สรุปภาวะตลาด
วันพุธที่ผ่านมา ปรับตัวลงต่อเนื่อง แรงขายมาจากหุ้น Big Cap, กลุ่มอิเล็กกทรอนิกส์ พลังงาน อาหาร ซึ่งการปรับตัวลงของหุ้น DELTA กดดันดัชนีถึง -8.3 จุด โดยกระทรวงพาณิชย์ รายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) เดือนมี.ค. ขยายตัว 2.83% YoY ดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะขยายตัว 3.2-3.3% ประกอบกับนักลงทุนขายหุ้นลดความเสี่ยงก่อนเข้าสู่ช่วงวันหยุด ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,571.13 จุด -22.92 จุด -1.44% มูลค่าการซื้อขาย 48,874 ลบ. ต่างชาติ -1,052.81 ลบ. TFEX -9,268 สัญญา ตราสารหนี้ -3,600.97 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อย เพิ่มขึ้น 2.57 จุด หรือ +0.01% บรรยากาศการซื้อขายเป็นไปอย่างซบเซาก่อนวันหยุดยาวปิดทำการในวันศุกร์ ที่ 7 เม.ย. เนื่องในวัน Good Friday นอกจากนี้ ตลาดยังคงถูกกดดันจากความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงาน นอกภาคเกษตรของสหรัฐในวันนี้ (7 เม.ย.)
+สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) เพิ่มขึ้น 9 เซนต์ หรือ 0.11% ปิดที่ 80.70 ดอลลาร์/บาร์เรล ทำสถิติปรับตัวขึ้นรายสัปดาห์ติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 3 ตลอดทั้งสัปดาห์นี้ สัญญาน้ำมัน WTI พุ่งขึ้น 6.65% ได้แรงหนุนจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่ลดลงมากกว่าคาด และกลุ่มโอเปกพลัส ประกาศลดกำลังการผลิตนํ้ามัน
+ WHO คาดยกเลิกสถานะฉุกเฉินของโรคโควิด-19 ได้ ในปีนี้
+ BOI เผยยอดส่งเสริมกิจการยานยนต์ไฟฟ้าทั้งระบบพุ่งกว่า 1 แสนล้านบาท เดินหน้าเร่งผลักดันนโยบายส่งเสริมลงทุน รองรับดีมานด์ในประเทศพุ่งขึ้น 8 เท่า ระบุเตรียมตั้งฐานผลิตในไทย ทั้งนี้คณะผู้แทนบริษัท GAC Aion รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่จากจีนได้เข้ายื่นหนังสือแสดงเจตจํานงการลงทุนต่อ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
ปัจจัยลบ-
– IMF ประเมินว่าความตึงเครียดทางการเมืองที่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งด้านเทคโนโลยี ระหว่างสหรัฐและจีน จะส่งผลกระทบต่อการลงทุนในต่างประเทศ และจะทำให้ GDP ของโลกได้รับความเสียหายในอัตราส่วนสูงถึง 2% ในระยะยาว
– IMF คาดว่าเศรษฐกิจโลกน่าจะโตไม่ถึง 3% ในปี 2566 ชะลอตัวจาก +3.4% ในปี 65 และคาดว่าเศรษฐกิจจะโตทรงตัวที่ 3% ในช่วง 5 ปี ซึ่งน้อยที่สุดเท่าที่ IMF เคยประเมิน
– สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 18,000 ราย สู่ระดับ 228,000 รายในสัปดาห์ที่ แล้ว แต่ลดลงน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 200,000 ราย
-ตลาดหุ้นหลายแห่งในภูมิภาคและต่างประเทศปิดทำการเนื่องในวัน Good Friday
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้ผันผวน โดยถูกกดดันจากหุ้นในหลายอุตสาหกรรมเริ่มปรับตัลง อีกทั้ง Fund Flow ที่กลับมาไหลออก อย่างไรก็ตาม ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่อ่อนแอทั้ง ยอดจ้างงานภาคเอกชนและดัชนีภาคบริการที่อ่อนแอยังเป็นตัวหนุนให้เฟสชะลอการปรับขึ้นดอกเบี้ย มองกรอบการเคลื่นไหวในวันนี้ที่ 1,560-1,580 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
- หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC STPI
- หุ้นปันผลดี : ADVANC TISCO SCB PT SMIT
- จำนวนนักท่องเท่ียวปรับตัวเพิ่มขึ้น : AOT BAFS AAV BA MINT CENTEL ERW
- หุ้นที่ได้ประโยชน์จากโอเปกพลัสลดกำลังการผลิต : PTTEP TOP PTT SPRC BCP
- หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL COM7 CPALL
หุ้นรายงานพิเศษ
SPA – แนวโน้มปี 66 ฟื้นตัวแกร่งหลังเปิดประเทศ (Bloomberg consensus 12.50 บาท)
- รายได้ 4Q65 เท่ากับ 275 ลบ. +242%YoY, +39%QoQ และกำไร 14 ลบ. +130%YoY, +193%QoQ สาเหตุมาจากมาตรการของภาครัฐที่ผ่อนคลายมากขึ้น อีกทั้งไทยเปิดประเทศตั้งแต่ช่วง 2Q65 เป็นต้นมา ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นใน 2H65 เป็น 9 ล้านคน +336%HoH สอดคล้องกับอัตราการใช้บริการฟื้นตัวมากขึ้นจาก 1H65 อยู่ที่ระดับ 55% เป็น 70% ใน 2H65 หนุนให้ทั้งปี 65 ขาดทุนลดลงเหลือ 88 ลบ. จาก -287 ลบ.ในปี 64
