บล.เคจีไอ (ประเทศไทย):
Bank Sector: ความเสี่ยงของ NPL ยังมีอยู่จากการเรียกลูกหนี้กลับมาจ่ายหนี้ค้าง
Event
สรุปผลประกอกบการ 4Q65 และอัพเดตแนวโน้ม
Impact
กำไรสุทธิลดลงใน 4Q65 ลดลง แม้ว่ามาร์จิ้นจะเพิ่มขึ้น
NIM ที่ดีขึ้นอย่างมากในไตรมาส 4 ไม่ได้ทำให้กำไรธนาคาดีขึ้น โดยอัตราเติบโตกำไรสุทธิลดลงเฉลี่ย 23% QoQ และ 3% YoY ใน 4Q65 โดยเป็นผลจากกำไรที่ลดลงของ KBANK ในขณะที่ BBL บันทึกขาดทุนทางบัญชีในเงินลงทุนก้อนใหญ่ (FVTPL loss) และ KKP เป็นเพราะ คชจ. สำรองฯ หนี้เสีย (credit cost) เพิ่มขึ้น ส่วนกำไรของ SCB ลดลงเพราะคชจ. ปรับโครงสร้าง อย่างไรก็ตาม กำไรของ KTB และ TISCO ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องใน 4Q65 ทั้งนี้ กำไรรวมเต็มปีของกลุ่มธนาคารยังเพิ่มขึ้น 9.5% นำโดย KTB (+56%) และ TTB (+32%) เนื่องจาก คชจ.หนี้เสีย (credit cost) ลดลง
กำไรจากธุรกิจหลัก +19% YoY ใน 4Q65 และ +9% ใน FY65 เนื่องจาก NIM ดีขึ้น
กำไรจากธุรกิจหลัก (ไม่รวมกำไร ขาดทุน/FVTPL และการตั้งสำรอง) เพิ่มขึ้น 1% QoQ และ 19% YoY ใน 4Q22 และเพิ่มขึ้น 9% ในปี 2565 โดยกำไรของ BBL เพิ่มขึ้นมากที่สุด 1% QoQ และ 81% YoY ใน 4Q65 และเพิ่มขึ้น 32% ในปี 2565 เพราะ NIM ที่เพิ่มขึ้นช่วยหนุน NII รองลงมาเป็น KTB เพิ่มขึ้น 12% และของ KBANK เพิ่มขึ้น 6% ในขณะที่ของธนาคารอื่นๆ โตเป็นเลขหลักเดียวต่ำๆ นอกจากนี้ NII จะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แต่ค่าธรรมเนียมธุรกรรมธนาคารหลักของทั้งกลุ่มลดลงเพราะค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน และ wealth management ลดลงอย่างมาก
แนวโน้ม – credit cost จะยังไม่ลดในปี 2566
ธนาคารต่างๆ เปิดเผยเป้าการเติบโตของปี 2566 ซึ่งบ่งชี้ถึงโหมดการดำเนินงานแบบระมัดระวัง โดยเป้าสินเชื่อของแต่ละธนาคารอยู่ที่ประมาณ 5% ในขณะที่ credit cost จะยังไม่ลดลงเพราะความเสี่ยง NPL ยังสูงอยู่ หรืออาจสูงขึ้นอีก ทั้งนี้ KBANK กลับไปมุ่งขยายสินเชื่อความเสี่ยงต่ำ พร้อมทั้งจะเดินหน้าขายหนี้เสียก้อนใหญ่ไปที่ JK AMC ส่วน SCB เลือกจะขยายสินเชื่อแบบคัดลูกค้าในกลุ่ม yield สูง เพราะเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบคัดกรองสินเชื่อ ในขณะที่ TTB จะเน้นขยายสินเชื่อกลุ่มเช่าซื้อ และเสริมความแข็งแกร่งโครงสร้างพื้นฐานธนาคาร สำหรับ TISCO จะหันไปขยายสินเชื่อ yield สูง และเช่าซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชยต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่ KKP จะชะลอการขยายสินเชื่อ
การเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาอออมทรัพย์ (CASA) จะไปลดทอน NIM ที่เพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่าการขึ้นดอกเบี้ยรอบล่าสุดจะส่งผลดีต่อธนาคารต่างๆ ในแง่ของ yield และ margin ที่เพิ่มขึ้น แต่เราคิดว่าจะไปหักล้างกับการที่ดอกเบี้ย CASA จะขยับสูงขึ้นในการขึ้นดอกเบี้ยรอบต่อๆ ไป โดยสรุปแล้ว เราคาดว่า NIM ของธนาคารขนาดใหญ่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10bps ในปี 2023 ในขณะที่คาดว่า margin ของ KKP และ TISCO จะทรงตัว เรายังคงชอบธนาคารที่มีความเสี่ยงด้าน credit cost ต่ำ อย่างเช่น BBL และให้น้ำหนักกับ SCB เพิ่มขึ้นในแง่ของความสามารถในการบริหารจัดการ risk-reward แต่มองบวกลดลงกับ KTB เนื่องจากมีสัดส่วนเงินฝากบัญชี CASA สูงที่สุด
Risks
NPLs เพิ่มขึ้น และตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, รายได้ค่าธรรมเนียมลดลง, ผลขาดทุน FVTPL จากการลงทุน