มองส่งออกต่ำกว่าคาด กดดันตลาดหุ้น
กรอบ SET INDEX 1670-1686
Market Outlook
เมื่อวานที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์รายงานมูลค่าส่งออกประจำเดือนธ.ค. หดตัว 14.6% YoY ต่ำกว่าตลาดประเมินไว้ที่หดตัว 11% YoY ด้านสาเหตุกระทรวงพาณิชย์ระบุถึงการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก และกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนแอ โดยเฉพาะตลาดส่งออกของไทย เช่น สหรัฐฯ ยุโรป จีน และญี่ปุ่น สำหรับสินค้าเกษตรภาพรวมหดตัว 11% YoY หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน อย่างไรก็ตาม มีสินค้าที่ขยายตัวได้ ได้แก่ ผลไม้สด อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไก่สดแช่เย็นและแช่แข็ง ด้านมูลค่าส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัว 16% YoY เป็นการหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือนติดต่อ สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ (-17% YoY) เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (-24% YoY) แนวโน้มถัดไปกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยในปี 2023 โดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป หุ้นได้ประโยชน์มองไปที่ (GFPT, TFG) ส่วนการส่งออกที่อ่อนแรงมองเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นและอาจเสี่ยงต่อการปรับลด GDP
ส่วนวันนี้รอติดตามประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คาดจะทราบผลช่วงบ่าย Bloomberg Consensus ประเมินไว้ว่าจะขึ้นดอกเบี้ย 0.25% สู่ระดับ 1.5% อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าอาจเห็นการปรับลด GDP จากการส่งออกที่แย่ลง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นจริงจะเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น ปัจจัยติดตามคืนนี้ ได้แก่ สต็อก น้ำมันดิบของสหรัฐฯ Bloomberg ประเมินไว้ที่ 1.2 ล้านบาร์เรล ส่วนคืนพรุ่งนี้ติดตามคำสั่งซื้อสินค้าคงและยอดขายบ้านมือหนึ่งของสหรัฐฯ Bloomberg ประเมินไว้ที่ 2.4% MoM และ 6.1 แสนหลังคาเรือน หากแย่กว่าตลาดประเมินไว้จะยิ่งสะท้อนถึงการอ่อนแรงของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมถึงเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก วันนี้ประเมิน SET INDEX เคลื่อนไหวในกรอบ 1670-1686
เชิงกลยุทธ์การลงทุน ยังแนะทยอยลดพอร์ตมากกว่าความกังวลเศรษฐกิจถดถอยเริ่มสะท้อนออกมาเรื่อยๆ ผ่านตัวเลขเศรษฐกิจ และเสี่ยงที่ระยะถัดไปจะเผชิญกับการปรับลดกำไรและเศรษฐกิจ ส่วนการ Trading ระยะสั้นเลือกหุ้นที่ Laggard/Defensive อาทิ กลุ่มสื่อสาร (ADVANC, INTUCH) โรงภาพยนตร์ (MAJOR) กลุ่มโรงพยาบาล (BCH, BDMS, CHG) กลุ่มโรงไฟฟ้า (BGRIM, GPSC, GULF, RATCH) กลุ่มค้าปลีก (BJC, HMPRO)
หุ้นแนะนําซื้อวันนี้
BJC ราคาพื้นฐาน 45.00 บาท
เพิ่มมูลค่าพื้นฐานจาก 40.00 บาท เป็น 45.00 บาท หลังจากปรับปีฐานของมูลค่าพื้นฐานไปเป็นปี 2023 คาดกําไร ปกติไตรมาส 4/22 ที่ 1.5 พันล้านบาท (+11% YoY, +71% QoQ) สูงสุดในรอบ 12 ไตรมาส การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจาก (1) ผลงานของโมเดิร์นเทรดที่แข็งแกร่ง หลังจำนวนนักท่องเที่ยวขาเข้าฟื้นตัวดี (2) ธุรกิจบรรจุภัณฑ์ที่ฟื้นตัว QoQ จากอุปสงค์บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มที่ดีขึ้น
BDMS ราคาพื้นฐาน 34.00 บาท
กําไรสุทธิงวด 9 เดือนฟื้นตัวดีที่ 79% YoY และคาดว่าจะยังแข็งแกร่งในไตรมาส 4/22 หนุนจากผู้ป่วยที่บินมารักษาทยานสูงขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นกันชนต่อส่วนแบ่ง Covid-19 ที่ลดลง เราประเมินอัตราการเติบโตของกําไรที่ 58% ในปี 2022 ด้วยอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ที่สูงขึ้นเป็น 14.5% ส่วนในปี 2023-2024 แม้คาดการเติบโตที่ชะลอลง เป็น 10%-8% YoY แต่ยังอยู่ในแดนบวก