สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงต่อเนื่อง ลบต่ำสุดราว -21 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาค โดยนักลงทุนติดตามการรายงาน PCE ของสหรัฐ แรงขายมาจากหุ้นขนาดใหญ่ ทั้งกลุ่ม ค้าปลีก อิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน ไอซีที ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,634.02 จุด -18.45 จุด -1.12% มูลค่าการซื้อขาย 67,192 ลบ. ต่างชาติ -5,122.63 ลบ. TFEX -32,638 สัญญา ตราสารหนี้ -807.09 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 93 เซนต์ หรือ 1.23% ปิดที่ 76.32 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากการคาดการณ์ที่ว่ารัสเซียจะปรับลดการผลิตและการส่งออกน้ำมันในเดือนหน้า แต่ลดลง 0.3% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

+ จีนเรียกร้องให้ยุติการโจมตีในยูเครน โดยมีเป้าหมายเพื่อแสดงตนว่าจีนมีความเป็นกลาง และสามารถช่วยยุติ สงครามที่ยาวนานกว่า 1 ปี ระหว่างรัสเซียและยูเครนได้

+ รมว.คลัง เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ว่าพร้อมที่จะนำเสนอความคืบหน้าของการลงทะเบียนโครงการบัตรคนจนรอบใหม่ในการประชุม ครม.วันที่ 28 ก.พ.นี้

ปัจจัยลบ-

– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 336.99 จุด หรือ -1.02% ร่วงลงในรอบสัปดาห์นี้ราว 3% โดยดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงรายสัปดาห์มากที่สุดในรอบ 5 เดือน เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้น หลังเปิดเผยดัชนี PCE ทั่วไป ดีดตัวขึ้น 5.4%YoY ในเดือนม.ค. และสูงกว่าระดับ 5.3% ในเดือนธ.ค. และ เพิ่มขึ้น 0.6%MoM ใน เดือนม.ค.

– IMF เตือนว่าธนาคารกลางยังคงต้องเฝ้าระวังจนกว่าอัตราเงินเฟ้อจนกว่าจะควบคุมได้อย่างมีเสถียรภาพ เนื่องจากเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักลงทุนและผู้บริโภคในการใช้จ่ายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นรากฐานของการเติบโตทางเศรษฐกิจ

– รมว.กระทรวงการคลังสหรัฐกล่าวหาเจ้าหน้าที่รัสเซียที่เข้าร่วมการประชุม G20 ว่า “มีส่วนรู้เห็น” ในความโหดร้ายของรัสเซียในการรุกรานยูเครน และความเสียหายของสงครามที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

– เกิดภาวะ Invert Yield Curve อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 2 ปี ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.826% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี

– อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า 1Q66 เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูของไทยต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากค่าอาหารสัตว์ ค่าแรง ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่ง ค่ายาเวชภัณฑ์

– ประเทศกัมพูชายืนยันพบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้หวัดนกเป็นรายแรกในรอบ 9 ปี ขณะที่ WHO กำลังทบทวนการประเมินความเสี่ยงทั่วโลก โดยพิจารณาจากสถานการณ์ล่าสุดว่า “น่ากังวล” เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อที่เป็นนกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพิ่มขึ้น สำหรับประเทศไทยปัจจุบันยังไม่พบรายงานผู้ป่วยจากระบบการเฝ้าระวัง

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงตามทิศทางตลาดโลก โดยมีแรงกดดันจากตัวเลข PCE สหรัฐออกมาสูงกว่าตลาด คาด ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้น มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,625- 1,640 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • จีนเปิดประเทศ+เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 : MINT CENTEL ERW SPA AU SHR
  • หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
  • หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC STPI
  • หุ้นเข้าคำนวณ MSCI Global Standard : เข้า BANPU ออก – , MSCI Global Small Cap : เข้า AURA BTG ONEE SNNP และ THCOM ออก BANPU COM7 TIDLOR และ TISCO มีผล 28 ก.พ.น้ี
  • BOI ส่งเสริมการลงทุนช้ินส่วน EV : EA GPSC BCP DELTA PIMO FPI

