KS Daily View 22.03.2023 >>> SET คาดแกว่งตัวขึ้นต่อ รัฐบาลสหรัฐฯ เตรียมออกมาตรการช่วยเหลือธนาคารเพิ่มเติม SET คาดซื้อ-ขายในกรอบ 1,570-1,585 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ HENG
สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้
ดัชนี DJIA +1.58%, S&P 500 +1.30%, NASDAQ +0.98% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P 500 ได้แก่ Consumer Discretionary (+2.71%), Financials (+2.54%), Communication Services (+2.45%) เป็นต้น Sector ที่ underperform ใน S&P 500 ได้แก่ Utilities (-2.05%), Real Estate (-0.66%), Consumer Staples (-0.12%) เป็นต้น ในประเทศ: SET Index ปรับตัวขึ้น +21.73 จุด หรือ +1.4% ปิดที่ 1,577.18 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรง ได้แก่ TRUE (+4.4%), INTUCH (+3.5%), GULF (+3.0%), BANPU (+2.9%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ SC (-5.0%), SIRI (-4.2%), WHA (-1.9%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ : เราประเมินสัปดาห์นี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัว Sideway up ในกรอบ 1555-1585 จุด โดยการประชุมเฟดรอบนี้จะมีนัยยะต่อการกำหนดทิศทางตลาดหุ้น เบื้องต้นเราคาดว่าอาจเห็นเฟดเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 25bps เป็น 4.75-5.00% ในขณะที่เริ่มกล่าวถึงผลกระทบต่อภาคธนาคารจากกรณีของธนาคาร SVB ที่ได้รับผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดในรอบนี้ ซึ่งหากมีการปรับลดประมาณการดอกเบี้ย ณ สิ้นปีลงเป็นครั้งแรกในรอบหนึ่งปีจากระดับปัจจุบันที่ 5.1% หรือใช้คำพูดในลักษณะ Data Dependent พร้อมปรับเป้าหมายเงินเฟ้อในปีนี้ลง เราคาดว่าตลาดหุ้นจะตอบรับในเชิงบวก, ค่าเงินดอลลาร์ และ Bond Yield จะอ่อนค่า มีโอกาสที่ SET จะทะลุ 1600 จุด อย่างไรก็ตามหาก FED เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50bps หรือพิจารณาลดดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้ (ซึ่งเราให้น้ำหนักน้อย) คาดตลาดหุ้นจะตอบรับในเชิงลบทั้ง 2 กรณี
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน
1.) รมว.คลังสหรัฐฯ Janet Yallen กล่าวว่าทางรัฐบาลพร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือธนาคารขนาดกลางและเล็กในสหรัฐฯ หากจำเป็น โดยจะให้ความช่วยเหลือผู้ฝากเงินในธนาคารอื่นๆเช่นเดียวกับที่ช่วยอุ้มผู้ฝากเงินของ SVB ซึ่งปัจจุบันทางสถาบันประกันเงินฝากกำลังพิจารณาปรับเพิ่มวงเงินการค้ำประกันจากเดิมที่ US$250,000 หรืออาจคุ้มครองทั้งจำนวน หนุนหุ้นธนาคารในสหรัฐฯปรับตัวขึ้นแรง
2.) ราคาบ้านมือสองในสหรัฐฯ ปรับตัวลง -0.2% YoY ในเดือน ก.พ. 2023 เป็น US$363,000 ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปีที่ราคาบ้านหดตัวจากปีก่อนหน้า เนื่องจากอุปสงค์ที่ชะลอตัวจากดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และคาดว่าแนวโน้มราคาบ้านจะชะลอตัวต่อหลังเหตุการณ์ Bank run ในสหรัฐฯ ทำให้ธนาคารมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้น การที่ราคาบ้านลดลงคาดจะช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ ทำให้มีโอกาสที่เฟดจะชะลอความเข้มงวดของนโยบายการเงินลง
3.) สำนักข่าวข่าวหุ้นรายงานว่า บลจ. 3 แห่ง (SCBAM, KTAM, TISCOAM) ได้ออกขาย “ทริกกอร์ ฟันด์” หุ้นไทย โดยตั้งเป้าผลตอบแทน 5%-6% ในช่วงดัชนีปรับฐาน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่ากองทุนไทยมองว่าระดับดัชนีหุ้นไทยในปัจจุบันอยู่ในจุดที่น่าลงทุน ทั้งนี้นักลงทุนสถาบันมีสถานะซื้อสุทธิหุ้นไทย 1.16 หมื่นลบ.ในเดือน มี.ค. และ 1.1 พันลบ. YTD
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
แนะนำ หุ้น Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม หรือหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวหนุนให้สามารถ outperform ตลาดได้ ได้แก่
1.) กลุ่ม ICT คาดว่าจะเป็นกลุ่มผลักดันการปรับขึ้นของดัชนีในรอบนี้ แนะนำ ADVANC ราคาพื้นฐาน 233.85 บาท และ TRUE ราคาพื้นฐาน 10.32 บาท
2.) กลุ่มโรงไฟฟ้า แนะนำ BGRIM ราคาพื้นฐาน 64.5 บาท และ GULF ราคาพื้นฐาน 54.50 บาท ได้กระแสบวกจาก Bond Yields ปรับลง และเงินบาทแข็งค่า