- ผบห. คาดปี 66 จํานวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยเพิ่มขึ้นราว 25 ล้านคน +127%YoY ขณะที่ลูกค้าหลักชาวจีนเริ่มกลับเข้าไทยมากขึ้นหลังเปิดประเทศช่วงต้นปีที่ผ่านมา มองอัตราการใช้บริการใน 1Q66-2Q66 แตะ ระดับ 75-80% อีกทั้งบริษัทเริ่มรุกธุรกิจกัญชาทางการแพทย์มากขึ้น โดยปัจจุบัน JV กับ Amara Asia ด้วยสัดส่วน 51:49 ลงทุนงบ 1 ล้านบาท คาดเริ่มรับรู้รายได้ 2Q66
- ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองเป็นบวกต่อผลประกอบการทั้งปี 66 ที่มีแนวโน้มพลิกฟื้นมีกำไร เนื่องจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวแกร่ง อีกทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเริ่มทยอยกลับมาไทยมากขึ้น ขณะที่ปัจจุบันค่าเงินบาทอ่อนค่า 1%YTD เป็นแรงหนุนให้กับภาคบริการต่อเนื่อง ทั้งนี้ราคาหุ้นปรับตัวลงมา -4%YTD ยังต่ำกว่าราคาเหมาะสม เราจึงแนะน่า “ชื้อ”
หุ้นมีข่าว
(+) CEYE (ราคาเหมาะสม 7.12 บาท) ทิศทางธุรกิจในไตรมาส 2/2566 สดใส ชี้กลุ่มอาหารทำโฆษณาช่วงเทศกาลสงกรานต์เพียบ หนุนเม็ดเงินไหลเข้า พร้อมเก็บเกี่ยวผลจากการลงทุนเต็มไตรมาส ด้านแม่ทัพหญิงแย้มแผนลงทุนธุรกิจโฆษณาและแพลตฟอร์มต่างประเทศเพิ่ม ปักหมุดรายได้ปีนี้ชน 450 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) EPG (Bloomberg consensus 10.15 บาท) รับอานิสงส์หยุดยาวสงกรานต์ ดันยอดแก้วกาแฟ- บรรจุภัณฑ์อาหารพุ่ง แถมล่าสุดเปิด TJM สโตร์แห่งแรกในไทย หวังต่อยอดธุรกิจกลุ่มแอร์โร่คลาส หนุนมาร์จิ้นเพิ่ม เล็งขยาย 5 สาขา ภายในปีนี้ พร้อมวาดฝันปีนี้รายได้โตต่อเนื่อง หลังธุรกิจทุกกลุ่มฟื้นตัวเด่น (ที่มา ทันหุ้น)
(+) NRF (Bloomberg consensus 4.30 บาท) สนใจรุกธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตต่างแดน หลังเห็นโอกาสเข้าลงทุน แย้มซูเปอร์มาร์เก็ตเป้าหมายมีลูกค้าแน่น เตรียมนำระบบต่อยอดเพิ่ม รับสองเด้งทั้งรายได้ซูเปอร์มาร์เก็ตต่อยอด และออเดอร์สินค้าเฮาส์แบรนด์ โรงงานแพลนต์เบสเสร็จตามแผน ออเดอร์อาหารสัตว์ยังดี เหตุฐานลูกค้า เอเชีย (มา พันหุ้น)
(+) NWR (Bloomberg consensus – บาท) ส่งซิกอุตสาหกรรมก่อสร้างฟื้นตัว ลุยประมูลงานใหม่ มูลค่า 30,000 ล้านบาท เน้นงานที่มีมูลค่ามากกว่า 2,000 ล้านบาท และเป็นโครงการที่มีมาร์จิ้นสูง คาดจะให้รับงานปีนี้ประมาณ 14,000 ล้านบาท ช่วยต่อยอด Backlog ปัจจุบันราว 30,000 กว่า ล้านบาท รับรู้รายได้ปีนี้ประมาณ 40% หนุนผลงานเติบโตมากกว่าปีก่อนราว 5-10% (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 3-7 เม.ย. รับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขต
- 4-7 เม.ย. รับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ
- สัปดาห์ที่ 2 หอการค้าไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค สภาธุรกิจตลาดทุนไทย แถลงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนและอัพเดตสถานการณ์ลงทุน
- 12 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่รายงานการประชุมกนง.ฉบับย่อและรายงานนโยบายการเงิน
- 18-21 เม.ย. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบการเงินงวด 1Q66
- 28 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 3 พ.ค. แถลงดัชนีเศรษฐกิจการค้า 14 พ.ค. เลือกตั้ง
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 7 เม.ย. สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมี.ค.
- 10 เม.ย. สหรัฐ รายงานสต็อกสินค้าคงคลังภาค ค้าส่งเดือนก.พ.
- 11 เม.ย. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมี.ค. ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค.
- สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาด ย่อมเดือนมี.ค.จากสหพันธ์ธุรกิจอิสระแห่งชาติสหรัฐ (NFIB)
- 12 เม.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมี.ค. สต็อกน่ามันรายสัปดาห์จากสำนักงาน สารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- (เช้าวันที่ 13 เม.ย.) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค.