บล.กรุงศรีฯ: 

INVESTMENT STRATEGY – เศรษฐกิจไทยแข็งแกร่งขึ้นเล็กน้อยในเดือนกุมภาพันธ์

  • What’s new?

Bank of Thailand’s (BoT) February economic report reveals the national economy is improving. On the supply-side, manufacturing firmed up 1.5% mom, which resulted in the yoy contraction slowing to 2.7% compared to -4.8% in the month before. This was mainly suppรายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือนของธนาคารแห่งประเทศไทย  (ธปท.) ในเดือนกุมภาพันธ์แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยในด้านของอุปทาน ภาคการผลิตของประเทศขยายตัว 1.5% mom ซึ่งทำให้อัตราการหดตัว yoy ลดลงเหลือ -2.7% จาก -4.8% ในเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตสำหรับใช้ภายในประเทศ (<30% ของการส่งออก) ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนภาคการผลิตโดยรวม ในขณะเดียวกัน การผลิตที่เน้นเพื่อการส่งออกยังคงอยู่ในระดับต่ำแต่เริ่มแสดงสัญญาณการฟื้นตัวบ้างแล้ว ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิต (capacity utilization) โดยรวมยังค่อนข้างทรงตัวอยู่ที่ 60.9% ซึ่งได้แรงสนับสนุนจากภาคยานยนตร์ (75.2%) และปิโตรเลียม (79.2%) ที่น่าสนใจก็คืออัตราการใช้กำลังการผลิตของ IC & Semiconductor เพิ่มขึ้นเป็น 72% จาก 68.3% ส่วนในภาคการผลิตนั้น การบริโภคในภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดีที่ 3.9% yoy เพราะได้แรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายซื้อสินค้าคงทน (ขับเคลื่อนโดยยอดขายรถยนตร์) และบริการ นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนก็เพิ่มขึ้นด้วย แต่ยังเพิ่มขึ้นในระดับต่ำเพียง +0.6% yoy จาก -2.9% ในเดือนมกราคม สอดคล้องกับความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ดีขึ้นในเดือนนี้ ซึ่งนับเป็นเดือนแรกในรอบแปดเดือนที่ทั้งความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ และความคาดหวังขยับขึ้นมาเหนือระดับ boom-bust ที่ 50

  • Analysis

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจไทยเดือนกุมภาพันธ์จะดีขึ้นอย่างแข็งแกร่งในหลาย ๆ ด้าน แต่เราคิดว่าอุปสรรคยังไม่ผ่านพ้นไป และยังมีความเสี่ยงอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่จะมาจากภาวะเศรษฐกิจในต่างประเทศ ข้อแรก ภาคการส่งออกของไทยยังคงมีความเสี่ยงด้าน downside อยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากข้อมูลชี้นำในอนาคต เช่น การเติบโตของการส่งออกเฉลี่ยของประเทศไต้หวัน เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ (ไม่ร่วมน้ำมัน) ซึ่งยังคงหดตัวอย่างหนักอยู่ ทั้งนี้ สาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกของไทยดีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ก็คือการส่งออกที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร ในขณะที่การส่งออกในภาคอุตสาหกรรมยังคงอ่อนแออย่างมาก นอกจากนี้ ปัญหาความวุ่นวายในภาคธนาคารของสหรัฐและ EU น่าจะส่งผลให้เกิดแรงตึงเครียดมากขึ้นภายในธุรกิจต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้อุปสงค์การค้าระหว่างประเทศชะลอตัวลงในระยะต่อไป ทั้งนี้ จากสถานการณ์ในสหรัฐ และ EU รวมถึงเงินเฟ้อของประเทศไทยที่ลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงมาอยู่ระดับต่ำกว่า 2% ในเดือนกุมภาพันธ์ น่าจะทำให้ ธปท. ตัดสินใจยุติวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น โดยอาจเริ่มตั้งแต่การประชุมรอบหน้า (ในวันที่ 31 พฤษภาคม) ทั้งนี้ ที่ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% เรามองว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมแล้วเมื่อพิจารณาจากแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวของประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วง 2.5-3% ในอีกสองสามปีข้างหน้า

- Advertisement -