KS Daily View 30.01.2023 > สัปดาห์นี้ ติดตามประชุม Fed, ECB, BOE ช่วง Season รายงานงบ 4Q22 SET คาดแกว่งตัว 1,666-1,691 จุด แนะนำหุ้นวันนี้ PSL

สรุปตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์

ในประเทศ: SET Index ปิด 1681.3 จุด (0.6%) โดยหุ้นที่ขึ้นและหนุนดัชนีหลักๆ คือ TOP +3.88%, IVL +2.5%, BBL +2.5%, SCC +1.8% ส่วนหุ้นที่ลงแรงหลักๆ คือ TFMAMA-2%, TLI -0.7%  ฯลฯ

ต่างประเทศ : ตลาดหุ้นสหรัฐแกว่งตัวออกข้าง ดัชนี Dow Jones 0.08%, S&P500 0.25 %, Nasdaq  0.95% โดย Sector ในดัชนี S&P500 ของสหรัฐปรับขึ้นและลงสลับกัน โดย Consumer Discretionary +2.3%, Real Estate +0.94%,Communication Services +0.88%  ฯลฯ ส่วน Sector ที่ปรับ Underperform คือ กลุ่ม Energy  -1.99%, Health Care -0.7%, Materials -0.34% ฯลฯ

ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้

1.) Gadget sector:  ติดตามการประกาศผลประกอบการของ APPLE และ outlook ในวันที่ 2 ก.พ. ซึ่งคาดว่าจะมีผลต่อทิศทางหุ้นในกลุ่ม Gadget ของไทย (COM7, SPVI, IT, SYNEX) โดยตลาดคาด EPS ใน 1QFY23 ของ APPLE หดตัว 8% YoY เป็น US$1.94/sh จากปัญหา Supply chain disruption ที่เกิดในจีนช่วง Zero-COVID policy ใน 4Q22 ซึ่งมองว่าได้คลี่คลายไปแล้วใน 1Q23

2.) Energy sector:  ติดตามการประชุม OPEC+ ในวันพุธที่ 1 ก.พ. ซึ่งคาดว่าทางกลุ่มจะยังคงมติตามเดิมคือยังผลิตต่ำกว่าระดับ Pre-COVID ประมาณ 2-3 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้ปัจจัยที่จะมีผลต่อทิศทางระดับราคาน้ำมันดิบในระยะถัดไปคืออุปสงค์หลังการเปิดเมืองของจีน, ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซีย และสถานการณ์สงครามรัสเซียยูเครน โดยล่าสุดทาง S&P Global รายงานว่าในเดือน ธ.ค. ทางกลุ่ม OPEC+ มีการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น +0.3% MoM หรือ 140,000 บาร์เรลต่อวัน เป็น 42.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยแบ่งเป็นจากฝั่งสมาชิก OPEC 13 ประเทศจำนวน 28.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 110,000 บาร์เรลต่อวัน และสมาชิกนอก OPEC 10 ประเทศ (รวมรัสเซีย) ทำได้ 13.73 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 30,000 บาร์เรลต่อวัน โดยผลผลิตน้ำมันดิบจากรัสเซียอยู่ที่ 9.86 ล้านบาร์เรลต่อวัน ลดลงเพียง 10,000 บาร์เรลต่อวันแม้ประเทศกลุ่ม G7 จะคุมเพดานราคน้ำมันดิบ Ural ที่ U$60/บาร์เรล นอกจากนี้ให้จับตาค่าการกลั่นหลังน้ำมันสำเร็จรูปจากนโยบายที่ทางยุโรปจะแบนน้ำมันสำเร็จรูปจากรัสเซียในวันที่ 5 ก.พ. ทั้งนี้คาดว่าผลิตภัณฑ์หลักที่ยุโรปนำเข้าจากรัสเซียคือ น้ำมันดีเซลราวๆ 5 แสนบาร์เรลต่อวันจะถูกส่งออกจากรัสเซียไปยังประเทศในแอฟริกา, ละตินอเมริกา และตะวันออกกลาง ขณะที่คาดว่ายุโรปจะนำเข้านำ้มันสำเร็จรูปจากทางซาอุดิอาระเบียแทน

3.) Interest rate sensitive sector:  ติดตามการประชุม Fed และถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell ในคืนวันพุธที่ 1 ก.พ. โดยครั้งนี้ตลาดคาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย 25bps. เป็น 4.50%-4.75% ซึ่งต้องจับตาดูว่าจะมีการส่งสัญญาณเรื่องทิศทางดอกเบี้ยในช่วงที่เหลืออย่างไร หากเฟดส่งสัญญาณหยุดขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 5%+/- อาจมีแรงเก็งกำไรในกลุ่ม Growth หรือกลุ่มที่ sensitive กับดอกเบี้ย ได้แก่ Tech, Electronics, Utilities, Finance, Small-Mid caps เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นไทย : เราคาด SET Index จะแกว่งตัวขึ้นในสัปดาห์นี้ประเมินแนวต้าน 1691 และ 1705 จุด ส่วนแนวรับสำคัญประเมิน 1666 จุด แนะนำทยอยสะสมหุ้น โดยสัปดาห์นี้ปัจจัยที่กำหนด SET Index ในส่วนของภาพใหญ่ คือ เรื่องการประชุม Fed แต่น้ำหนักจะอยู่ที่ปัจจัยในประเทศ คือ การรายงานงบ 4Q22 และการพรีวิวงบของนักวิเคราะห์ สัปดาห์นี้จะมีรายงานงบ อาทิ FTREIT, FPT  โดยการประกาศงบหลักๆคือช่วงตั้งแต่ 10 ก.พ. เป็นต้นไป ทำให้ประเมินว่าในช่วงนี้หุ้นขนาดใหญ่คาดจะแกว่งตัวออกข้าง เนื่องจากไม่ได้มีปัจจัยหนุน โดยประเมินหุ้น Mid-small cap คาดจะ Outperform มากกว่า กลยุทธเรายังแนะนำให้เลือกลงทุนหุ้นที่คาดผลประกอบการจะออกมาดี โดยเน้น หุ้นที่ Earning 4Q22 โต YoY, QoQ และกำไรปี 2023 โต และมีปัจจัยบวกหนุนราคาหุ้นในอนาคต

