สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ ถูกกดดันจากแรงขายในหุ้นกลุ่มค้าปลีก พลังงาน ในขณะที่แรงซื้อเข้ามาในหุ้นกลุ่มการแพทย์ ปัจจัยกดดันมาจากสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่ง ประเทศไทย (สรท.) ชี้ส่งออกไทยปี 66 เผชิญความท้าทายสูง อาจโตไม่ถึง 1% พร้อมคาดว่า Q1 หดไอเเเพเตัวถึง 10% ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,594.05 จุด -6.32 จุด -0.39% มูลค่าการซื้อขาย 41,645 ลบ.ต่างชาติ -1,348.71 ลบ. TFEX -7,047 สัญญา ตราสารหนี้ -3,339 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 29 เซนต์ หรือ +0.4% ปิดที่ 80.71 ดอลลาร์/บาร์เรล ปิดบวกเพียงเล็กน้อยหลังจากจีนและสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอ ทำให้นักลงทุนกังวลว่าภาวะชะลอตัวของ เศรษฐกิจอาจจะส่งผลกระทบต่อความต้องการใช้น้ำมัน บดบังปัจจัยบวกจากการที่กลุ่มโอเปกพลัสประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันอีกกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วันจนถึงสิ้นปี 2566
+ บริษัทไฟเซอร์ อิงค์ ประกาศลดราคายาแพกซ์โลวิดในประเทศจีน ขณะที่บริษัทเมอร์ค แอนด์ โค ประกาศลดราคายาโมลนูพิราเวียร์เช่นกัน โดยยาทั้งสองเป็นยาเม็ด รับประทานเพื่อรักษาโรคโควิด-19
+ ทอท.เปิดตัวเลขสงกรานต์ปี 66 คาดว่าผู้โดยสารเดินทางผ่าน 6 สนามบินกว่า 2.37 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 137% เที่ยวบิน คาดทะลุ 1.42 หมื่นไฟลต์
+ ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เผยแพร่รายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแปซิฟิกระบุว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคดังกล่าวจะ เติบโตเร็วขึ้นในปีนี้ เนื่องจากการผ่อนคลายข้อจำกัดอย่างต่อเนื่องจากการแพร่ระบาดจะช่วยกระตุ้นการบริโภค การท่องเที่ยว และการลงทุน อีกทั้งการกลับมา เปิดประเทศอีกครั้งของจีน
ปัจจัยลบ-
– ดัชนีดาวโจนส์ปิด ลดลง 198.77 จุด หรือ -0.59% หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจและแรงงานที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าการที่เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกเพื่อสกัดเงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมาอาจส่งผลให้เศรษฐกิจเผชิญภาวะถดถอย
– สหรัฐเปิดเผยผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) ประจำเดือนก.พ. ลดลง 632,000 ตำแหน่งสู่ระดับ 9.9 ล้านตำแหน่งใน เดือนก.พ. ต่ำกว่าระดับ 10 ล้านตำแหน่งเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2564 รวมทั้งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ที่ระดับ 10.4 ล้านตำแหน่ง
– กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า คำสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐร่วงลง 0.7% ในเดือนก.พ. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงเพียง 0.5% หลังจากดิ่งลง 2.1% ในเดือนม.ค.
– นายเจมี ไดมอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ เจพีมอร์แกน เชส ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของ สหรัฐ ระบุว่า วิกฤตในภาคธนาคารสหรัฐยังคงมีอยู่ และจะส่งผลกระทบต่อเนื่องอีกหลายปี
– สทร. คาดการณ์ตัวเลขส่งออกในไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ว่าจะติดลบถึง 10%YoY โดยระบุว่าการหดตัวของภาคการส่งออกไทยเกิดขึ้นตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีที่แล้ว ต่อเนื่องมา 5 เดือนแล้ว และคาดว่าในเดือน มี.ค. การส่งออกก็จะติดลบอีกเป็นเดือนที่ 6
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันนี้ยังแกว่งตัวผันผวนตามทิศทางตลาดต่างประเทศ โดยนักลงทุนกลับมากังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะเผชิญภาวะถดถอย จากข้อมูลเศรษฐกิจและแรงงานที่อ่อนแอ ประกอบกับเราคาดว่าปริมาณการซื้อขายใน SET อาจชะลอตัวลง เนื่องจากเป็นช่วงคาบเกี่ยววันหยุดยาว มองกรอบดัชนีในวันนี้ที่ 1,585-1,600 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
- หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC STPI
- หุ้นปันผลดี : ADVANC TISCO SCB PT SMIT
- จำนวนนักท่องเท่ียวปรับตัวเพิ่มขึ้น : AOT BAFS AAV BA MINT CENTEL ERW
- หุ้นที่ได้ประโยชน์จากโอเปกพลัสลดกำลังการผลิต : PTTEP TOP PTT SPRC BCP
- หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL COM7 CPALL
หุ้นรายงานพิเศษ
PJW ขยายโอกาสสร้าง New S-curve ใหม่ๆ
