KS Daily View 03.04.2023 >>> แนวโน้มหุ้นไทยอยู่แดนบวก จากตัวเลขเงินเฟ้อที่ลดลง SET คาดแกว่งในกรอบ 1,595-1,630 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ BE8, CK

สรุปภาวะตลาดวันศุกร์ที่ผ่านมา

ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA +1.26%, S&P 500 +1.44%, NASDAQ +1.74% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P 500 ได้แก่ Consumer Discretionary (+2.62%), Real Estate (+2.18%), Communication Services (+2.08%) เป็นต้น Sector ที่ underperform ใน S&P 500 ได้แก่ Energy (+0.63%), Utilities (+0.76%), Consumer staples (+0.84%) เป็นต้น ในประเทศ: SET Index ปรับตัวขึ้น +3.75 จุด หรือ +0.23% ปิดที่ 1,609.17 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรง ได้แก่ DELTA (+3.82%), BH (+2.26%), EA (+1.67%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ ONEE (-3.42%), RBF (-3.36%), FORTH (-3.03%) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: คาดตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1595-1630 จุด ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นไทย 31,708.44 ล้านบาทในเดือน มี.ค. ขณะที่นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 16,005.61 ล้านบาท และ นักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 25,696 ล้านบาท โดยคาดว่ามูลค่าการซื้อขายยังเบาบาง จากการที่เดือน เม.ย. ตลาดหุ้นไทยมีวันหยุดยาว  ตลาดหุ้นจีนหยุดวันเช็งเม้ง 3-5 เม.ย. ส่วนฮ่องกงหยุดวันที่ 5 เม.ย. คาดว่าหุ้นไทยจะเคลื่อนไหวในแดนบวกเล็กน้อย จาก Sentiment ตลาดหุ้นยุโรปและสหรัฐที่ปิดปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการคลายความกังวลเรื่อง Bank run และจากข้อมูลเงินเฟ้อยุโรป CPI เบื้องต้นปรับตัวลดลง 6.9% ในเดือน มี.ค. YoY จากครั้งก่อนที่ 8.5% และ เงินเฟ้อสหรัฐ PCE ปรับตัวลดลง 5.0% ในเดือน ก.พ. YoY ลดลงจากครั้งก่อนที่ 5.3% ขณะที่ยังต้องติดตามข้อมูลตัวเลข Manufacturing PMI เดือน มี.ค. ฝั่งยุโรปและสหรัฐที่จะประกาศช่วงเย็น-ค่ำวันนี้ หากออกมาดีกว่าครั้งก่อนจะส่งผลให้ตลาดหุ้นเดินหน้าปรับตัวขึ้นได้ โดยรวมในเชิงกลยุทธ์แนะนำลงทุนหุ้น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม Quality growth และกลุ่ม Defensive

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่าดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ทั่วไป ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดีดตัวขึ้น 5.0% ในเดือนก.พ. YoY ชะลอตัวจากระดับ 5.3% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE ทั่วไป เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนก.พ.  และชะลอตัวจากระดับ 0.6% ในเดือนม.ค.  ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 4.6% ในเดือนก.พ. YoY ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดชะลอตัวจากระดับ 4.7% ในเดือนม.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PCE พื้นฐานปรับตัวขึ้น 0.3% ชะลอตัวจากระดับ 0.5% ในเดือนม.ค.

2.) สำนักงานสถิติยุโรป (Eurostat) รายงานว่าเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในยูโรโซนลดลงอย่างชัดเจนในเดือนมี.ค. เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เงินเฟ้อทั่วไปในยูโรโซนปรับตัวแตะ 6.9% ในเดือนมี.ค. เทียบกับเงินเฟ้อทั่วไปที่ 8.5% ในเดือนก.พ. ขณะที่ เงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมราคาพลังงาน อาหาร (Core CPI) ปรับตัวขึ้นเล็กน้อยในเดือนมี.ค. ที่ 5.7% เมื่อเทียบกับ 5.6% ในเดือนก.พ.

