KS Daily View 31.03.2023 >>> ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจไทย ก.พ. รอประเมิน GDP/ ผลประกอบการ 1Q23 SET คาดยังแกว่งในกรอบ 1,596-1,630 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ KLINIQ, BBIK
สรุปภาวะตลาดวานนี้
ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA +0.43%, S&P 500 +0.57%, NASDAQ +0.73% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P 500 ได้แก่ Real Estate (+1.22%), IT (+1.14%), Consumer discretionary (+0.92%) เป็นต้น Sector ที่ underperform ใน S&P 500 ได้แก่ Financial (-0.29%), Industrials (+0.23%), Consumer staples (+0.34%) เป็นต้น ในประเทศ: SET Index ปรับตัวขึ้น -5.10 จุด หรือ -0.32% ปิดที่ 1,605.42 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรง ได้แก่ DELTA (+9.34%), STEC (+2.38%), BEM (+2.27%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่JMART (-3.33%), TRUE (-2.94%), COM7 (-2.40%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: คาดตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1596-1630 จุด มูลค่าการซื้อขายยังเบาบาง รอประเมินตัวเลข GDP และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 1Q23 ซึ่งคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นไป ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังชะลอการลงทุนรอดูผลการเลือกตั้งในเดือน พ.ค. และทิศทางนโยบายการเงินของเฟดในระยะถัดไปส่วนของเม็ดเงินลงทุนจากฝั่งสถาบันคาดว่าจะเป็นการเข้ามาทยอยสะสมเมื่ออ่อนตัวมากกว่าไล่ดัชนี โดยจากการสำรวจของ KS พบว่ามีเม็ดเงินเข้ามาลงทุนผ่านกองทุนทริกเกอร์ฟันด์ที่เปิดขายในช่วงที่ผ่านมาเพียง 893 ลบ. คิดเป็น 10.5% ของวงเงินเป้าหมายของโครงการเท่านั้น โดยตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตามในช่วงที่เหลือสัปดาห์นี้ได้แก่ ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน ก.พ. ของ ธปท. ตัวเลข PMI ของจีน ตัวเลข ตัวเลข Personal spending และ Core PCE Price index ของสหรัฐฯ เป็นต้น โดยรวมในเชิงกลยุทธ์ยังแนะนำเลือกหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ และราคาหุ้นอยู่ในโซนล่าง
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจที่จะบ่งชี้ทิศทางนโยบายการเงินของเฟดในระยะต่อไป ได้แก่ คืนนี้ติดตามตัวเลข Core PCE Price index ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.4% MoM และ +4.7% YoY ซึ่งเฟดใช้ในการกำหนดนโยบายการเงิน, ตัวเลข Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.3% MoM ซึ่งเป็นตัวชี้วัดเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อ 1 ปีโดย University of Michigan ล่าสุดลดลงมาที่ 4.1% และคาดว่าจะลดลงต่อเป็น 3.8% ในเดือน มี.ค. ในสัปดาห์หน้าตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน มี.