KS Daily View 20.03.2023 >>> การยุบสภามีผลวันนี้ ติดตามผลประชุม Fed กลางสัปดาห์ SET คาดแกว่งตัวในกรอบ 1,555-1,570 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BGRIM
สรุปตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์
ในประเทศ: SET Index ปิดบวกเล็กน้อยที่ 1563.67 จุด (0.58%DoD) โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรง คือ PTTEP +3.31%, DELTA +2.47% BBL +2.7%, TRUE +2.5% เป็นต้น หุ้นที่ปรับตัวลงแรง ได้แก่ BEM -5.06%, SCGP -3.66%, MAKRO -3.31%, EA -1.7% เป็นต้น
ต่างประเทศ: ดัชนี Dow Jones -1.19%DoD, ดัชนี S&P500 -1.1%DoD, NASDAQ -0.74% โดย Sector ในดัชนี S&P500 ปรับลงทุก Sector โดยกลุ่มที่ลงแรงสุดคือ Financials -3.3%, Real Estate -2.2%, Industrial -1.63%, ส่วนกลุ่มที่ Outperform อาทิ IT -0.11%, Communication Services -0.47%
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: KS ประเมินสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยคาดจะแกว่งตัว Sideway up ในกรอบ 1555 -1585 จุด ประเมินภาพใหญ่ Flow ต่างชาติมีโอกาสชะลอการขายจาก Dollar ที่มีแนวโน้มแกว่งตัวอ่อนค่าลง ปัจจัยหนุนจาก Glidlock ทางการเมืองจากฝั่งสหรัฐ และคาด Fed มีโอกาสผ่อนคันเร่งชะลอขึ้นดอกเบี้ยในอนาคต แต่ประเมินแนวต้านสำคัญ SET index คาดไม่ผ่าน 1600 จุด ประเมินหากตลาดย่อลงมาเป็นจังหวะทยอยสะสมหุ้นอีกครั้ง โดยเราประเมิน Key สำคัญที่กำหนดทิศทางตลาดหุ้นคือ22 ประชุม Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 25Bps ตามคาดหรือไม่ หลักๆเราให้น้ำหนัก Dotplot คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของ Fed ในปีนี้ จะออกมาในโทน Dovish มากขึ้นหรือไม่ หรือจะยัง Hawkish เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ แม้จะมีปัญหาฝั่งภาคธนาคาร อาทิ SVB เชื่อว่า Fed จะชั้งน้ำหนักเลือกระหว่างเงินเฟ้อสหรัฐ ประเมินหลังประชุม Fed จะกำหนดทิศทางตลาดหุ้นไทยอีกครั้ง
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน
1.) Fed Meeting คืนวันพุธ ติดตามการประชุม FOMC คืนวันพุธ Key สำคัญแนะนำให้ติดตามการส่งสัญญาณทิศทางดอกเบี้ยในอนาคตอย่างไรหลังเกิดเหตุ Bank run ในสหรัฐฯ ขณะที่เงินเฟ้อยังทรงตัวสูงจากหมวดบริการ นอกจากนี้ต้องจับตาประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจย โดยตัวเลขคาดการณ์เมื่อเดือนธันวาคมของ GDP ปี 2023 อยู่ที่ +0.5% และ Core PCE อยู่ที่ 3.5% โดยประเมินเป็น 2 Scenario คือ
1.) Fed ส่งสัญญาณเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าตลาดคาดจะกดดันตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลง มองกลุ่ม Defensive ได้แก่ โรงพยาบาล, โรงไฟฟ้า และ Consumer staple จะ outperform
2.) กรณี Fed ส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยใกล้พีค และพร้อมลดดอกเบี้ยในอนาคต มองตลาดหุ้นจะปรับตัวขึ้นแรง โดยเฉพาะหุ้น Growth stock และกลุ่มที่อ่อนไหวต่อดอกเบี้ย เช่น Finance, โรงไฟฟ้า, REITs เป็นต้น
2.) Thailand Election โดยเมื่อวันศุกร์ นายกรัฐมนตรีไทยประกาศยุบสภา ซึ่งมีจะมีผลวันนี้และภายใน 60 วันหลังจากนี้จะเห็นการจัดการเลือกตั้ง คือ เดือน พ.ค. โดยรวมถือว่า Inline กับที่คาดกันในช่วงก่อนหน้า โดย หากอิงจากสถิติในอดีต อาทิ ในปี 2543, 2549, 2554 และ 2556 โดย ในช่วง 1 เดือนก่อนเลือกตั้ง SET Index จะปรับขึ้นเฉลี่ย 3.82% มุมมอง KS เราประเมินหลังจากนี้กระแสหุ้นเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งคาดจะมีกระแสบวก อาทิ กลุ่มอสังหา SC, SIRI กลุ่มค้าปลีก อาทิ CPALL กลุ่มการเงิน อาทิ AEONTS ฯลฯ
3.) สถานการณ์ความตึงเครียดรัสเซีย- ยูเครนจะผ่อนคลาย ? ตลาดให้น้ำหนัก 20-22 มี.ค. ปธน.สีจิ้นผิงเดินทางเยือนรัสเซีย ประเมินว่าจะสามารถเจรจาให้เกิดการหยุดยิงระหว่างรัสเซีย-ยูเครนได้หรือไม่ หากมีสัญญาณสงบศึก และเกิดการบูรณะยูเครนมองจะเป็นบวกกับกลุ่มเดินเรือประเภท Drybulk อาทิ PSL
4.) ตัวเลขส่งออกและนำเข้ามีความสำคัญ ติดตามตัวเลขส่งออกเดือน ก.พ. ที่จะประกาศวันที่ 23 มี.ค. คาด -5.1% YoY ทั้งนี้ต้องจับตาผลกระทบทางอ้อมหากเศรษฐกิจสหรัฐ ยุโรปชะลอ ทำให้ไทยส่งออกได้น้อยลง ซึ่งผลกระทบต่อการส่งออกนั้นน่าเป็นห่วง เนื่องจากมีสัดส่วนมากกว่า 50% ของจีดีพี นอกจากนี้ด้วยแนวโน้มที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ อาจต้องผ่อนคลายนโยบายการเงินในอนาคตหากจำเป็นเพื่อประคับประคองระบบสถาบันการเงิน กอปรกับเกิด gridlock ในการใช้นโยบายการคลังที่เสี่ยงจะเกิดปัญหา government shutdown ทำให้เงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่า และบาทแข็งค่า มองว่าหุ้นที่ link กับภาคการส่งออกจะยังอยู่ในทิศทางชะลอตัวต่อจากแรงกดดัน
