Daily Focus: Selective and Earnings Play

2023SET Target: 1750

ตลาดหุ้นวานนี้ : SET Index ปรับตัวลงแรงกว่าคาด ปิดลบ 10.77 จุด ถ่วงโดยกลุ่มปิ โตรเคมีและโรงไฟฟ้า รวมถึงแรงขายหนักในหุ้น Growth บางกลุ่ม เช่น JMART JMT สถาบันในประเทศขายสุทธิในตลาดหุ้นเร่งตัวขึ้นเป็น 2.9 พันลบ. ขณะที่นักลงทุน ต่างชาติพลิกมาซื้อสุทธิ 1.2 พันลบ. (แต่ Short Index Futures หนาแน่นถึง 3.5 หมื่น สัญญา)

แนวโน้มตลาดวันนี้ : เราคาด SET Index แกว่ง Sideways แนวรับหลักอยู่ที่ 1,670 จุด ถัดลงมาที่ 1,660 จุด  ตลาดยังคงได้ Sentiment บวกจากฝั่งสหรัฐฯที่รายงาน GDP 4Q22 ดีกว่าคาด แต่องค์ประกอบภายในยังผสมผสานและยังมีสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจ นอกจากนี้เรามองการฟื้นตัวของดัชนีจะยังจำกัดโดยมีตัวเลขเงินเฟ้อ PCE เดือน ธ.ค. ที่จะประกาศคืนนี้ ขณะที่การประชุม FED สัปดาห์หน้าตลาดคาดปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ขึ้นสู่ระดับ 4.50-4.75% ค่อนข้างแน่นอน ปัจจัยในประเทศโฟกัสหลักยังคงอยู่ที่การทยอยประกาศกำไร 4Q22 ของบริษัทจดทะเบียน ภาพรวมคาดว่าจะฟื้นตัวได้ q-q นำโดยกลุ่มน้ำมัน Consumption และ Reopening Play ตามเศรษฐกิจที่ฟื้นและการเปิดประเทศ เรามองจังหวะพักตัวของราคาหุ้นเป็นโอกาสทยอยสะสมระยะกลาง-ยาว ส่วนระยะสั้นเน้นเก็งก่าไรหุ้นที่คาดงบ 4Q22 แข็งแรง

กลยุทธ์ : เลือกเก็งกำไรหุ้น 4Q22 แข็งแกร่ง // ระยะกลาง-ยาวสะสม Domestic และ Reopening Play ช่วงพักตัว

หุ้นเด่นเดือน ม.ค. : AAV, BCP, CENTEL, M, MAKRO

หุ้นเด่นวันนี้ : BEM

  • แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 11.50 บาท
  • เราคาดกำไร 4Q22 +4% Q-Q, +27% Y-Y ได้อานิสงส์จากทั้งการฟื้นตัวของปริมาณรถบนทางด่วนและผู้โดยสารรถไฟฟ้าที่เร่งตัวขึ้นทั้ง Q-Q และ Y-Y ตามการเปิดเมือง ขณะที่ฝั่งต้นทุนคาดเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกับรายได้โดยเฉพาะค่าบำรุงรักษาและค่าไฟ
  • เราคาดกำไรปี 2022 +152% Y-Y แนวโน้มปี 2023 คาดว่ายังคงเติบโตได้ต่อเนื่องอีก +64% Y-Y ขณะที่สายสีส้มคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1Q23 โดยเรารวมมูลค่าเพิ่มจากรถไฟฟ้าสายสีส้มไว้ในประมาณการ
  • แนวรับ 9.85-9.80 บาท แนวต้าน 10.20//11 บาท

Fund Flow : วานนี้กระแสเงินทุนยังคงไหลเข้าภูมิภาคต่อเนื่องอีก US$842 ล้าน นำโดยเกาหลีใต้ US$739 ล้าน ส่วนไต้หวันยังปิดทำการ ขณะที่อาเซียนไหลเข้าทุกประเทศ นำโดยอินโดนีเซียและไทย US$57 ล้าน และ US$36 ล้าน ตามลำดับ แนวโน้มของกระแสเงินทุนคาดว่ายังอยู่ในทิศทางไหลเข้าหลังตลาดหุ้นตอบรับเชิงบวกต่อ GDP 4Q22 ที่ดีกว่าคาด

 