ค. โดยนักเศรษฐศาสตร์ประเมิน +240K (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +311K) อัตราการว่างงานจะทรงตัว MoM ที่ 3.6% และค่าจ้างรายชั่วโมงปรับตัวขึ้น+0.3% MoM ซึ่งหากตัวเลขบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังออกมาดีกว่าคาดจะเป็นปัจจัยกดดันให้เฟดต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยต่อ และเพิ่มความเสี่ยงในระบบสถาบันการเงิน/ความเสี่ยง Hard Landing มากขึ้น แต่ในทางตรงกันข้ามหากตัวเลขออกมาแย่กว่าคาดจะช่วยให้ตลาดคลายความกังวลดังกล่าว และเพิ่มความคาดหวังว่าจะเห็น Fed มีการกลับลำนโยบายการเงินในอนาคต
2.) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้น 1.3% ปิดที่ US$79.27/bbl หลังสหรัฐฯ รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลง7.5 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่ผ่านมามากกว่าคาดมาก ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังลดลงต่ำสุดในรอบ 2 ปี ขณะที่ราคาน้ำมันดิบปรับตัวขึ้นกว่า 8% WoW หลังนักลงทุนคลายกังวลเรื่องวิกฤตสถาบันการเงิน และเหตุการณ์ที่ภูมิภาคเคอร์ดิสถาน (KRI) ต้องยุติการส่งออกน้ำมันทางท่อจากแหล่ง Kirkuk เหนือไปยังตุรกีไว้ก่อน โดยราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้นอาจเป็นแรงหนุนราคาหุ้นกลุ่มพลังงานต่อ (PTTEP +6% WoW, SPRC +3.8% WoW, TOP +2.9% WoW, BCP +2.4% WoW, และ PTT +0.8% WoW) โดยเราแนะนำให้นักลงทุนใช้จังหวะนี้ในการขายทำกำไร หรือลด position ที่ขาดทุนมาก่อนหน้านี้ส่วนนึง เนื่องจากประเมินว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจะกระทบอุปสงค์ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นไปไกลๆได้ยาก สำหรับสัปดาห์หน้าให้ติดตามการประชุมโอเปคพลัสซึ่งคาดว่าจะยังคงกำลังการผลิตตามมติเดิมให้ลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรล, การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอิรักอาจทำให้การเมืองภายในมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยนักวิเคราะห์ต่างประเทศคาดว่ามีโอกาสที่ KRI จะกลับมาส่งออกน้ำมันดิบทางท่อได้อีก 200K bpd (จากก่อนหน้าที่ 450K bpd) และให้ติดตามการลดกำลังการผลิตของรัสเซีย (ลดได้เพียง 300K bpd ในเดือน มี.ค. ต่ำกว่าเป้าที่ 500K bpd) ซึ่งมองว่ายากเพราะรัสเซียยังต้องการเงินไปสนับสนุนการทำสงครามในยูเครน
3.) เงินไหลเข้ากองทุนทริกเกอร์ฟันด์ที่ออกมาก่อนหน้านี้น้อยมาก โดยจากการสำรวจของ KS บลจ. ที่มีการเปิดขายกองทริกเกอร์ฟันด์หุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา 4 กองทุนได้ตั้งเป้าจำนวนเงินทุนโครงการรวม 8,500 ล้านบาท แต่มีเม็ดเงินไหลเข้าลงทุนจำนวนรวม 893 ลบ. หรือคิดเป็นเพียง 10.5% ของเป้าหมาย แบ่งเป็น KT-TRIG7 226 ลบ., SCBTG3 353 ลบ., TEQT5M10 217 ลบ. และ LHTRIG7M 97 ลบ. (อิงจาก NAV วันที่ 30 มี.ค.)
