บล.เอเซีย พลัส::

บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จํากัด (มหาชน) (CHASE)

พร้อมเติบโตในระยะยาวหลัง IPO

CHASE เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแบบไม่มีหลักประกัน และเร่งรัดติดตามหนี้สิน ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเติบโตอีกมากในระยะยาว จากแนวโน้มสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่เติบโตต่อเนื่อง โดยหลังระดมทุน IPO CHASE จะนําเงินไปซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาบริหารมากขึ้น หนุนแนวโน้มกําไรเติบโตในระยะยาว

แม้คาดกําไรสุทธิปี 2565 จะลดลง 46% yoy ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้ม Credit cost ปี 2565 ปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดกําไรสุทธิปี 2566-67 จะพลิกกลับมาเติบโตถึง 57% yoy และ 25% yoy ผลบวกจากการซื้อหนี้เข้ามาในปี 2564-65 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทยอยเก็บหนี้ได้มากขึ้น และแนวโน้มการประหยัดต่อขนาด กําหนด Fair value ปี 2566 เท่ากับ 3.70 บาท

ผู้ประกอบการบรหิารหนี้และติดตามหนี้ที่มีโอกาสเติบโตอีกมาก

บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จํากัด (มหาชน) หรือ CHASE ก่อตั้งเมื่อปี 2541 ด้วยทุนจดทะเบียน 1 ล้านบาท โดยคุณประชา ชัยสุวรรณและทีมผู้บริหาร เพื่อให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหน้ีสิน ซึ่งมีจํานวนมากจากวิกฤตการณ์ทางการเงินปี 2540

โดยปัจจุบัน CHASE ประกอบธุรกิจหลัก 2 ธุรกิจ ได้แก่ 1) ธุรกิจให้บริการติดตามทวงถามและเร่งรัดหนี้สิน (34% ของรายได้รวมงวด 9M65) ทั้งจากสถาบันการเงินและมิใช่สถาบันการเงิน เช่น ลูกหนี้เงินกู้ยืมส่วนบุคคล ลูกหนี้บัตรเครดิตและลูกค้าที่ค้างชําระค่าบริการ เป็นต้น

และ 2) ธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์จากการรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (60% ของรายได้รวมงวด 9M65) ทั้งแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน โดย ณ สิ้นงวด 9M65 CHASE มีเงินให้สินเชื่อแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพทั้งสิ้น 1.8 พันล้านบาท แบ่งเป็น 90% เป็นสินเช่ือด้อยคุณภาพแบบไม่มีหลักประกัน (สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อตามสัญญาเช่าซื้อ) และส่วนที่เหลืออีก 10% เป็นสินเช่ือด้อยคุณภาพแบบมีหลักประกัน (สินเชื่อที่อยู่อาศัย)

ระดมทุนเพื่อขยายธุรกิจบริหารหนี้ด้อยคุณภาพในระยะยาว

CHASE เสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน IPO ในตลาด SET จํานวนไม่เกิน 562 ล้านหุ้น คิดเป็น 28.3% ของจํานวนหุ้นหลัง IPO ราคาพาร์ 0.50 บาท/หุ้น แบ่งเป็น 1) หุ้นสามัญเพิ่มทุน จํานวน 417 ล้านหุ้น คิดเป็น 21.0% ของทุนชําระแล้วหลัง IPO และ 2) บจ. อาร์เอส มอลล์ (บ. ย่อยของ RS ถือหุ้น 100% ของทุนชําระแล้ว) เสนอขายหุ้นสามัญเดิมที่ถืออยู่ไม่เกิน 145 ล้านหุ้น คิดเป็น 7.3% ของจํานวนหุ้นหลัง IPO ทั้งนี้ CHASE จะเสนอขายหุ้นสามัญให้ประชาชน ซึ่งรวมถึงผู้มีอุปการคุณและพนักงานของกลุ่ม CHASE

สําหรับเงินเพิ่มทุนจากการทํา IPO จะนําไป 1) ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในอนาคต โดย CHASE ตั้งเป้าหมายการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพปี 2565 ไว้ที่ 550 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็น 1 พันล้านบาท/ปี ในปี 2566-67 และ 2) ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการ

ทั้งนี้ ภายหลังระดมทุน IPO ฝ่ายวิจัยคาดสัดส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่ายต่อทุน (IBD/E) ของ CHASE ณ สิ้นปี 2566 จะปรับลดลงเหลือเพียง 0.2 เท่า จาก 0.4 เท่า ณ สิ้น งวด 3Q65 รองรับการก่อหนี้เพิ่มเติมเพื่อการขยายธุรกิจในอนาคต

อุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจะเติบโตในระยะยาว

แนวโน้มอุตสาหกรรมบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจะเติบโตต่อเนื่องในปี 2566-67 ผลบวกจากปริมาณสินเชื่อรวมทั้งระบบของธนาคารพาณิชย์ไทยเติบโตเฉลี่ย 6.4% p.a. (CAGR) นับตั้งแต่ปี 2554-งวด 1Q65 จนล่าสุดอยู่ที่ 18.2 ล้านล้านบาท ซึ่งก็ทําให้ปริมาณสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Gross NPL) เติบโตเฉลี่ย 7.2% p.a. ในช่วงเวลาเดียวกัน จน ล่าสุดอยู่ที่ 5.3 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน NPL/สินเชื่อรวม ณ สิ้นงวด 1Q65 ที่ 2.9% เพิ่มขึ้นจากระดับ 2.7% ณ สิ้นปี 2554 ส่งผลบวกโดยตรงต่อผู้ประกอบการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีแนวโน้มนําสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ดังกล่าวออกมาขายมากขึ้นในปี 2566-67

ทั้งนี้ สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Gross NPL) ของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นงวด 1Q65 แบ่งเป็นสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ภาคธุรกิจอยู่ที่ 73% ของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นมูลค่าราว 3.9 แสนล้านบาท และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิด รายได้ภาคครัวเรือนคิดเป็น 27% ของสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าราว 1.5 แสนล้านบาท โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ภาคครัวเรือนแบ่งเป็นสินเช่ือที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในกลุ่มที่อยู่อาศัย 9.2 หมื่นล้านบาท สินเช่ือไม่ก่อให้เกิดรายได้ในกลุ่มสินเชื่อบุคคล 3.0 หมื่นล้านบาท สินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้ในกลุ่มรถยนต์ 1.7 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้ในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิต 7.0 พันล้านบาท โดย CHASE จะเน้นบริหารสินเชื่อไม่ก่อให้เกิดรายได้ภาคครัวเรือนเป็นหลัก ซึ่งมีปริมาณสูงมาก เทียบกับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ ณ สิ้นงวด 3Q65 ที่ CHASE บริหารอยู่ที่ 1.8 พันล้านบาท ถือเป็นโอกาสในการเติบโตของ CHASE ในระยะยาว

ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565-66 หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายดีขึ้นทั่วโลก สอดคล้องกับที่ IMF คาดการณ์ GDP ของไทยปี 2565-66 จะเติบโต 2.8% yoy และ 3.7% yoy ตามลําดับ อานิสงค์จากการเปิดเมือง หนุนการใช้ชีวิตเป็นปกติมากขึ้น อุตสาหกรรมท่องเท่ียวไทยฟื้นตัว แนวโน้มการส่งออกดีขึ้น และแนวโน้มการลงทุนของรัฐบาลและเอกชนฟื้นตัว ล้วนหนุนให้ผู้บริโภคในประเทศไทยมีรายได้มากขึ้น ส่งผลบวกต่อแนวโน้มการชําระหน้ีของลูกหนี้ของ CHASE

ทิศทางกําไรสุทธิจะกลับมาเติบโตในปี 2566-67

ฝ่ายวิจัยคาดการณ์กําไรสุทธิปี 2565 ของ CHASE จะปรับลดลงถึง 45.5% yoy มาที่ 148 ล้านบาท จากแนวโน้มรายได้รวมปรับลดลง ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้ม Credit cost ปี 2565 ปรับสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดกําไรสุทธิปี 2566-67 จะพลิกกลับมาเติบโตถึง 57.1% yoy และ 24.7% yoy จากแนวโน้มรายได้รวมเพิ่มขึ้น ผลบวกจากการซื้อหนี้เข้ามาในปี 2564-65 ซึ่งคาดว่าจะเริ่มทยอยเก็บหนี้ได้มากขึ้น และแนวโน้ม Credit cost และสัดส่วน Cost to income ปรับลดลง โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

1) กําหนดสมมติฐานรายได้รวมปี 2565 เท่ากับ 689 ล้านบาท ลดลง 11.8%yoy จากแนวโน้มรายได้จากธุรกิจติดตามหนี้และธุรกิจเงินให้สินเชื่อลดลง ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งมีน้ําหนักมากกว่าแนวโน้มรายได้จากธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ปรับเพิ่มขึ้น 9.2% yoy มาที่ 410 ล้านบาท จากการเริ่มทยอยจัดเก็บเงินสดจากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ซื้อมาในช่วงก่อนหน้านี้ได้มากขึ้น โดยฝ่ายวิจัยกําหนดสมมติฐานการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพใหม่ในปี 2565 ไว้ที่ 550 ล้านบาท โดย CHASE ได้ซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้ามาแล้ว 460 ล้านบาทในงวด 9M65

นอกจากนี้ ยังกําหนดสมมติฐานรายได้รวมปี 2566 เท่ากับ 927 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 34.5%yoy จากแนวโน้มรายได้ธุรกิจบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ปรับเพิ่มขึ้นถึง 52.6% yoy มาที่ 626 ล้านบาท จากการเริ่มทยอยจัดเก็บเงินสด จากสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ซื้อมาในช่วงก่อนหน้านี้ได้มากขึ้นต่อเนื่อง โดยฝ่ายวิจัยกําหนดสมมติฐานการซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพใหม่ในปี 2566 ไว้ที่ 1.0 พันล้านบาท หลังจากที่ CHASE ได้เงินระดมทุน IPO หนุนแนวโน้มการเติบโตในระยะยาว และคาดรายได้ธุรกิจรายได้ธุรกิจติดตามหน้ีปี 2566 จะเติบโต 8.2% yoy มาที่ 254 ล้านบาท และคาดรายได้ธุรกิจเงินให้สินเชื่อปี 2566 จะเติบโต 5.6% yoy มาที่ 47 ล้านบาท

