ตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์

SET Index ลบ 2 จุด (-0.11%) ปิดที่ 1,592 จุด มูลค่าการซื้อขาย 4.5 หมื่นล้านบาท กังวลเสถียรภาพของภาคธนาคารในยุโรป

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้

ประเมิน SET แกว่งตัว 1,580 – 1,600 จุด ความกังวลสถานการณ์ธนาคารในต่างประเทศยังคงกดดันโดยล่าสุด Credit Default Swap (CDS) ธนาคารดอยซ์แบงก์ของเยอรมนีพุ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี อีกทั้ง Fund flow ต่างชาติที่ไหลออกต่อเนื่องเป็นลบต่อภาวะตลาด อย่างไรก็ตามแรงซื้อ Window dressing ปิด NAV 3Q23 ในสัปดาห์นี้รวมถึงหุ้นที่มีข่าวเฉพาะตัวจะช่วยหนุนให้ดัชนีสลับรีบาวด์ขึ้นได้

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • GPSC BGRIM GULF ROJNA SCGP SCC TASCO CBG OSP ต้นทุนพลังงานอ่อนตัวลง
  • BDMS BCH INTUCH ADVANC กลุ่ม Defensive ช่วงดัชนีผันผวน
หุ้นแนะนำวันนี้
  • ERW (ปิด 5.05 ซื้อ/เป้า BB Consensus 5.52 บาท) ได้อานิสงค์จากต้นทุนค่าไฟที่ลดลง และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่มียอดนักท่องเที่ยวสะสม (1ม.ค. – 19 มี.ค.) อยู่ที่ 5.6 ล้านคน นักท่องเที่ยวจีนขยับเป็นอันดับที่ 3
  • BGRIM (ปิด 40.50 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 48 บาท) ได้อานิสงส์ราคาพลังงานปรับตัวลง สัปดาห์หน้ามีประเด็นให้เก็งกำไรภาครัฐประกาศรายชื่อผู้ชนะประมูลโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน 5,200MW

บทวิเคราะห์วันนี้: ALLY (Prompt Act)

ประเด็นสำคัญวันนี้

(-) นักลงทุนยังกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของธนาคารในยุโรป: หุ้นของ Deutsche Bank ร่วงหนัก ขณะที่ต้นทุนประกันความเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ของธนาคาร (CDS) เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี ส่วน CDS ของธนาคารรายใหญ่ๆ ในยุโรปปรับตัวขึ้น สะท้อนความไม่เต็มใจแบกรับความเสี่ยงของนักลงทุน

(+) S&P global ประกาศตัวเลข PMI เบื้องต้นเดือนมี.ค. ภาคบริการฟื้นตัวดีกว่าคาด: US PMI ภาคบริการเบื้องต้นเพิ่มขึ้น 3.2 จุด สู่ระดับสูงสุดในรอบ 11 เดือนที่ 53.8 ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ลดลงเป็น 50.3 ในทำนองเดียวกัน ดัชนียูโรโซนเพิ่มขึ้นจาก 52.7 เป็น 55.6 ส่วนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจาก 54.0 เป็น 54.2

(-) คาดส่งออกเดือนก.พ. ยังชะลอตัวต่อ: กระทรวงพาณิชย์จะมีการรายงานตัวเลขส่งออก/นำเข้าไทยเดือนก.พ.ในช่วง 27 – 31 มี.ค. Bloomberg consensus คาด -7%yoy สำหรับการส่งออก  และ +2% yoy สำหรับนำเข้า

ข่าวในประเทศและต่างประเทศ

สรุปข่าวเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ

ไทย

(+) ภาวะเศรษฐกิจภาคการเกษตรไตรมาส 1/66 (ม.ค.-มี.ค.66) ขยายตัว 5.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 65 โดยมีมูลค่ากว่า 1.82 แสนล้านบาท

สหรัฐ

(+) ประธานเฟดระดับภูมิภาค 3 รายเชื่อมั่นว่าระบบธนาคารไม่ได้เผชิญกับวิกฤตสภาพคล่อง ทําให้เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมที่ผ่านมา

ยุโรป

(-) Credit Default Swap (CDS) ซึ่งเป็นอนุพันธ์ป้องกันความเสี่ยงจากการผิดนัดชําระหนี้ของดอยช์แบงก์พุ่งสูงสุดในรอบ 4 ปี

เอเชีย

(+/-) ญี่ปุ่น – อัตราเงินเฟ้อท่ัวไป ก.พ.อยู่ที่ระดับ 3.3% จาก 4.3% ในม.ค. และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ระดับ 3.1% ลดลงจาก 4.2% ในเดือน ม.ค.

- Advertisement -