3.)  บลูมเบิร์ก นิวส์ คาดการณ์จากการสำรวจนักวิเคราะห์และผู้จัดการด้านการเงินส่วนใหญ่จากทั้งหมด 21 รายว่า ดัชนี CSI300 ของตลาดหุ้นจีนจะปรับตัวขึ้นราว 5.2% ภายในสิ้นเดือนมิ.ย. โดยปรับตัวแซงหน้าตลาดหุ้นอื่น ๆ ทั่วโลก เนื่องจากเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีน ผลจากการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ และสถานะของตลาดหุ้นจีนในการเป็นแหล่งลงทุนที่ปลอดภัย จะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ

4) OPEC+ สร้างความประหลาดใจด้วยการลดกำลังการผลิตน้ำมันลงมาอีก เป็นจำนวนรวม 1.15 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือนพ.ค.นี้ไปจนถึงสิ้นปี เพื่อสนับสนุนเสถียรภาพของตลาด

5.) ธปท. เผยดุลบัญชีเดินสะพัดไทยเดือนกุมภาพันธ์เกินดุล 1,332 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าเดือนก่อนที่ขาดดุล 2,149 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการกลับมาของนักท่องเที่ยว และดุลการค้าที่ขาดดุลลดลงจาก -2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือน ม.ค. เป็นเกินดุล 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในเดือน ก.พ. (ดุลการค้าของกระทรวงพาณิชย์กับธปท. ใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน) เรามองแนวโน้มเศรษฐกิจไทยเดือน มี.ค. มีแนวโน้มปรับดีขึ้นต่อเนื่อง จากภาคการท่องเที่ยว ผลการเปิดประเทศของจีน มองนักท่องเที่ยวเข้าไทย 30 ล้านคนในปีนี้ จะเป็นผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยเกินดุล 6.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดค่าเงินบาทที่ 33.50 – 34.00 บาท สิ้นปีนี้ ระยะสั้นค่าเงินบาทอาจจะได้รับแรงกดดันจากการจ่ายเงินปันผลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (7.1 หมื่นล้านบาท) และบริษัทญี่ปุ่นที่ปิดปีงบประมาณ ส่งผลให้เงินไหลออกได้

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

1.) หุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุนหรือทิศทางผลประกอบเติบโต (Quality Growth) ได้แก่

1.1) BE8 ราคาพื้นฐาน 69.08 บาท ได้ประโยชน์จากความต้องการบริการด้าน Cyber securities เพิ่มขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์โจรกรรมข้อมูลคนไทย 55 ล้านราย นอกจากนี้ทางรัฐมนตรีกระทรวงไอซีทีนัดถกสถาบันการเงิน แก้ปัญหาโจรกรรมข้อมูลผ่าน Mobile Banking ด้วย มอง BE8 ได้ประโยชน์จากธีมดังกล่าวผ่านในเครือคือ บริษัทเบย์คอมที่เป็น 1 ใน 3 ของผู้นำด้าน Cyber Security ของไทย

1.2) GUNKUL ราคาพื้นฐาน 4.65 บาท เก็งกำไรบนธีมการประโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 5,203 MW โดย GUNKUL ตั้งเป้าหมายที่จะได้รับ 1,000MW ทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม จากกำลังการผลิตปัจจุบันของ GUNKUL ที่ 500 MWe โดยคาดประกาศผลผู้ชนะในสัปดาห์หน้า และ 1.3) KLINIQ (ราคาพื้นฐาน 48.10 บาท) ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 ที่ 2 พันลบ. เติบโต 22% YoY ด้วยอัตรากำไรสุทธิ 13% เพิ่มขึ้นจาก 12.5% จากการเปิด 10 สาขาใหม่ในปีนี้ เพิ่มกิจกรรมการตลาด เปิดศูนย์ศัลยกรรมใหม่รองรับความต้องการลูกค้าต่างชาติ และควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.) กลุ่ม Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม แนะนำ 2.1) CK ราคาพื้นฐาน  33.34 บาท มีค่า beta ไม่สูงเพียง 0.52x มี holding discount company -40% และคาดได้ประโยชน์จากการเร่งลงทุนงานภาครัฐหลังเลือกตั้งเดือน พ.ค.​ และ 2.2) ADVANC ราคาพื้นฐาน 234 บาท มีค่า beta ไม่สูงเพียง 0.62x ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศหนุนรายได้ฟื้นตัว การแข่งขันในตลาดที่ดีขึ้นหนุนอัตราการทำกำไร และคาดการซื้อกิจการ TTTBB และ JASIF จะช่วยเพิ่มมูลค่า 7.65 บาทต่อหุ้น