2) กําหนดสมมติฐาน Gross margin ปี 2565 จะปรับลดลงมาที่ 67.0% จาก 69.5% ในปี 2564 ผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อกดดันแนวโน้มรายได้รวมให้ปรับลดลงข้างต้น แต่คาด Gross margin ปี 2566 จะปรับเพิ่มขึ้นมาที่ 67.5% ผลบวกจากแนวโน้มรายได้รวมที่เติบโตดีขึ้น ขณะที่แนวโน้มต้นทุนค่าบริการและวิชาชีพปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่า

3) กําหนดสมมติฐาน Cost to income ratio ปี 2565 จะปรับเพิ่มขึ้นมาที่ 14.3% จาก 12.3% ในปี 2564 และคาด Cost to income ratio ปี 2566 จะปรับลดลงมาที่ 13.5% จากแนวโน้มการประหยัดต่อขนาด

4) กําหนดสมมติฐาน Credit cost ปี 2565 จะปรับเพิ่มขึ้นมาที่ 6.5% จาก 6.0% ในปี 2564 จากแนวโน้มผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นปี 2565 จะเพิ่มขึ้นถึง 60.7% yoy มาที่ 164 ล้านบาท ผลกระทบจากการแนวโน้มการจัดเก็บเงินสดได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ CHASE คาดการณ์ไว้จากภาวะเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม คาด Credit cost ปี 2566 จะปรับลดลงมาที่ 6.0% จากแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว หนุนแนวโน้มการจัดเก็บเงินสดได้สอดคล้องกับเป้าหมายมากขึ้น

5) กําหนดสมมติฐานค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยปี 2565 เท่ากับ 18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 68.3% yoy โดยกําหนดสมมติฐานหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยจ่าย ณ สิ้นปี 2565 จะ อยู่ที่ 905 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 67.9% yoy จากการกู้เงินไปซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในปี 2565 และกําหนดสมมติฐาน Cost of funds เฉลี่ยปี 2565 เท่ากับ 2.5% นอกจากนี้ ยังกําหนดสมมติฐานค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยปี 2566 เท่ากับ 22 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 19.8% yoy โดยกําหนดสมมติฐานหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย จ่าย ณ ส้ินปี 2566 จะอยู่ที่ 537 ล้านบาท ลดลงถึง 40.7% yoy และสมมติฐาน Cost of funds เฉลี่ยปี 2566 เท่ากับ 3.0%

ปัจจัยที่มีความเสี่ยงที่สําคัญต่อประมาณการ

1)  กําหนดราคาในการซื้อหน้ีด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินไม่เหมาะสม (หรือซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาในราคาแพงเกินไป) จะทําให้แนวโน้มผลตอบแทน ของ CHASE ต่ำกว่าที่ประเมินไว้ และกดดันแนวโน้มกําไรสุทธิของ CHASE ได้

2)  แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว จะกดดันแนวโน้มความสามารถในการชําระหนี้ของลูกหนี้ของ CHASE ได้ โดยกลุ่มลูกหน้ีของ CHASE เป็นลูกหน้ีที่เคยผิดนัดชําระหนี้มาก่อนแล้ว ทําให้มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจชะลอตัว จึงมีแนวโน้มผิดนัดชําระหน้ีได้มากกว่าลูกหน้ีท่ัวไป ซึ่งจะกดดันแนวโน้มกําไรสุทธิของ CHASE

FAIR VALUE ปี 2566 เท่ากับ 3.70 บาท

ฝ่ายวิจัยประเมิน Fair value ปี 2566 ของ CHASE เท่ากับ 3.70 บาท อิง PBV 2.2 เท่า ตามวิธี Gordon Growth Model ที่ ROE เฉลี่ยระยะยาว 11% และการเติบโตเฉลี่ยระยะยาวที่ 7.0% โดย Fair value ของ CHASE เทียบเท่า PER ปี 2566 ท่ี 32 เท่า ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยผู้ประกอบการบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในตลาดหลักทรัพย์ที่เน้นบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพแบบไม่มีหลักประกันเป็นหลัก (ไม่รวม BAM ที่เน้นบริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่มีหลักประกันเป็นหลัก) โดยฝ่ายวิจัยประเมินว่า CHASE มีศักยภาพในการเติบโตสูงในระยะยาว หลังจากเข้าระดมทุน IPO แล้ว จากฐานกําไรและเงินให้สินเช่ือแก่สินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ยังต่ำเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรมฯ

- Advertisement -