KS Daily View 29.03.2023 >>> คาด กนง. ขึ้นดอกเบี้ย 25bps. จบรอบขึ้นดอกเบี้ยไทย มี.ค. SET คาดรอบนี้ขึ้นเป็น 1,630 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ HENG
สรุปภาวะตลาดวานนี้
ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA -0.12%, S&P 500 -0.16%, NASDAQ -0.45% โดย Sector ที่outperform ใน S&P 500 ได้แก่ Energy (+1.45%), Industrials (+0.54%), Materials (+0.50%) เป็นต้น Sector ที่ underperform ใน S&P 500 ได้แก่ Communication Services (-1.02%), Healthcare (-0.57%), IT (-0.46%) เป็นต้น
ในประเทศ: SET Index ปรับตัวขึ้น +13.54 จุด หรือ +0.85% ปิดที่ 1,606.91 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรง ได้แก่ TTB (+5.07%), PTTEP (+4.17%), FORTH (+3.85%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ XPG (-2.68%), CENTEL (-2.17%), DELTA (-1.41%) เป็นต้น ในประเทศ: SET Index ปรับตัวขึ้น +13.54 จุด หรือ +0.85% ปิดที่ 1,606.91 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรง ได้แก่ TTB (+5.07%), PTTEP (+4.17%), FORTH (+3.85%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ XPG (-2.68%), CENTEL (-2.17%), DELTA (-1.41%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: เราปรับกรอบด้านบน SET Index รอบนี้ขึ้นจาก 1596 เป็น 1630 จุดจากปัญหาสถาบันการเงินในสหรัฐฯระยะสั้นยังไม่ลุกลามต่อ และราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวหนุนราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตามเรามองว่าโอกาสที่ตลาดจะปรับตัวขึ้นแรงๆเป็นไปได้ยาก เพราะตัวเลข GDP และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน1Q23 ยังดูคลุมเครือ อีกทั้งคาดว่านักลงทุนต่างชาติจะยังรอดูผลการเลือกตั้งในเดือน พ.ค. ก่อนตัดสินใจ โดยนักลงทุนต่างชาติมีสถานะซื้อสุทธิวานนี้ที่ 1,284 ลบ. และกลับมามีสถานะ net long SET50 index 17,509 สัญญา มองเป็นการขายทำกำไร โดยล่าสุดสถานะ Short สะสมของต่างชาติยังสูงอยู่ที่ 1.5 แสนสัญญา YTD โดยตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขการส่งออกของไทยเดือน ก.พ., การประชุม กนง., ตัวเลขเงินเฟ้อของยุโรป, และตัวเลขการผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน เป็นต้น โดยรวมในเชิงกลยุทธ์ยังแนะนำเลือกหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ และราคาหุ้นอยู่ในโซนล่าง
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) วันนี้จับตาการประชุมกนง. หากอิงจาก Bloomberg consensus พบว่านักเศรษฐศาสตร์ 19 จาก 22 ท่านคาดว่ากนง.จะขึ้นดอกเบี้ย 25bps ที่ 1.75% มีเพียง 3 ท่านรวมนักวิเคราะห์จากทาง Bloomberg ที่คาดว่าอาจคงดอกเบี้ยที่1.50% และสำหรับมุมมองดอกเบี้ยของกสิกรไทย เราให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ย 25bps และคาดว่าจะเป็นการจบรอบของการขึ้นดอกเบี้ยในรอบเดือนมีนาคมนี้ สนับสนุนจากเหตุผลดังต่อไปนี้
1) อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยในเดือนล่าสุดลงมาอยู่ต่ำเพียง 3.79% YoY (-0.12% MoM) ต่ำที่สุดในรอบ 13 เดือน เข้าใกล้กรอบเป้าหมาย 1-3% ของธปท.