3.) กลุ่มโรงพยาบาล แนะนำ BCH ราคาพื้นฐาน 23.8 บาท คาดมีปัจจัยบวกหนุนจากในเดือน เม.ย. คาดการปรับอัตราค่าบริการเหมาจ่าย SSO จะถูกปรับขึ้น 8-10%
4.) กลุ่มค้าปลีก แนะนำ CPALL ราคาพื้นฐาน 73.5 บาท ราคาหุ้นอยู่ในโซนล่าง และมีปัจจัยบวกจากกระแสการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น
5.) กลุ่มเรือเทกอง แนะนำ PSL ราคาพื้นฐาน 18.5 บาท ค่าระวางฟื้นตัวจากการเปิดเศรษฐกิจของจีน และหากสงครามรัสเซีย-ยูเครนจบ ต้องบูรณะยูเครนจะมีความต้องการเรือเทกองมาก
ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้คาดแกว่งในกรอบ 1,570 – 1,585 จุด หุ้นแนะนำ HENG
Top pick : HENG (ราคาพื้นฐาน 3.80 บาท) คาดหุ้นกลุ่มการเงินจะฟื้นตัวหลังนักลงทุนคลายวิตกกังวลเรื่องวิกฤตสถาบันการเงินหลังธนาคารทั่วโลกเข้ามาแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้หากเฟดมีการส่งสัญญาณชะลอการขึ้นดอกเบี้ยจะหนุนให้ Bond yield ลดลงหนุน sentiment บวกต่อ sector ด้วย ในแง่ bottom up เรามองว่า HENG น่าสนใจในมุมเป้าการเติบโตของสินเชื่อ 30% และคาดจะคุม NPL ไม่เกิน 3% ทรงตัว YoY คาดกำไรปี 2566 โต 30.5% เทียบ P/E ที่ 14x
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันพุธ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของอังกฤษ เดือน ก.พ. คาด +9.6% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +10.1% YoY) ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ และการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25bps. เป็น 4.75-5.00% และ Terminal rate คาดอยู่ที่ 5.00-5.25% ใน 2Q23 โดยต้องจับตาว่าเฟดจะส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งเรามองว่ามีโอกาสน้อย เพราะเงินเฟ้อยังยืนสูง แม้เกิดความเสี่ยงในระบบสถาบันการเงินสหรัฐฯ จากปัญหา SVB แต่เบื้องต้นปัญหาได้คลี่คลายไปแล้วหลังเฟดตั้งกองทุนเป็น backstop ทั้งนี้ตลาด Fed funds futures ได้คาดการณ์ไปแล้วว่าเฟดจะลดดอกเบี้ย 1% +/- ในช่วง 2H23
- วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน ก.พ. คาด -5.1% YoY และ +2.0% YoY ดุลการค้าของไทยเดือน ก.พ. คาด -US$1,150mn (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -US$4,650mn) การประชุมธนาคารกลางอังกฤษคาดขึ้นดอกเบี้ย 25bps. เป็น 4.25% ตัวเลข Eurozone consumer confidence flash เดือน มี.ค. คาด -18.3 จุด (ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -19 จุด) ตัวเลข Initial Jobless Claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ ตัวเลข New home sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด 0.64mn (-4.5% MoM)
- วันศุกร์ ติดตามตัวเลขเงินเฟ้อของญี่ปุ่นเดือน ก.พ. คาด 3.3% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.3% YoY) ตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของญี่ปุ่นเดือน ก.พ. คาด 3.1% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 4.2% YoY) ตัวเลข Gfk Consumer Confidence ของอังกฤษ เดือน มี.ค. คาด -36 จุด (ดีขึ้นจาก -38 จุด เดือนก่อนหน้า) ตัวเลข Jibun Manufacturing PMI ของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด 48.8 จุด (+2.3% MoM) ตัวเลข Jibun Service PMI ของญี่ปุ่น เดือน มี.ค. คาด 52 จุด (-3.7% MoM) ตัวเลข Retail sales ของอังกฤษ เดือน ก.พ. คาด +1.2% MoM ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของเยอรมัน เดือน มี.ค. คาด 47 จุด (+1.5% MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของเยอรมัน เดือน มี.ค. คาด 51.2 จุด (+0.6% MoM) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 49 จุด (+1.0% MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 52.5 จุด (flat MoM) ตัวเลข S&P Global Service PMI ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด 47.3 จุด (flat MoM) ตัวเลข S&P Global Manufacturing PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 50.3 จุด (flat MoM) และตัวเลข Durable Goods orders ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +1.7% MoM