สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงต่อเนื่อง แรงขายนำโดยหุ้นกลุ่มพลังงาน ค้าปลีก และอาหาร จากความกังวลการล้มละลายของซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ (SVB) จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของธนาคารและเศรษฐกิจสหรัฐ ประกอบกับนักลงทุนติดตามการรายงาน CPI เทียนก.พ. ของสหรัฐ ซึ่งตลาดคาดที่ +6.0%YoY ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,523.89 จุด -49.18 จุด -3.13% มูลค่าการซื้อขาย 103,833 ลบ. ต่างชาติ -4,727.13 ลบ. TFEX +34,154 สัญญา ตราสารหนี้ +4,400.20 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดพุ่งขึ้น 336.26 จุด หรือ +1.06% นลท.คลายความกังวลหลังจากรัฐบาลสหรัฐและทั่วโลก ออกมาสร้างความเชื่อมั่นว่าจะสามารถควบคุมวิกฤตการณ์ในภาคธนาคาร นอกจากนี้ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่อ่อนแรงลงยังเป็นปัจจัยหนุนการคาดการณ์ที่ว่า FED จะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
+ สหรัฐรายงานดัชนี CPI ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน +6%YoY ในเดือนก.พ. ชะลอตัวจาก +6.2%YoY ในเดือนม.ค. และดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน +5.5%YoY ในเดือน ก.พ. ชะลอตัวจาก +5.6%YOY ในเดือนม.ค.
+ VIX ซึ่งเป็นมาตรวัดความวิตกของนักลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ ร่วงลง 10.52% สู่ระดับ 23.73 เมื่อคืนนี้ หลังพุ่งแตะระดับ 29.03 ในวันจันทร์ โดยหากดัชนีดีดตัวเหนือระดับ 30 จะบ่งชี้ว่าตลาดหุ้นมีความเสี่ยงและมีความผันผวนสูง
+ FED กำลังทบทวนกฎระเบียบเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านเงินทุนและสภาพคล่องที่เข้มงวดมากขึ้น โดยเสริมว่าอาจพิจารณามาตรการต่างๆ เพิ่มเติมสำหรับการทดสอบภาวะวิกฤต (Stress Test) ประจำปี
+ ครม. เห็นชอบแนวทางการดำเนินการและกรอบวงเงินชดเชยตามโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรลูกหนี้ธนาคาร ของรัฐ 4 แห่งกรอบวงเงินรวม 15,481.657 ล้านบาท
ปัจจัยลบ-
– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 3.47 ดอลลาร์ 4.6% ปิดที่ 71.33 ดอลลาร์/บาร์เรล แตะระดับต่ำสุดในรอบ 3 เดือน เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลว่าวิกฤตภาคธนาคารของสหรัฐอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความต้องการใช้นํ้ามัน
– มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ ประกาศปรับลดมุมมองอันดับความน่าเชื่อถือของระบบธนาคารสหรัฐ จาก “มีเสถียรภาพ” สู่ “เชิงลบ”
– จีไอที เปิดเผยว่า การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ไม่รวมทองคําเดือน ม.ค.66 มีมูลค่า 573.45 ล้าน เหรียญสหรัฐฯ ลดลง 1.19% หากรวมทองคำ มีมูลค่า 732.92 ล้านเหรียญฯ ลดลง 4.51% หดตัวต่อเนื่องจาก 4Q65 จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้คู่ค้าไทยหลายประเทศลดการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย รวมถึงวิกฤติพลังงานที่ทำให้กำลังการบริโภคลดลง
– ผู้บัญชาการกองทัพอากาศสหรัฐประจำยุโรปและแอฟริกา เปิดเผยว่า เครื่องบินขับไล่ของรัสเซียได้ยิงโดรนลำหนึ่งของสหรัฐที่ปฏิบัติภารกิจเหนือทะเลดำวันนี้
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันนี้มีโอกาส Rebound ตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยมีแรงหนุนจากตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐที่อ่อน แรง เป็นปัจจัยหนุนให้เฟดจะชะลอการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ขณะที่ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลงแรงยังกดดันหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,520-1,550 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- จีนเปิดประเทศ+เราเที่ยวด้วยกันเฟส 5 : MINT CENTEL ERW SPA AU SHR
- หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
- หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC STPI
- BOI ส่งเสริมการลงทุนชิ้นส่วน EV : EA GPSC BCP DELTA PIMO FPI
- หุ้นปันผลดี : ADVANC TISCO SCB PT SMIT
หุ้นรายงานพิเศษ
PRTR – บริษัท พีอาร์ทีอาร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) SET / PROF (ราคา IPO 7.20 บาท)
- ราคาเหมาะสม consensus 8.00-11.80 บาท PRTR 1) ให้บริการจัดจ้างบุคลากรและให้บริการบริหารทรัพยากรบุคคลแบบครบวงจร 2)ให้บริการสรรหาบุคลากร โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้สมัครงานที่กำลังหางาน และบริษัทที่กำลังหาพนักงานเข้ามาทำงานในส่วนต่างๆ 3) ให้บริการแพลตฟอร์มหางานออนไลน์ 4) ให้บริการฝึกอบรมแบบออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มและออฟไลน์ 5) ให้บริการซอฟแวร์ด้านการบริหารจัดการบุคลากร