หุ้นแนะนำวันนี้

Top pick:

BE8 (ราคาพื้นฐาน 69.08 บาท) ได้รับผลบวกการความต้องการด้าน Cyber securities ที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจาก การประมาณการกำไรปกติปี 2566 ที่ 302 ล้านบาท หรือเติบโต 118% และการรวมบัญชีทั้งปีของบริษัท X-10 และ Baycom ทั้งนี้คาดว่าธุรกิจหลักของ BE8, X-10 และ Baycom จะมีส่วนในประมาณการกำไรปกติของ BE8 ที่ 60%, 15% และ 25% ในปี 2566 ตามลำดับ

CK (ราคาพื้นฐาน 33.34 บาท) จากการที่ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้อง BTSC ที่ได้ยื่นฟ้อง MRTA จำนวน 2 คดี ยังเหลืออีก 1 คดีที่ศาลปกครองกลาง เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มจาก

1) ไทม์ไลน์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่มีความแน่นอนมากขึ้น

2) ปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่คลี่คลาย

3) ราคาวัสดุก่อสร้างลดลง

4) อัตราการแปลง backlog เป็นรายได้ที่สูงขึ้น

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตาม ตัวเลข Caixin Manufacturing PMI ของจีน เดือน มี.ค.​ คาด 51.7 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 51.6 จุด) ตัวเลข ISM Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ​ เดือน มี.ค.​ คาด 47.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 47.7 จุด) และการประชุมโอเปคพลัสซึ่งคาดว่าจะยังคงกำลังการผลิตตามมติเดิมให้ลดกำลังการผลิต 2 ล้านบาร์เรล และถ้อยแถลงของ Fed Cook
  • วันอังคาร ติดตาม ตัวเลข JOLTs Job Openings ของสหรัฐฯ เดือน ก.พ. คาด 10.4M (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 10.824M) ตัวเลข Factory Orers เดือน ก.พ. คาด -0.5% MoM
  • วันพุธ ติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อเดือน มี.ค. ของไทยคาด +3.5% YoY และตัวเลขเงินเฟ้อพื้นฐานของไทยเดือน มี.ค. คาด +1.82% YoY ตัวเลข Jibun Bank Services PMI ของญี่ปุ่น เดือน มี.ค.​ คาด 54 จุด ตัวเลข S&P Global Services PMI ของยุโรป เดือน มี.ค. คาด 55.6 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 52.7 จุด) ตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ​ โดย ADP เดือน มี.ค.​ คาด +205K (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +242K) ตัวเลข ISM Non-Manufacturing PMI ของสหรัฐฯ​ เดือน มี.ค.​ คาด 54.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 55.1 จุด) และปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลข Caixin Service PMI ของจีน เดือน มี.ค.​ คาด 54.8 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 55 จุด) ตัวเลข Industrial production ของเยอรมัน เดือน ก.พ.​ คาด +0.3% MoM ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์คาด +205K (จากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ 198K)
  • วันศุกร์ ติดตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยเดือน มี.ค. ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน มี.ค.​ โดยนักเศรษฐศาสตร์ประเมิน +238K (ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +311K) อัตราการว่างงานจะทรงตัว MoM ที่ 3.6% และค่าจ้างรายชั่วโมงปรับตัวขึ้น +0.3% MoM และ +4.3% YoY
- Advertisement -