- คาดผลประกอบการปี 23 เติบโตโดดเด่น (บริษัทตั้งเป้ารายได้เติบโต 10%) โดยได้อานิสงส์จากลูกค้ากลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ที่เติบโตโดดเด่น หลังปัญหา เซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลนคลี่คลายลง ส่งผลให้มีการออกรถโมเดลใหม่ เพิ่มขึ้น ประกอบกับสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นฟื้นตัวดีขึ้นหลังจากเปิดประเทศ ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น หนุนปริมาณการใช้รถยนต์มากขึ้น นอกจากนี้บริษัทยังได้เข้าซื้อธุรกิจ Laundry ในช่วงปลายปี 22 ที่ผ่านมา ซึ่งเจาะกลุ่มลูกค้า B2B เป็นหลัก และมีแผน ขยายเข้าสู่ตลาดผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์จากพลาสติก ซึ่งคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ใน 2H23
- เมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา บริษัทได้ย้ายหุ้นเข้ามาทำการซื้อขายในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในกลุ่มบรรจุภัณฑ์จากเดิมที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ซึ่งจะช่วยขยายฐานนักลงทุน และเพิ่มสภาพคล่องมากขึ้น
- ความเห็น : เราคาดว่าผลประกอบการในปีนี้มีโอกาสฟื้นตัวกลับมา ก่อนช่วงโควิด-19 ประกอบกับการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ จะสามารถสร้าง New S-curve สนับสนุนการเติบโตในอนาคต
หุ้นมีข่าว
(+) BEM (Bloomberg consensus 11.00 บาท) มั่นใจปีนี้มาแรงรายได้แตะ 1.7 หมื่นล้านบาท รถไฟฟ้าแตะ 8 พันล้านบาท และทางด่วนแตะ 9 พันล้านบาท ชูภาพรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินวันนี้มิกซ์ยูส เพียบ จัดงานอื้อ ปีนี้เป้าเฉลี่ย 4.2 แสนเที่ยวต่อวัน ปีหน้าโดดสู่ 5 แสนเที่ยวต่อวัน มั่นใจเซ็น Double Deck ปลายปีนี้ ลั่นประมูลสีส้มตามกติกา พร้อมลงนามและเร่งให้ทันกำหนด (ที่มา ทันหุ้น)
(+) PRM (Bloomberg consensus 10.00 บาท) ดีมานด์ขนส่งเรือแข็งแกร่ง PSU ปีนี้ดีต่อเนื่อง อัตราการใช้กว่า 90% ส่วนเรือเคมี มีโอกาสเติบโตสูง รับงานต่างประเทศเพิ่ม เล็งซื้อเรือเพิ่ม ด้าน ขนส่งน้ำมันเจ็ทขยายตัวตามการท่องเที่ยว แย้ม Q1/2566 สดใส มั่นใจรายได้ปีนี้เติบโตกว่า 10% อัดฉีดงบลงทุน 2 พันล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) TEAMG (Bloomberg consensus 3.38 บาท) ปูทางธุรกิจเข้าสู่ Related Businesses คว้า งานใหม่เพิ่มทั้งภาครัฐและเอกชน ตั้งเป้าเดิม Backlog และ 5,000 ล้านบาท จากปัจจุบัน 4,110 ล้านบาท พร้อมประเมินความกังวลการเลือกตั้งใหม่ อาจจะส่งผลต่อการเลียนโครงการของกาครัฐ ทําให้ร้บงานล่าช้า แต่งานเอกชนยังขยายตัวได้ต่อเนี่อง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ถือเป็น โอกาสให้บริษัทได้รับงาน (ที่มา ทันหุ้น)
(+) JR (Bloomberg consensus – บาท) ประกาศข่าวดี! คว้างาน กฟน. มูลค่า 51.19 ล้านบาท โครงการ อศูนย์ควบคุมเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบสื่อสาร คันแบ็กล็อกพุ่งแตะ 10,472 ล้าน บาท โอ “จริญ” มั่นใจปี 66 รายได้โต 15-20% แย้มแผนประมูลงานใหม่เพิ่ม 1,900 ล้านบาท (ที่มา ข่าวหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 3-7 เม.ย. รับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต
- 4-7 เม.ย. รับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
- 5 เม.ย. กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย แถลงสรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย Q1/66 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แถลงสรุปภาพรวมภาวะตลาดหลักทรัพย์ ประชุมคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.)
- สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
- สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
- 12 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมกนง.ฉบับย่อ และรายงานนโยบายการเงิน
- 18-21 เม.ย. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบการเงินงวด 1Q66
- 28 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 14 พ.ค. เลือกตั้ง
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 5 เม.ย. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล
- สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนมี.ค. จาก ADP ยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้า เดือนก.พ. ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนมี.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล ดัชนีภาคบริการเดือนมี.ค.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสํานักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- 6 เม.ย. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการเดือนมี.ค.จากไฉซิน
- สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
- 7 เม.ย. สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.
- 10 เม.ย. สหรัฐ รายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่ง เดือนก.พ.