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ แนะนำ Theme การลงทุนในกลุ่ม
1.) หุ้น Defensive ในช่วงที่ตลาดผันผวน คือ
1.1) กลุ่มโรงไฟฟ้า แนะนำ BGRIM ราคาพื้นฐาน 64.5 บาท คาดกำไร 1Q23 เติบโตต่อได้กระแสบวกจาก Bond Yields ปรับลง และเงินบาทแข็งค่า
1.2) กลุ่มโรงพยาบาล แนะนำ BCH ราคาพื้นฐาน 23.8 บาท คาดมีปัจจัยบวกหนุนจากในเดือน เม.ย. คาดการปรับอัตราค่าบริการเหมาจ่าย SSO จะถูกปรับขึ้น 8-10%
2.) หุ้นที่ได้ปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจโลกยังเติบโต Prob recession ลดลง คือ กลุ่มเรือเทกอง แนะนำ PSL ราคาพื้นฐาน 18.5 บาท
3.) หุ้นที่ราคาอยู่ในโซนล่าง และมีปัจจัยบวกจากกระแสการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น กลุ่มค้าปลีก แนะนำ CPALL ราคาพื้นฐาน 73.5 บาท
ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1555 – 1570 จุด หุ้นแนะนำ BGRIM
Top pick : BGRIM (ราคาพื้นฐาน 64.5 บาท)
1.) เป็นหุ้น Defensive ในช่วงที่ตลาดผันผวน
2.) คาดได้ปัจจัยบวกจาก Bond Yields ที่ปรับลง
3.) ทิศทางการเติบโตของกำไร 1Q23 จะเติบโต QoQ
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันจันทร์ ติดตามตัวเลข Loan Prime Rate 1 ปีของจีนคาดคงดอกเบี้ยที่ 3.65% ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของเยอรมัน เดือน ก.พ. คาด +16.7% YoY
- วันอังคาร ติดตามตัวเลข Zew Economic Sentiment Index เดือน มี.ค. คาด 18.9 จุด (-33% MoM) และตัวเลข Existing Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด 4.17mn (+4% MoM)
- วันพุธ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของอังกฤษ เดือน ก.พ. คาด +9.6% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +10.1% YoY) ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps. เป็น 4.75-5.00% และ Terminal rate คาดอยู่ที่ 5.00-5.25% ใน 2Q23 โดยต้องจับตาว่าเฟดจะส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งเรามองว่ามีโอกาสน้อย เพราะเงินเฟ้อยังยืนสูง แม้เกิดความเสี่ยงในระบบสถาบันการเงินสหรัฐฯ จากปัญหา SVB แต่เบื้องต้นปัญหาได้คลี่คลายไปแล้วหลังเฟดตั้งกองทุนเป็น backstop ทั้งนี้ตลาด Fed funds futures ได้คาดการณ์ไปแล้วว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย 1% +/- ในช่วง 2H23
- วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน ก.พ. คาด -5.1% YoY และ +2.0% YoY ดุลการค้าของไทยเดือน ก.พ. คาด -US$1,150mn (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -US$4,650mn) การประชุมธนาคารกลางอังกฤษคาดขึ้นดอกเบี้ย 25bps. เป็น 4.25% ตัวเลข Eurozone consumer confidence flash เดือน มี.ค. คาด -18.3 จุด (ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -19 จุด) ตัวเลข Initial Jobless Claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ตัวเลข New home sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด 0.64mn (-4.5% MoM)
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเดือน ก.พ. คาด 3.3% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.3% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นเดือน ก.พ. คาด 3.1% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.2% YoY) ตัวเลข Gfk Consumer Confidence ของอังกฤษ เดือน มี.ค. คาด -36 จุด (ดีขึ้นจาก -38 จุด เดือนก่อนหน้า) ตัวเลข Jibun Manufacturing PMI ของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด 48.8 จุด (+2.3% MoM) ตัวเลข Jibun Service PMI ของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด 52 จุด (-3.7% MoM) ตัวเลข Retail sales ของอังกฤษ เดือน ก.พ. คาด +1.2% MoM ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของเยอรมัน เดือน มี.ค. คาด 47 จุด (+1.5% MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของเยอรมัน เดือน มี.ค. คาด 51.2 จุด (+0.6% MoM) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 49 จุด (+1.0% MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 52.5 จุด (flat MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 47.3 จุด (flat MoM) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 50.3 จุด (flat MoM) และตัวเลข Durable Goods orders ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +1.7% MoM