Our View? “พร้อมรีบาวด์”

คาดตลาดวันนี้ “Sideways” มองแนวรับที่บริเวณ 1,610 / 1,600 และแนวต้านที่บริเวณ 1,620 / 1,625 เราประเมินทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยงโลกจะเริ่มแกว่งตัวออกด้านข้าง เพื่อรอดูตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ในคืนนี้ที่คาดจะออกมาเพิ่มขึ้นที่ระดับ 1.95 แสนราย และตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือน ก.พ. (Nonfarm Payroll) คาดจะออกมาที่ระดับ 2.25 แสนราย ชะลอตัวลงบ้าง หลังปรับตัวขึ้นแรงในช่วงเดือน ม.ค. ที่ระดับ 5.17 แสนราย คาดหากออกมาน้อยกว่าคาด อาจจะส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลต่อแนวโน้มการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐได้บ้าง จากการที่เมื่อคืนนี้นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ยังคงกล่าวย้ำถึงความว่าเป็นในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อให้ลดลง และ FED จะติดตามตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เพื่อประเมินการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่เรามองว่าตลาดรับรู้ประเด็นดังกล่าวไปบ้างในระดับหนึ่งแล้ว โดยล่าสุด CME FED Watch Tools ปรับเพิ่มคาดการณ์ FED จะขึ้นดอกเบี้ยที่ระดับ 0.50% ในเดือน มี.ค. ที่ระดับ ราว 80.0%+/- จากก่อนหน้าคาดจะขึ้นที่ระดับ 0.25% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยขึ้นสุดท้ายล่าสุดอยู่ที่ระดับ 5.50- 5.75% ตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย. และคาดจะตรึงอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไปจนถึงสิ้นปีนี้ แม้จะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเร่งตัวขึ้นลดทอนความน่าสนใจของตลาดในภูมิภาคบ้าง แต่เราเริ่มเห็นการชะลอตัวลงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ (US Bond Yield) โดยเฉพาะรุ่นอายุยาวที่เริ่มทรงตัวไม่ปรับตัวขึ้นบ้างแล้ว สะท้อนถึงคาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาวเริ่มเข้าใกล้จุดสิ้นสุดแล้ว มองจะส่งผลให้สินทรัพย์เสี่ยงลดลงด้วยเช่นกัน Downside ของทิศทางราคา

ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI. ส่งมอบเดือน เม.ย. เมื่อคืนนี้ยังคงอ่อนตัวลงปิดที่ระดับ 76.66 ดอลลาร์/บาร์เรล -0.92 ดอลลาร์ (-1.19%) แม้เมื่อคืนนี้สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐรายสัปดาห์ออกมาลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล สวนทางจากที่ตลาดคาดสะท้อนอุปสงค์น้ำมันในสหรัฐยังมีความแข็งแกร่ง อย่างไรก็ตาม ความกังวลแนวโน้ม FED ขึ้นดอกเบี้ยแรงกว่าที่ตลาดคาด อาจส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงลดทอนอุปสงค์น้ำมันในระยะถัดไป คาดจะกดดันทิศทางราคาน้ำมัน-หุ้นในกลุ่มพลังงานอ่อนตัวลงถ่วงตลาดได้บ้างเล็กน้อย

สําหรับปัจจัยในประเทศเรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อการรายงานตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน ก.พ. ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อของไทยออกมาอยู่ที่ระดับ +3.79% YoY ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ระดับ +4.10% YoY และลดลง -0.12% MoM ถือเป็นสัญญาณถึงแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงแล้ว และบ่งชี้ถึงความสามารถในการควบคุมเงินเฟ้อของไทยมองเป็นปัจจัยเชิงบวกต่อทิศทางตลาดหุ้นไทยได้บ้าง อย่างไรก็ดี ยังคงต้องติดตามแรงขายของนักลงทุนต่างชาติอย่างไกลชิด หลังจากที่ค่าเงินบาทเริ่มพลิกกลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เรายังคาดแรงขายของนักลงทุนต่างชาติจะเริ่มลดลงในระยะถัดไปจากการเริ่มเห็นกระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าตลาดตราสารหนี้ของไทย  รวมทั้งเราเริ่มเห็นการกลับมาปรับขึ้นคาดการณ์ EPS ของตลาดหุ้นไทย ในปี’66 จากก่อนหน้าที่มีการปรับลดคาดการณ์กำไรของตลาดลงอยู่เพียง 900 บาท+/- เริ่มเร่งขึ้นกลับไปที่ระดับ 104.0บาท+/- คาดเป็นสัญญาณถึงแนวโน้มโอกาสที่นักลงทุนต่างชาติจะเริ่มชะลอการขาย-กลับเข้าซื้อใหม่อีกครั้งในระยะถัดไป โดยเรายังคงแนะนำทยอยซื้อสะสมหุ้นในบางกลุ่มที่ถึงแม้ผลประกอบการออกมาแย่กว่าคาด แต่มีโอกาสฟื้นตัวขึ้นได้ต่อในปีนี้ อาทิ 1.) หุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า (GPSC, BGRIM และ GULF) และ 2). หุ้นในกลุ่มธนาคาร (KBANK, BBL และ SCB) 3.) กลุ่มปิโตรเคมี (SCC, PTTGC, SCGP และ IVL) เรามองราคาอ่อนตัวลงรับรู้การรายงานผลประกอบการ 4Q′65 ไปบ้างแล้วในระดับหนึ่ง

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะนําวันนี้ “GPSC”

กลยุทธ์ ทยอยซื้อสะสม แนวรับ 65.00 / 64.50 Target 68.00 / 70.00 Stop <64.00

- Advertisement -