ประเด็นสําคัญวันนี้

(0) GDP 4Q22 สหรัฐฯ ดีกว่าคาด แต่มาจาก Inventory +2.9% เปรียบเทียบกับที่ตลาดคาด +2.6% อย่างไรก็ตาม ยังชะลอตัวจาก 3Q22 ที่ +3.2% อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่หนุน GDP 4Q22 คือ Inventory ที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่เครื่องยนต์หลักอย่างการใช้จ่ายของบริโภค หรือคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 70% ของเศรษฐกิจชะลอตัวเหลือ +2.1% จาก +2.3% ไตรมาสก่อน ทำให้ยังไม่ปิดความเสี่ยงที่จะเห็นเศรษฐกิจชะลอตัวต่อเนื่องในปีนี้ และอาจติดลบอ่อนๆ ส่วนคืนนี้มีตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ คือ เงินเฟ้อ PCE เดือน ธ.ค. ตลาดคาด Core PCE +0.3% m-m, +4.4% y-y จากเดือน พ.ย. ที่ +0.2% m-m, +4.7% y-y หากออกมาตามคาดหรือต่ำกว่าคาดจะเป็นปัจจัยบวกต่อสินทรัยพ์เสี่ยงต่อเนื่อง

(-) PTG คาดผลการดำเนินงาน 4Q22 จะพลิกมาขาดทุน 30 ลบ. ฉุดโดยค่าการตลาดของธุรกิจปั๊มน้ำมันที่ต่ำเพียง 1.55 บาท/ลิตร จากการเก็บเงินของกองทุนน้ำมัน หลังจากอุดหนุนในปีก่อน ขณะที่ธุรกิจ Non-Oil ที่ฟื้นตัวชดเชยไม่ได้ ส่งผลให้ปี 2022 คาดก่าไร -4% y-y แนวโน้ม 1Q23 คาดยังถูกกดดันในลักษณะเดียวกันและดีขึ้นใน 2Q23-2H23 ทำให้เราปรับลดประมาณการกำไรปี 2023 ลงแต่ยังฟื้นตัว +44% y-y ปรับลดราคาเป้าหมายลเหลือ 14 บาท ลดคำแนะน่าเป็น “ถือ”

(0) COM7 คาดกำไร 4Q22 +14% q-q จาก High Season ของสินค้า IT แต่ -9% y-y จาก iPhone14 ที่เริ่มขายตั้งแต่ ก.ย. 22 การนำเข้า Delay จากการ Lockdown ของ Foxconn และค่าใช้จ่าย SG&A ที่สูงขึ้น ขณะที่ส่วนแบ่งกำไรจาก NCAP คาดปรับตัวลดลงจากเพดานดอกเบี้ยสินเชื่อมอเตอร์ไซค์ จบปี 2022 คาดกำไร +13% y-y บริษัทตั้งเป้า Market share ตลาด IT 35% ใน 3 ปีจากการขยายสาขา รวมถึงบริการด้า ประกันและบริการทางการเงินรองรับ คาดหนุนกำไรปี 2023-024 +16% y-y และ +21% y-y ตามลำดับ ประเมินราคาเป้าหมาย 40 บาท แนะนำ “ซื้อ

 

(+) ตลาดดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 205.57 จุด หรือ +0.61% ปิดที่ 33,949.41 จุด หลังเปิดเผยตัวเลข GDP ไตรมาส 4/2022 ที่สูงเกินคาด ช่วยให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวก จากการเปิดเผยผลประกอบการที่สดใสของบริษัทจดทะเบียน

(+) ตลาดหุ้นเอเชีย เปิดบวก ตามตลาดหุ้นสหรัฐ ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เดือนม.ค.ของญี่ปุ่นที่ 4.3% ปรับตัวสูงขึ้นเร็วกว่าที่ตลาดคาด

(-) ค่าเงินบาท อ่อนค่า อยู่ที่บริเวณ 32.76 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

(+) ราคาน้ำมันดิบ NYMEX เพิ่มขึ้น 86 เซนต์ หรือ 1.07% ปิดที่ 81.01 ดอลลาร์/บาร์เรล จากการคาดการณ์ความต้องการน้ำมันทั่วโลกฟื้นตัว หลังจีนเปิดประเทศ รวมถึงตัวเลข GDP สหรัฐไตรมาส 4/2022 ที่ดีเกินขาด ในขณะที่เช้านี้ปรับขึ้นต่อที่ระดับ 81.19 ดอลลาร์/บาร์เรล หรือ +0.22%

(-) ราคาทองคำ COMEX ลดลง 12.6 ดอลลาร์ หรือ 0.65% ปิดที่ 1,930 ดอลลาร์/ออนซ์ จากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่แข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาด ส่งผลให้นักลงทุนเทขายทองค่าในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ในขณะที่เช้านี้ รีบาวน์ที่ระดับ 1,932.9 ดอลลาร์/ออนซ์ หรือ +0.15%

SPDR Gold Trust ถือครองทองคำ 919.37 / –

- Advertisement -