2) เศรษฐกิจไทยยังอยู่ต่ำกว่าระดับประสิทธิภาพการผลิต (Output Gap) ที่ -5.5% แสดงถึงความล่าช้าของการเติบโตทางเศรษฐกิจ
3) ความเสี่ยงของการยุบสภาและความชัดเจนของการจัดตั้งขั้วรัฐบาลที่อาจล่าช้าถึงเดือนสิงหาคม ส่งผลต่อความเสี่ยงของการลงทุนภาคเอกชนและการใช้จ่ายภาครัฐ
4) การประมาณการของการขึ้นดอกเบี้ยทั่วโลกที่คาดว่าส่วนใหญ่จะทำจุดสูงและชะลอการขึ้นในช่วง 2Q23 เป็นต้นไป
กลยุทธ์การลงทุน: มองกลุ่มที่จะได้ประโยชน์สูงสุดจากธีมนี้คือ กลุ่ม Finance และธนาคารขนาดเล็กที่เน้นปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยแบบคงที่ โดยในช่วง 2-3 วันทำการที่ผ่านมาเราเริ่มเห็นแรงเก็งกำไรกลุ่มการเงิน บนความคาดหวังว่ากนง. มีโอกาสคงดอกเบี้ยในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม เราคาดว่า กนง. จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย และอาจส่งผลให้นักลงทุนที่เก็งกำไรมาก่อนหน้านี้ผิดหวัง และเกิดแรงขายกำไรในกลุ่มการเงิน ซึ่งเรามองเป็นโอกาสในการทยอยสะสมได้ จากแนวโน้มการจบรอบของการขึ้นดอกเบี้ยของหลายๆประเทศ รวมถึงไทย จากอัตราเงินเฟ้อที่เริ่มชะลอตัว ขณะที่ความเสี่ยงภาวะการเงินธนาคารในสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจะชะลอตัวสูงขึ้น นอกจากประเด็นเรื่องดอกเบี้ย เราพบว่านโยบายของพรรคการเมืองส่วนใหญ่มุ่งเน้นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร และผู้ใช้แรงงานก็จะเป็นตัวหนุนการเติบโตของสินเชื่ออีกทาง ในขณะที่ valuation ของกลุ่ม Finance ปรับตัวลงมาซื้อขายต่ำเพียง PER 13x และประมาณ -2 SD ของPBV เทียบเท่ากับค่าเฉลี่ยย้อนหลังนับตั้งแต่เก็บข้อมูลในปี 2005
2.) จับตาศาลปกครองสูงสุดนัดตัดสิน คดี BTSC ฟ้องบอร์ดคัดเลือกฯ-รฟม.ยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อปี 2564 ไม่ชอบ 30 มี.ค.นี้ ทั้งนี้มองว่าจะออกมาได้ 2 แนวทางคือ
2.1) หากศาลปกครองสูงสุดยืนตามคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้นที่ให้เพิกถอนมติยกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มของบอร์ดคัดเลือกฯ-รฟม. เมื่อปี 2564 เนื่องจากไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะทำให้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันตกอาจเกิดความล่าช้าอย่างน้อย 1 ปี เรามีมุมมองเป็น “กลาง” เนื่องจากราคาหุ้น BEM และ CK ที่ปรับตัวลง -15% YTD และ -9% YTD ได้สะท้อนข่าวความล่าช้าของโครงการแล้วและ
2.2) หากศาลปกครองสูงสุดเห็นต่างจากคำตัดสินของศาลปกครองชั้นต้น และมองว่ายกเลิกประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ เมื่อปี 2564 ชอบด้วยกฎหมาย จะเป็น sentiment บวกต่อ BEM และ CK รวมถึงกลุ่มเสาเข็ม (SEAFCO, PYLON)
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้ แนะนำ
1.) หุ้นที่ราคาพักฐานลงมาแล้ว แต่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวหนุนหรือทิศทางผลประกอบเติบโตต่อเนื่องในปี 2023 แนะนำ CK ราคาพื้นฐาน 33.3 บาท , CPN ราคาพื้นฐาน 79.0 บาท , SNNP ราคาพื้นฐาน 30.3 บาท, AAV ราคาพื้นฐาน 3.10 บาท
2.) หุ้น Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม แนะนำ กลุ่ม ICT (ADVANC ราคาพื้นฐาน 233.85 บาท และ TRUE ราคาพื้นฐาน 10.32 บาท) กลุ่มโรงไฟฟ้า (BGRIM ราคาพื้นฐาน 64.5 บาท และ GULF ราคาพื้นฐาน 54.50 บาท) และกลุ่มน้ำประปา (TTW ราคาพื้นฐาน 11.90 บาท)
3.) โอกาสการจบรอบดอกเบี้ยขาขึ้น แนะนำกลุ่ม Finance (HENG ราคาพื้นฐาน 3.80 บาท)
ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้ฟื้นตัวในกรอบ 1,596-1,630 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ HENG
Top pick:
HENG (ราคาพื้นฐาน 3.80 บาท) หุ้นที่ outperform ในกลุ่มFinance (-11% YTD) เช่น SAWAD (+9.2% YTD), SCAP (+4.7%), SAK (+4.9% YTD), AEONTS (+1.9%), HENG (-4.8% YTD) เป็นต้นจะยังเป็นที่หมายตาของนักลงทุนเนื่องจากมองว่ายังคุม NPL ได้ดี สินเชื่อเติบโตดี และแนวโน้มผลประกอบการดี โดยเรามองว่า HENG ยัง laggard ในบรรดากลุ่มผู้นำ เราคาดว่าบริษัทจะสามารถควบคุม NPL ไว้ที่ระดับ 3% +/- ได้ในปีนี้จากกการปรับโครงสร้างของทีมติดตามหนี้และแรงจูงใจพนักงาน นอกจากนี้เศรษฐกิจในภาคเหนือซึ่งเป็นฐานลูกค้าหลักของบริษัทก็เติบโตดีตามการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวหนุนการปล่อยสินเชื่อซึ่งคาดว่าปีนี้จะโตได้ 27.4% YoY และด้วยการบริหารต้นทุนกับการควบคุม NPL ที่ดีขึ้นทำให้คาดว่ากำไรปี 2023 เติบโต 40% YoY vs. P/E ปี 2023 ที่ 16x
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันพุธ ติดตาม การประชุม กนง. คาดปรับขึ้นดอกเบี้ย 25bps. เป็น 1.75% ตัวเลข Gfk Consumer confidence ของเยอรมัน เดือน เม.ย. คาด -29 จุด (ดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ -30.5 จุด) ตัวเลข Pending home sales ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด -3% MoM และปริมาณสำรองน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ติดตาม ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน ก.พ. คาด -7.0% YoY และ +2.0% YoY ดุลการค้าของไทยเดือน ก.พ. คาด -US$1,414mn (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ -US$4,650mn) ตัวเลข Industrial production ของไทย เดือน ก.พ. คาด -1.1% YoY ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมัน เดือน มี.ค. คาด +0.7% MoM และ7.3% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 8.7% YoY) ตัวเลข Initial Jobless Claim รายสัปดาห์ของสหรัฐฯ คาด+196K (จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ +191K) และถ้อยแถลงของ Fed Barkin
- วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.พ. ของ ธปท. ตัวเลข Industrial production ของญี่ปุ่น เดือน ก.พ. คาด +2.7% MoM ตัวเลข NBS Manufacturing PMI ของจีน เดือน มี.ค. คาด 51.2 จุด (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 52.6 จุด) ตัวเลข NBS Non Manufacturing PMI ของจีน เดือน มี.ค. คาด 54.9 จุด (จากเดือนก่อนหน้าที่ 56.3 จุด) ตัวเลข Retail sales ของเยอรมัน เดือน ก.พ. คาด+0.5% MoM ตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซน เดือน มี.ค. คาด 7.2% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 8.5% YoY) ตัวเลขCore inflation ของยูโรโซน เดือน มี.ค. คาด 5.7% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 5.6% YoY) ตัวเลขอัตราการว่างงานในยูโรโซนเดือน ก.พ. คาด 6.7% ตัวเลข Core PCE Price index ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.4% MoM และ+4.7% YoY ตัวเลข PCE Price index ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.5% MoM และ +5.1% YoY ตัวเลข Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.3% MoM (จากเดือนก่อนหน้าที่ +1.8% MoM) ถ้อยแถลงของ Fed William และ Fed Cook