บล.กรุงศรีฯ:

INVESTMENT STRATEGY – รายงานเงินเฟ้อเดือนมกราคมอีกหนึ่งชุดที่ดูน่ากังวล

What’s new?

ดัชนีราคาผู้ผลิตของสหรัฐเร่งตัวขึ้น 0.7% mom (6% yoy) ในเดือนมกราคม ซึ่งแข็งแกร่งกว่าที่ consensus คาดเอาไว้ที่ 0.4% และจาก -0.2% ในเดือนก่อนหน้า โดย PPI พื้นฐานก็เร่งตัวขึ้น (0.5%) จากเดือนก่อนหน้า (0.3%) เช่นกัน โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาผู้ผลิต (สินค้าแปรรูป) เพิ่มขึ้นในเดือนนี้คือต้นทุนพลังงานซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 5.4% แต่ในอีกด้านหนึ่ง ตัวเลข Philly Fed Manufacturing กลับออกมาต่ำกว่าประมาณการอย่างมาก โดยหดตัวลงถึง -24.3 จุด จากที่คาดไว้ว่าจะหดตัวเพียง -7.4 จุด โดยไส้ในแย่ลงอย่างมากจากรายงานในเดือนก่อนหน้า ไม่ว่าจะเป็นสภาวะของธุรกิจ (1.7 vs. 4.9), ดัชนี capex (7.5 vs. 10.5), การจ้างงาน (5.1 vs. 10.9) และคำสั่งซื้อใหม่ (-13.6 vs. -10.9)

 

Analysis

ในฝั่งของเงินเฟ้อ ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิตจะทำให้ตลาดเป็นกังวลมากขึ้นกับท่าทีของ Fed เพราะแสดงสัญญาณว่าเงินเฟ้อน่าจะยังร้อนแรงในเดือนต่อ ๆ ไป ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขยอดค้าปลีกซึ่งแสดงสัญญาณว่าอุปสงค์ในประเทศกำลังแข็งแกร่งมากขึ้น เรามองว่าตัวเลข PPI ที่ออกมาล่าสุดนี้เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่จะสนับสนุนให้ Fed ยังคงรักษาท่าที hawkish ต่อไป แต่ในอีกด้านหนึ่ง ตัวเลขของ Philly Fed ที่ออกมาอ่อนแอเกินคาด สวนทางกับตัวเลขล่าสุดของ NY Empire State ที่ออกมาแข็งแกร่งเกินคาดในเดือนมกราคม ทั้งนี้ บางครั้งตัวเลขรายเดือนจาก Fed ทั้งห้าสาขาอาจจะให้ภาพที่สับสนได้ ดังนั้น เราจึงยังต้องรอดูตัวเลขจากอีกสามสาขาเพื่อประเมินสภาวะที่แน่ชัดของเศรษฐกิจสหรัฐในเดือนมกราคม ทั้งนี้ ตลาดการเงินตอบรับตัวเลขที่ออกมาโดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรขยับสูงขึ้น ซึ่งทำให้ US10Yขยับเข้าใกล้ 3.9% ในขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐขยับเข้าไปใกล้ 104 ในขณะที่กำลังเขียนบทวิเคราะห์ฉบับนี้

- Advertisement -