Our View? “ยังอยู่กับความอ่อนไหว”

คาดตลาดวันนี้ “Sideways” มองแนวรับที่บริเวณ 1,550 / 1,538 และแนวต้านที่บริเวณ 1,575 / 1,585 คาดตลาดจะกลับมากังวลกับวิกฤตธนาคารในสหรัฐและยุโรปบ้าง หลังจากที่เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา SVB Financial Group บริษัทแม่ของ Silicon Valley Bank (SVB) ได้ขอยื่นล้มละลายต่อศาลนิวยอร์กเพื่อพิทักษ์ทรัพย์ คาดจะสร้างความกังวลต่อแนวโน้มวิกฤตรนาคารในสหรัฐ โดยเฉพาะการถอนเงินจากธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กอีกครั้ง โดยเราเริ่มสังเกตเห็นการเคลื่อนย้ายเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กเข้าสู่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของสหรัฐ ซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐมีโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยรุนแรงได้ (Hard Landing) แม้ว่ากลุ่มธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ของสหรัฐจะรวมกับฝากเงินราว 3 หมิ่นล้านดอลลาร์ให้ธนาคารขนาดกลาง-เล็ก อย่าง First Republic Bank (FRB) เพื่อเสริมสภาพคล่องใน FRB และสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบธนาคารสหรัฐก็ตาม  และภาครัฐของสหรัฐ นำโดยกระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในการจัดตั้งโครงการ Bank Term Funding Program (BTFP) และการสั่งคุ้มครองเงินฝากของผู้ฝากเงินเต็มจำนวนของทั้ง 2 ธนาคารที่มีปัญหาด้านสภาพคล่องแล้วก่อนหน้า คาดจะส่งผลให้ตลาดผันผวนได้อีกครั้ง

สำหรับทางฝากฝั่งวิกฤตธนาคารยุโรป คาดจะเริ่มผ่อนคลายมากขึ้นหลังจากที่ UBS สามารถบรรลุข้อตกลงในการ เข้าซื้อกิจการของ Credit Suisse (CS) ในวงเงิน 3 พันล้านดอลลาร์ โดยที่ธนาคารกลางสวิตเซอร์แลนด์ (SNB) จะให้เงินกู้ยืมเพื่อสนับสนุนที่ราว 1.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มองเป็นการช่วยเหลือเพื่อป้องกันการล้มละลายของ CS และจะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตธนาคารในฝั่งยุโรป คาดจะกระตุ้นความเชื่อมั่นในระบบธนาคารยุโรปกลับขึ้นมาได้บ้าง เป็นบวกต่อทิศทางราคาสินทรัพย์เสี่ยง

ขณะที่สัปดาห์นี้คาดตลาดจะติดตามประชุม FOMC ของ FED อย่างใกล้ชิดเช่นกัน โดยเราคาดว่า FED จะขึ้นดอกเบี้ย ที่ระดับ 0.25% สู่ระดับ 4.75-5.00% และคาดอาจจะเริ่มมีการส่งสัญญาณถึงการลดอัตราดอกเบี้ยลงเร็วกว่าที่ตลาดคาดไว้ หลังจากที่ผลของการใช้ยาแรงในการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของ FED เริ่มส่งผลกระทบเข้าสู่ระบบธนาคารของสหรัฐ มองจะเป็นปัจจัยกดดันทิศทาง Dollar Index อ่อนตัวลง และถือเป็นการเพิ่มกระแสเงินทุนส่วนเกินทางอ้อมเข้าสู่ตลาด หนุนความน่าสนใจในตลาดในภูมิภาครวมถึงหุ้นไทย

รวมทั้งเรามีมุมมองเชิงบวกอ่อนๆ ต่อการที่ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของ ธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 0.25% ให้ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของ RRR หลังการปรับลดสำหรับสถาบันการเงินของจีนอยู่ที่ระดับราว 7.6% มีผลตั้งแต่วันที่ 27 มี.ค. เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับระบบธนาคารเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ คาดจะสามารถช่วยสร้างกระแสเงินทุนส่วนเกินทางอ้อมต่อตลาดในภูมิภาคบ้างเล็กน้อย

ทางด้านราคาสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ส่งมอบเดือน เม.ย. เมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมาปรับตัวลงต่อปิดที่ระดับ 66.74 ดอลลาร์/บาร์เรล -1.61 ดอลลาร์ หรือ -2.36% จากความกังวลวิกฤตธนาคารสหรัฐอาจส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยเช่นกัน มองเป็นปัจจัยกดดันทิศทางราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานต้นน้ำปรับตัวลงถ่วงตลาดได้บ้าง อย่างไรก็ตามเรามีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า (GPSC, BGRIM และ GULF) ในแง่ต้นทุนที่ถูกลง รวมทั้งค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่าขึ้นอีกครั้ง

สําหรับปัจจัยในประเทศเรายังคงมองตลาดหุ้นไทยเผชิญแรงขายจากการ Panic ในวิกฤตธนาคารในสหรัฐมากเกินไป ขณะที่หุ้นในกลุ่มธนาคารฯ (KBANK, SCB, BBL, KTB และ TTB) ที่โดนขายออกมามาก ส่วนใหญ่คาดมาจากแรง Panic ของตลาด โดยเรายังมุมมองธนาคารพาณิชย์ของไทยมีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยระบบธนาคารไทยในช่วงสิ้นปี’65 มีสภาพคล่อง (LCR) กว่า 197.0% และมีอัตราตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) สูงถึง 19.4% อีกทั้ง ธปท. รายงานปริมาณธุรกรรมโดยรวมของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยใน Fintech และ Startup ทั่วโลกมีน้อยกว่า 1% ของเงินกองทุนของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ คาดจะได้รับผลกระทบที่จํากัดมากๆ จากวิกฤตรนาคารในสหรัฐ-ยุโรป เรามองเป็นโอกาสในการเข้าสะสมเมื่อปรับตัวลง สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ สำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำแนะนำหลีกเลี่ยงการลงทุนออกไปก่อน หรือสะสมหุ้นในกลุ่ม Defensive อาทิ หุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า (GPSC, BGRIM และ GULF)

ธีมการลงทุน “Selective Play”

หุ้นแนะน่าวันนี้ “KBANK”

กลยุทธ์ ซื้อเมื่ออ่อนตัว แนวรับ 127.50 / 126.00 Target 135.00 / 145.00 Stop <124.00

- Advertisement -