Theme การลงทุน

1.) หุ้น Mid small cap ที่คาด Earning 4Q22 โต YoY, QoQ และกำไรปี 2023 โตต่อ แนะนำ SNNP, BE8, BBIK, SHR, PLANB

2.)  หุ้น Logistic แนะนำ PSL

ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้ยังแกว่งในกรอบ 1666-1691 จุด หุ้นแนะนำ PSL

Top pick

PSL (ราคาพื้นฐาน 19.2 บาท) ปัจจัยหนุนราคาหุ้นมาจาก

1) การเปิดประเทศจีน

2) อุปทานที่ตึงตังจากยอด orderbook ต่อเรือที่อยู่ระดับต่ำและความเร็วในการเดินเรือที่ลดลงจากหลักเกณฑ์ EEXI ที่จะเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2566 เป็นต้นไป

3) ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่คาดมีโอกาสสงบศึกในปี 2566-67 ซึ่งคาดจะส่งผลให้อุปสงค์สินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นเพื่อจะช่วยให้ยูเครนสร้างประเทศขึ้นมาใหม่หลังได้รับความเสียหายจากสงคราม

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตามตัวเลข GDP 4Q22 ของเยอรมันคาด +0% QoQ และ +1.3% YoY ตัวเลข Economic Sentiment ของยุโรปในเดือน ม.ค.​ คาด 97 จุด (+1.3% MoM)
  • วันอังคาร ติดตามตัวเลขผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของไทยเดือน ธ.ค.​ คาด -5.9% YoY ตามการส่งออกที่ชะลอตัว ตัวเลข NBS Manufactring PMI ของจีนเดือน ม.ค.​ คาด 49.7 จุด (+5.7% MoM) ตัวเลข NBS Non-manufacturing PMI ของจีนเดือน ม.ค.​ คาด 47.3 จุด (+13.7% MoM) ตัวเลข Consumer confidence index ของญี่ปุ่นเดือน ม.ค.​ คาด 30 จุด (ทรงตัว MoM) ตัวเลข GDP 4Q22 ของฝรั่งเศสคาด +0% QoQ และ +0.5% YoY ตัวเลข GDP 4Q22 ของอิตาลีคาด -0.2% QoQ และ +1.4% YoY ตัวเลข GDP 4Q22 ของยูโรโซนคาด +0% QoQ และ +1.8% YoY ตัวเลข Inflation rate ของเยอรมันเดือน ม.ค.​ คาด +1% MoM และ +9.2% YoY ตัวเลขอัตราการว่างงานของเยอรมันเดือน ม.ค.​ คาด 5.5% (ทรงตัว MoM) ตัวเลข S&P/Case-Shiller Home Price เดือน พ.ย.​ คาด -1% MoM และ +6.9% YoY และตัวเลข CB Consumer Confidence ของสหรัฐฯ เดือน ม.ค.​ คาด 109 จุด (+0.6% MoM)
  • วันพุธ ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจไทยโดย ธปท. ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของเกาหลีใต้เดือน ม.ค. คาด -11.5% YoY และ -3.6% YoY (แย่ลงต่อเนื่อง MoM) ตัวเลข Caixin Manufacturing PMI เดือน ม.ค.​ คาด 49.5 จุด (+1% MoM) ตัวเลข Inflation rate ของยูโรโซนเดือน ม.ค.​ คาด +0% MoM และ +9.1% YoY ตัวเลขอัตราการว่างงานของยูโรโซนเดือน ม.ค. คาด 6.5% (ทรงตัว MoM) ตัวเลข ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ​ เดือน ม.ค.​ คาด 48 จุด (-0.8% MoM) ตัวเลขตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัคร (JOLTs Jobs Openings) เดือน ธ.ค.​ คาด 10.2mn (-2.5% MoM) ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รายสัปดาห์ การประชุม OPEC+ คาดคงนโยบายการผลิตตามเดิม การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ​ คาดขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 4.50%-4.75% และถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม การประชุมธนาคารกลางอังกฤษคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 50bps. เป็น 4% การประชุมธนาคารกลางยุโรปคาดปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย Deposit Facility rate 50bps. เป็น 2.5% ถ้อยแถลงของ ​ECB President Lagarde ตัวเลข Factory Orders ของสหรัฐฯ​ เดือน ธ.ค. คาด +2.3% MoM
  • วันศุกร์ ติดตามตัวเลข Caixin Service PMI ของจีนเดือน ม.ค.​ คาด 52 จุด (+8.3% MoM) ตัวเลข ISM Non-manufacturing PMI ของสหรัฐฯ​ เดือน ม.ค. คาด 50.3 จุด (+1.4% MoM) ตัวเลข Non Farm Payrolls ของสหรัฐฯ​ เดือน ม.ค.​ คาด 185K (-17% MoM) ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ​ เดือน ม.ค.​ คาด 3.6% (สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ 3.5%) และตัวเลขอัตราค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯ เดือน ม.ค. คาด +0.3% MoM และ +4.3% YoY
- Advertisement -