หุ้นรายงานพิเศษ

ERW (Bloomberg Consensus 5.60) รายงานทําไร 4Q65 ดีที่สุดในรอบ 4 ปี

  • ผลการดำเนินงาน 4Q65 มีรายได้จากการดำเนินงาน 1,733 ลบ. (+35%QoQ และ 180%YoY) กำไรก่อนหักภาษีเงินได้และค่าเสื่อมราคา (EBITDA) จํานวน 587 ลบ. +830 และมีกำไรสุทธิ 240 ลบ. พลิกจากขาดทุนในไตรมาสก่อน นอกจากนี้ถือเป็นกําไรดีที่สุดรายไตรมาส ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2562 โดยได้แรงหนุนจากจํานวนนักท่องเที่ยว 4Q65 ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจํานวน 5.5 ล้านคน หลังจากจีนประกาศเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ ทำให้นักท่องเที่ยวจีนกลับขึ้นมาอยู่ในระดับ Top 5 ของลูกค้า ERW ซึ่งมีสัดส่วนรายได้ประมาณ 6% เทียบกับสัดส่วนรายได้ของนักท่องเที่ยวจีนช่วง Pre COVID-19 (สัดส่วนรายได้นักท่องเที่ยวจีนช่วง Pre COVID-19 อยู่ที่ประมาณ 11%) และในเดือน ม.ค. 66 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ประมาณ 8% ทั้งนี้ ARR เพิ่มขึ้นเป็น 3,017 บาท (+18%QoQ และ82%YoY) และหนุนให้ RevPar ของทุกกลุ่มโรงแรมในไทยยกเว้นกลุ่ม Hop Inn) อยู่ที่ 2,467 บาท (+44%QoQ และ +397%YoY) ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด Occ. Rate เพิ่มขึ้นเป็น 82% จาก 67% ใน Q365 กลุ่มโรงแรม Hop Inn ในประเทศไทยมี Occ, Rate เพิ่มขึ้นเช่นกันเป็น 78% และ Hop Inn ในประเทศฟิลิปินส์มี Occ. Rate เพิ่มขึ้นแตะจุดเดียวกันกับช่วง Pre COVID-19 ทำให้ในปี 2565 บริษัทรายงานรายได้ที่ 4,629 ลบ. +212%YoY และขาดทุนสุทธิ 224 ลบ. ซึ่งลดลงจากขาดทุนสุทธิ 2,050 ล้านบาทในปี 2564
  • ปี 2566 บริษัทตั้งเป้า Occ. Rate ที่ระดับ 75-80%, ARR +20%YoY, RevPar+40%YoY, และ Revenue +45%YoY มีงบลงทุนจํานวน 1,600 ลบ. ใช้สําหรับแผนการพัฒนาโรงแรม Hop Inn ในประเทศไทย 15 แห่ง และฟิลิปปินส์อีก 3 แห่ง และแผนการปรับปรุงโรงแรม ระดับ 3-5 ดาว รวมถึงการปรับปรุงโรงแรม Holiday Inn Pattaya ใน 4Q23-3024
  • ความเห็น มีมุมมองในทางบวกต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ประกอบกับเป็นช่วง High Season คาดว่าผลประกอบการจะเติบโต QoQ ซึ่งในปี 2566 ททท.คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศจํานวน 25 ล้านคน เติบโตต่อเนี่องจาก 11.2 ล้าน คนในปี 2565 บวกกับการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวจีน และโครงการเราเทียวด้วยกันเฟส 5 ซึ่งจะหนุนให้ RevPAR เพิ่มขึ้นตามจํานวนนักท่องเที่ยวที่เข้าพัก

หุ้นมีข่าว

(+) BAM (Bloomberg consensus 20.00 บาท) ลุยสร้างรายได้ประจำ-ปรับโครงสร้างหนี้ เพิ่มพอร์ตขายทรัพย์ NPA แบบเงินผ่อนหนุนผลเรียกเก็บไม่น้อยกว่า 1.78 หมิ่นล้านบาท พร้อมอัดงบ 9 พันล้านบาท ซื้อทรัพย์ NPL-NPA พร้อมพัฒนาเทคโนโลยีหนุนโต ขณะที่ปี 2565 ผลเรียกเก็บทั้ง NPL-NPA โตโดดเด่น มีกำไรสุทธิ 2,724.76 ล้านบาท และผลเรียกเก็บ 1.65 หมื่นล้านบาท แถมจ่ายปันผล 0.55 บาทต่อหุ้น ขึ้น XD วันที่ 2 พฤษภาคม 2566 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) OSP (Bloomberg consensus 32.00 บาท) ตั้งเป้ารายได้-กำไรทั้งปี 2566 โตดับเบิลดิจิต หลังสามารถปรับพอร์ตเครื่องดื่มชูกำลังครอบคลุมทั้งราคา 10 บาท และ 12 บาท มั่นใจสิ้นปีส่วนแบ่งทางการคลาดเติบโต 2% จากฐานไตรมาส 4/2565 เผยศึกษา เข้าซื้อกิจการหลายดิล แย้มสนใจตลาดเครี่องดื่มกาแฟ (ที่มา ทันหุ้น)

(+) WICE (Bloomberg consensus 10.55 บาท) “ชูเดช คงสุนทร” วางเป้ารายได้โตต่อเนื่อง 15- 20% ทำนิวไฮเป็นปีที่ 3 จากปี 2565 มีรายได้ 7,137 ล้านบาท วางงบลงทุน 200 ล้านบาท เดินหน้าเครือข่ายการขนส่ง ขยายธุรกิจคลังสินค้า ประเมินปริมาณการขนส่งปีนี้ ปัจจัยบวกจีนเปิดประเทศ ดันวอลุ่มเพิ่มขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SPALI (Bloomberg consensus 27.80 บาท) เผยลูกค้าจีนเริ่มกลับมาโอนเพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดขาย 2 เดือนแรกพุ่ง ลุยเปิดตัวโครงการใหม่ไตรมาสแรก 5 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 8 พันล้านบาท โชว์แบ็กล็อกหนา 1.9 หมื่นล้านบาท ลั่นยอดขาย-รายได้ปี 2566 ทุบสถิติใหม่ (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • 28 ก.พ. ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
    • กําหนดวันสุดท้ายบริษัทจดทะเบียนส่งงบปี 65
    • สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
  • 7 พ.ค. เลือกตั้ง

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 27 ก.พ. อียูรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือนธ.ค.
    • สหรัฐ รายงานยอดทําสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) เดือนม.ค.
  • 28 ก.พ. ญี่ปุ่น รายงานยอดค้าปลีกเดือนม.ค. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.
    • สหรัฐ รายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือน ม.ค. ดัชนีราคาบ้านเดือนธ.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ.
  • 1 มี.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการ เดือนก.พ.จาก สํานักงานสถิติแห่งชาติ (NBS)
    • อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.พ.จากเอสแอนด์พี โกลบอล
    • สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.พ.จากเอสแอนด์พี โกลบอล สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- Advertisement -