- บริษัทมีรายได้ปี 63-65 เท่ากับ 4,866 ลบ. 5,556 ลบ. และ 6,112 ลบ. ตามลำดับ และรายงานผลประกอบการปี 62-65 มีกำไรสุทธิที่ 120 ลบ. 183 ลบ. และ 199 ลบ. ตามลำดับ เนื่องจากการเติบโตของรายได้จากการให้บริการของธุรกิจ Outsource และ Recruitment โดยลูกค้ากลุ่ม Recruitment เริ่มปรับตัวได้ และกลับมาสรรหาพนักงาน โดย %GPM ของธุรกิจ Outsource ค่อนข้างคงที่โดยอยู่ในกรอบ 7.4%-8.2% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของผู้บริหาร เนื่องจากลักษณะธุรกิจ Outsource ทาง PRTR จะเรียกเก็บต้นทุนธุรกิจ Outsource ซึ่งประกอบด้วยค่าตอบแทนพนักงานและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนักงานทั้งหมดจากลูกค้า โดยบวกเพิ่มอัตรากำไรตามกรอบที่กำหนดและตกลงกันในสัญญากับลูกค้า
- จำนวนหุ้น IPO ไม่เกิน 150.0 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 25.0% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้ 0.50 บาทต่อหุ้น โดยราคา IPO คิดเป็น historical P/E ที่ประมาณ 16.3 เท่า คิดเทียบกับ P/E บริษัทที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ SO 28.6x วัตถุประสงค์การระดมทุน 1) เพื่อสำหรับจ่ายคืนหนี้สินเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ไม่มีความ เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาทางการเงิน และ/หรือ ผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย 2) เป็นเงินทุน หมุนเวียน
หุ้นมีข่าว
(+) BGRIM (Bloomberg consensus 46.50 บาท) เผยผ่านคุณสมบัติโครงการพลังงานรัฐ 25 โครงการมากกว่า 500 เมกะวัตต์ พร้อมศึกษาเข้าประมูลเพิ่ม หลังรัฐเปิดอีก 3.6 พันเมกะวัตต์ ดันกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มแตะ 1 หมื่นเมกะวัตต์ คาด EBITDA ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท มองราคาก๊าซธรรมชาติรวมในกรอบ 400-450 บาทต่อ MMBtu โบรกมองกำไรปกติไตรมาส 1/2566 ฟื้นตัว ราคาเป้าหมาย 50 บาทต่อหุ้น (ที่มา ทันหุ้น)
(+) WHA (Bloomberg consensus 4.63 บาท) แย้มค่ายรถอีวีดีลซื้อที่ดินกว่า 300 ไร่ แถมมีโอกาสดึงกลุ่มซัพพลายเชนแบตเตอรีเข้ามาลงทุนเพิ่ม เชื่อเป็นเทรนด์ที่ต้องผลักดัน ขณะที่ภาครัฐให้การสนับสนุนดันไทยเป็นฮับอีวี มั่นใจยอดขายที่ดิน 1,750 ไร่ คงแผนลงทุน 5 ปี (ปี 2566-2570) 6.85 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) TGE (Bloomberg consensus – บาท) ขึ้นแท่นเบอร์ 1 โรงไฟฟ้าขยะชุมชน ได้โครงการอื้อ เล็งขึ้น 5 แห่ง 39.9 เมกะวัตต์ จับตาเมษายนนี้ประมูลโรงไฟฟ้าขยะชุมชนปราจีนบุรี มีสิทธิชนะ แย้มคุยชุมชนเพิ่มอีก 5-6 ดีล ชี้ผลตอบแทนสูง มีแผนเพิ่มมูลค่า คิกออฟสร้างโรงไฟฟ้ากลางปี ดันพอร์ตพุ่งเกินเท่าตัว จาก 29.7 เมกะวัตต์ เป็น 69.9 เมกะวัตต์ ชี้ผลงานไตรมาส 1 รุ่ง ต้นทุนลด รายได้เพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)
(+) GFPT (Bloomberg consensus 15.80 บาท) ต้ังเป้ายอดขายโต 2-3% จากฐานสูง ณ สิ้นปี 2565 รักษาศักยภาพการทากาไรขั้นต้นเฉลี่ยไว้ท่ีราว 14-15% รับต้นทุนวัตถุดิบอาหารเร่งตัวสูงผิดปกติ ราคาพลังงาน-ค่าเงินผันผวนกดดัน กางบลงทุน 1-1.2 พันล้านบาท เดินหน้าขยายโรงเชือดไก่ โรงงานไก่แปรรูปปรุงสุก เพื่อขยายฐานการตลาดรองรับการเติบโตในอนาคต (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 15 มี.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
- สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
- 29 มี.ค. ประชุม กนง. ครั้งที่ 2/2566
- 31 มี.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 7 พ.ค. เลือกตั้ง
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 15 มี.ค. จีน รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือนม.ค.-ก.พ. ยอดค้าปลีกเดือนม.ค.-ก.พ.
- อียู รายงานการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนม.ค.
- สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนก.พ. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยเดือนมี.ค.จากสมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติ (NAHB) สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศ ด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 16 มี.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนก.พ. ดัชนีการผลิต เดือนมี.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย
- 21-22 มี.ค. กำหนดการประชุมธนาคารกลาง สหรัฐ (FED)
- 3 เม.ย. กำหนดการประชุมของกลุ่มโอเปกพลัส เกี่ยวกับนโยบายการผลิตน้ำมัน