มองเงินเฟ้อสหรัฐสูงกว่าคาด กดดันตลาดหุ้น

กรอบ SET INDEX 1600-1650

Market Outlook

คืนวันศุกร์ที่ผ่านมา สหรัฐฯ รายงานดัชนีราคาด้านการบริโภค (PCE) พบว่าขยายตัว 5.4% YoY สูงกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 5% YoY ขณะที่ Core PCE ขยายตัว 4.7% YoY สูงกว่า Bloomberg Consensus คาดไว้ที่ 4.3% YoY พร้อมกับยอดขายบ้านมือหนึ่งที่ 6.7 แสนหลังคาเรือน สูงกว่า Bloomberg คาดไว้ที่ 6.2 แสนหลังคาเรือน ส่งผลให้นักลงทุนกลับมากังวลกับภาวะดอกเบี้ยในสหรัฐฯ อีกครั้ง สะท้อนผ่านการแข็งค่าของ Dollar Index และการปรับขึ้นของ US Bond Yield มองเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้นเอเชียในต้นสัปดาห์ โดยสถิติแล้วระหว่าง CPI, PCE ส่วนต่างระหว่างกันอยู่ที่ 0.5% ส่วนสัปดาห์นี้ติดตาม (1) ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐฯ ในวันอังคาร Bloomberg คาดที่ 108.5 (2) ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคผลิตในวันพุธ (ISM PMI) Bloomberg คาดการณ์ที่ 47.9 ส่วนในประเทศเน้นที่ (1) การรายงานมูลค่าการค้าระหว่างประเทศประจำเดือน ม.ค. โดย Bloomberg คาดการณ์ว่าจะประกาศในช่วงวันที่ 27 ก.พ. – 1 มี.ค. เบื้องต้นประเมินว่าจะติดลบราว 1.1% YoY และนำเข้า -3.4% YoY หากประกาศแล้วต่ำกว่าคาดจะยิ่งเป็นปัจจัยกดดันตลาดหุ้น (2) โค้งสุดท้ายสำหรับผลประกอบการ 4Q22 ข้อมูลล่าสุดพบว่า SET100 รายงานออกมาแล้วราว 66 หุ้น พบว่า 47% ต่ำกว่า Bloomberg คาดการณ์ 30% เป็นไปตามที่คาดการณ์ 23% ดีกว่าคาดการณ์ Sector ที่ดีกว่าคาดการณ์จะอยู่ใน โรงพยาบาล (BH) สินค้า IT (COM7) สื่อสาร (DTAC) โรงไฟฟ้า (EA, GULF) นิคมอุตสาหกรรม (WHA) โรงแรม (MINT) ส่วนอุตสาหกรรมที่ต่ำกว่าคาดจะอยู่ใน Global Play (โรงกลั่น ถ่านหิน ปิโตรเคมี) สัปดาห์นี้ประเมิน SET เคลื่อนไหวในกรอบ 1600-1650

เชิงกลยุทธ์การลงทุน ตลาดเริ่มปรับฐานลงมาสอดคล้องกับที่เราแนะนำมาตลอดต่อการถือครองเงินสด และยังคงเน้น การถือครองเงินสดสูงต่อไป เนื่องจากยังมองไม่เห็นปัจจัยบวก และ Valuation ก็ค่อนข้างแพง ส่วนรับความเสี่ยงสูงเน้น Trading แนะหุ้นมีปัจจัยบวก อาทิ ท่องเที่ยว (AOT, CENTEL, ERW, MINT, SPA, SHR, VRANDA) สื่อสาร (ADVANC, INTUCH) ส่งออก (ASIAN, TU) ผลบวกเงินบาทอ่อนค่า โรงไฟฟ้า (BGRIM, GPSC, GULF, RATCH) ตามต้นทุนแก๊สที่ปรับลงต่อเนื่อง

หุ้นแนะนําซื้อวันนี้

TU ราคาพื้นฐาน 23.50 บาท

ด้วยธุรกิจของ TU ที่เกี่ยวข้องกับการบริโภค ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารกระป๋องมีราคาต่อหน่วยที่ไม่สูงนัก เราจึงคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจถดถอยไม่มากนัก นอกจากนี้ในส่วนของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง (TU ถือหุ้นใน ITC 78%) ยังคงเห็นการเติบโตได้ต่อเนื่องจากความต้องการที่ยังคงมีอยู่มาก รวมถึงโรงงานใหม่ที่จะเสร็จในช่วงต้นปี 23 จะหนุนความสามารถในการผลิตให้เพิ่มขึ้นได้

VRANDA ราคาพื้นฐาน 9.50 บาท

บริษัทรายงานผลประกอบการ 4Q22 มีกำไรสุทธิที่ 18.6 ล้านบาท (+841%QoQ+47%YoY) หนุนจากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงแรม ตามการผ่อนคลายมาตรการ COVID-19 และการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยแนวโน้มการฟื้นตัวจากนี้เชื่อว่าจะดำเนินต่อเนื่อง เราคาดการณ์กำไรปี 2023 จะขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ Valuation ยังไม่แพงมากนัก ซื้อขายเพียง 1.3x เทียบกับโรงแรมขนาดใหญ่อยู่ที่ 4x

- Advertisement -