บล.เอเซีย พลัส:
กลุ่มพลังงาน: นํ้ามันปิโตรเลียม และโรงกลั่น
ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยวันที่ 23 – 27 ม.ค. 2565 เท่ากับ 80.79 เหรียญ/บาร์เรล ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6%wow ขณะที่ค่าการกลั่น (อ้างอิงตลาดสิงคโปร์) ยังไม่มีรายงานจากแหล่ง Bloomberg อย่างไรก็ตาม หากอิงจากแหล่ง TOP ค่าเฉลี่ยในวันที่ 16 – 20 ม.ค. 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 10.23 จาก 9.33 เหรียญ/บาร์เรล ในสัปดาห์ก่อนหน้า
ราคาน้ำมันดิบ Dubai, Nymex, และ Brent เฉลี่ยปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.6%wow, 0.4%wow, และ 0.8%wow มาอยู่ที่ 80.79, 80.52, และ 86.82 เหรียญ/บาร์เรล ตามลำดับ
ราคานํ้ามันดิบ (+/-)
ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดปิดปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6%wow หลังจาก IEA คาดการณ์ความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกจะฟื้นตัว 1.7 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ระดับ 101.6 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2566 จากความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นในจีนและอินเดีย ขณะที่ปริมาณส่งออกน้ำมันจากรัสเซียในช่วงสิ้นสุด 1Q66 คาดจะลดลง 14% สู่ระดับ 9.6 ล้านบาร์เรล/วัน จากการคว่ำบาตรของนานาประเทศ รวมถึงยังมีรายงานประมาณการ GDP งวด 4Q65 ของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวขึ้นอีก 2.9% ซึ่งสูงกว่าที่คาดไว้ที่ 2.8% นอกจากนี้ EIA เปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ สัปดาห์ล่าสุดที่เพิ่มขึ้นเพียง 0.5 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่คาดไว้ว่าจะเพิ่ม 1 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม ยังมีแรงกดดันจากความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเผชิญกับภาวะถดถอย หลังจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐฯเดือน ม.ค.อยู่ที่ระดับ 46.6 ซึ่งยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเดือนที่ 7 นอกจากนี้ยังต้องติดตามการประชุมของกลุ่ม OPEC+ ในวันที่ 1 ก.พ. โดยนักลงทุนคาดว่า OPEC+ จะคงนโยบายปรับลดกำลังการผลิต 2 ล้าน บาร์เรล/วัน ไปจนถึงสิ้นปี 2566
ค่าการกลั่นระยะสั้น (ยังไม่มีรายงานจาก BLOOMBERG)
ค่าการกลั่นอ้างอิงตลาดสิงคโปร์ยังไม่มีรายงานตัวเลขจาก Bloomberg แต่หากอิงจากแหล่ง TOP ค่าเฉลี่ยในวันที่ 16 – 20 ม.ค. 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 10.23 จาก 9.33 เหรียญ /บาร์เรล ในสัปดาห์ก่อนหน้า โดยสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินและดีเซลเพิ่มขึ้น 4.76 และ 1.18 มาอยู่ที่ 107.57 และ 118.32 เหรียญ/บาร์เรล หนุนจากความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในหลายประเทศที่เพิ่มขึ้น และอุปทานโดยรวมที่ลดลงจากการหยุดซ่อมบำรุงโรงกลั่นของมาเลเซีย และการประท้วงของพนักงานในฝรั่งเศษ
คําแนะนําการลงทุน
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ในภาวะผันผวน จากทั้ง demand และ supply แท้จริง รวมถึงประเด็นบวกและลบต่อราคาน้ำมันที่เกิดขึ้นระหว่างทาง ซึ่งหากพิจารณาภายใต้ demand และ supply ที่แท้จริง ฝ่ายวิจัยยังคงมุมมองที่คาดทิศทางราคาน้ำมันจะมี downside มากกว่า upside เพราะถูกกดดันจาก demand ที่ชะลอตัวตามเศรษฐกิจในภาพใหญ่ โดยกำหนดสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2566 อยู่ที่ 90 เหรียญ/บาร์เรล และระยะยาวตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไปอยู่ที่ 75 เหรียญ/บาร์เรล จากสถานการณ์สงครามที่จะทยอยกลับสู่ภาวะปกติ ความกังกวลด้าน supply ผ่อนคลาย รวมถึงกลุ่ม OPEC คาดกลับมาทยอยผลิตเพิ่มขึ้นสู่ระดับก่อนเกิดโควิด อีกทั้งยังมีเรื่อง recession ของเศรษฐกิจโลกมาเป็นอีกแรงกดดันความต้องการใช้ที่สำคัญ ซึ่งภายใต้สมมติฐานดังกล่าว มูลค่าพื้นฐานของ PTTEP อยู่ที่ 178 บาท/หุ้น และ PTT อยู่ที่ 46 บาท/หุ้น แนะนำหาจังหวะ trading ตามทิศทางราคาน้ำมัน
ในส่วนของค่าการกลั่นนั้น ภาพรวมในปี 2566 กำหนดสมมติฐานกลับสู่ใกล้เคียงระดับปกติ 6-10 เหรียญ/บาร์เรล โดยการปรับตัวทยอยเข้าสู่ Demand และ Supply ที่แท้จริง หลังจากเกิดภาวะผิดปกติในปี 2565 ที่ผ่านมา ดังนั้น ฝ่ายวิจัยยังคงมุมมองโรงกลั่นให้เล่นตามการปรับตัวของค่าการกลั่น และช่วงฤดูกาลเช่นเดิม ซึ่งปกติแล้วค่าการกลั่นจะทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายไตรมาส 4 ยาวต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 1 ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ก่อนที่จะค่อยๆ ปรับตัวลงในไตรมาส 2 เล็กน้อย และจะต่ำสุดในไตรมาส 3 ซึ่งเป็นช่วง low season ภายใต้ไม่มี hurricane ที่รุนแรง
สำหรับ spread ปิโตรเคมี คาดในปี 2565 น่าจะเข้าสู่ภาวะสมดุลระหว่าง demand และ supply มากขึ้น ค่าเฉลี่ย spread ของทุกสายการผลิตรายปีอาจจะไม่แตกต่างจากปี 2564 มาก เพราะในปี 2564 ช่วง 1H64 ถือเป็นช่วงที่ดีมากของปิโตรเคมี จากการ restocking และ supply tight อีกทั้งในปี 2565 คาด Supply น่าจะทยอยเข้าสู่ตลาดมากขึ้นหลังจากสถานการณ์ COVID ผ่อนคลาย โดยฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักกลุ่มปิโตรเคมีเท่าตลาด