4.) ติดตามตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.พ. ของ ธปท. ที่จะรายงานวันนี้ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงแนวโน้ม GDP และผลประกอบการ 1Q23 ของไทย หลังวานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานตัวเลขส่งออกของไทยเดือน ก.พ. ลดลง -4.7% YoY หลักๆจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากการระบายสต๊อกของลูกค้า โดยเฉพาะในส่วนของการส่งออกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ลดลง -4.8% YoY โดยเฉพาะ PCB -13% YoY สะท้อนว่าอุตสาหกรรมยังอยู่ในขาชะลอตัว ในฝั่งของการนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.1% YoY โดยการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปหดตัว -10.5% YoY สะท้อนการส่งออกในอนาคตที่ยังชะลอตัว โดยกระทรวงพาณิชย์คาดไตรมาสแรกปีนี้การส่งออกไทยจะหดตัวราว 8% จากสองเดือนแรกหดตัว 4.6%
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้ แนะนำ
1.) หุ้นที่ราคาพักฐานลงมาแล้ว แต่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวหนุนหรือทิศทางผลประกอบเติบโตต่อเนื่องในปี 2023 แนะนำ CK ราคาพื้นฐาน 33.3 บาท , CPN ราคาพื้นฐาน 79.0 บาท , SNNP ราคาพื้นฐาน 30.3 บาท, AAV ราคาพื้นฐาน 3.10 บาท
2.) หุ้น Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม แนะนำ กลุ่ม ICT (ADVANC ราคาพื้นฐาน 233.85 บาท และ TRUE ราคาพื้นฐาน 10.32 บาท) กลุ่มโรงไฟฟ้า (BGRIM ราคาพื้นฐาน 64.5 บาท และ GULF ราคาพื้นฐาน 54.50 บาท) และกลุ่มน้ำประปา (TTW ราคาพื้นฐาน 11.90 บาท)
3.) โอกาสการจบรอบดอกเบี้ยขาขึ้น แนะนำกลุ่ม Finance (HENG ราคาพื้นฐาน 3.80 บาท) และ Quality growthbbi (KLINIQ ราคาพื้นฐาน 48.10 บาท และ BBIK ราคาพื้นฐาน 140.80 บาท)
ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้ฟื้นตัวในกรอบ 1596-1630 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ KILINIQ, BBIK
Top pick:
KLINIQ (ราคาพื้นฐาน 48.10 บาท) ผู้บริหารตั้งเป้ามีรายได้ปี 2566 ที่ 2 พันลบ. เพิ่มขึ้น 22% YoY ด้วยอัตรากำไรสุทธิที่ 13% เพิ่มขึ้นจาก 12.5% ในปี 2565 KLINIQ ตั้งเป้าเปิด 10 สาขาใหม่ในปีนี้ โดยจะทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาดเพิ่มของศูนย์ศัลยกรรมเพื่อรองรับอุปสงค์จากต่างชาติ และมีแผนบริหารต้นทุนให้ดีขึ้น
BBIK (ราคาพื้นฐาน 140.80 บาท) ราคาหุ้นปัจจุบันยังต่ำจอง PP ที่ 121 บาทต่อหุ้น คาดแนวโน้มที่แข็งแกร่งในปี 2566 โต 64% YoY ในขณะที่บริษัทฯ รายงาน Backlog ณ ไตรมาส 4/65 ที่ประมาณ 454 ลบ. และคาดว่าจะรับรู้ 67% ในปี 2566 ในขณะเดียวกัน เราคาดว่าอาจมี upside ต่อประมาณการกำไรปี 2566 จาก M&A 2 ดีลที่ประกาศในต้นเดือนธ.ค. 2565
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลขเศรษฐกิจเดือน ก.พ. ของ ธปท. ตัวเลข Industrial production ของญี่ปุ่น เดือน ก.พ. คาด +2.7% MoM ตัวเลข NBS Manufacturing PMI ของจีน เดือน มี.ค. คาด 51.2 จุด (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 52.6 จุด) ตัวเลข NBS Non Manufacturing PMI ของจีน เดือน มี.ค. คาด 54.9 จุด (จากเดือนก่อนหน้าที่ 56.3 จุด) ตัวเลข Retail sales ของเยอรมัน เดือน ก.พ. คาด+0.5% MoM ตัวเลขเงินเฟ้อของยูโรโซน เดือน มี.ค. คาด 7.2% YoY (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 8.5% YoY) ตัวเลขCore inflation ของยูโรโซน เดือน มี.ค. คาด 5.7% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 5.6% YoY) ตัวเลขอัตราการว่างงานในยูโรโซนเดือน ก.พ. คาด 6.7% ตัวเลข Core PCE Price index ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.4% MoM และ+4.7% YoY ตัวเลข PCE Price index ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.5% MoM และ +5.1% YoY ตัวเลข Personal spending ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด +0.3% MoM (จากเดือนก่อนหน้าที่ +1.8% MoM) ถ้อยแถลงของ Fed William และ Fed Cook