู่ที่ 3.44% จาก 3.22% ณ สิ้นงวดก่อน และ 3.26% ณ สิ้นปี 2564 ด้านสินเชื่อ Stage 2 ลดลง 1% QoQ (+33.7% YoY) ที่ 2.8 หมื่นล้านบาท จากการไหลตกชั้นเป็น NPL แล้วตามข้างต้น

ส่วนค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตท่ีคาดว่าจะเกิดขึ้น (LLR) ณ สิ้นงวด 4Q65 อยู่ที่ 1.9 หมื่นล้านบาท สูงขึ้น 7.2% QoQ (+14.8% YoY) เพราะการตั้ง ECL ในงวดนี้ แต่ยังต่ำกว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของ NPL ส่งผลให้ Coverage Ratio ลดลงเหลือ 146.4% เทียบกับ 150.6% ณ สิ้นงวดก่อน และ 163.1% ณ สิ้นปี 2564

SWITCH … ระวังส้ินสุดทางเลื่อน

อิง GGM (ROE ระยะยาว 12.3% และกําหนด COE ที่ 11.3%) ได้ PBV ที่ 1.1 เท่า ให้ FV ปี 2566 ที่ 77 บาท นอกจากปัจจัยที่กล่าวไปในช่วงต้น ในเชิงราคาหุ้นตลอดปี 2565 ปรับตัวขึ้น 23.4% มากกว่า SETBANK ที่ติดลบ 6.4% และ SET บวก 0.7% สะท้อนการเติบโตของกําไรปี 2565 และ Div Yield ในระดับสูงมากพอสมควร จึงคงคําแนะนํา Switch ไปยัง BBL(FV@B159), KTB(FV@B20.30) และ TISCO(FV@B108) ที่คุณภาพสินทรัพย์ดูแข็งแกร่งกว่า

ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ําหนักต่อประมาณปี 2566 ของ KKP

1. กรณีที่สินเชื่อเติบโตต่ำกว่าเป้าหมาย ทุกๆ 1% ของคาดการณ์สินเชื่อสุทธิปี 2566 ที่ลดลงจากปัจจุบันที่ประเมินไว้เติบโต 5% yoy จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 0.3% และกําไรสุทธิปี 2566 ลดลง 0.3% ส่วน FV ไม่เปลี่ยนแปลง

2. NIM ลดลงต่ำกว่าคาด โดยทุกๆ 10bps ของ NIM ที่ปรับตัวลดลงจากคาดการณ์ปี 2566 ที่ 3.8% จะทําให้รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิลดลง 2.8% และกําไรสุทธิปี 2566 ลดลง 5% และส่งผลให้ FV ต่ำลงจากเดิมไม่เกิน 4 บาท

3. กรณีที่คุณภาพสินทรัพย์แย่กว่าคาด โดยทุกๆ 10bp ของคาดการณ์ Credit cost ปี 2566 ที่เพิ่มจากที่ประเมินไว้ 124bps จะทําให้ค่าใช้จ่ายสํารองหนี้ฯ เพิ่ม 9% จากปัจจุบัน และทําให้กําไรสุทธิปี 2566 ลดลง 4% และส่งผลให้ FV ลดลงจากเดิมไม่เกิน 3 บาท

 

- Advertisement -