KS Daily View 10.04.2023 >>> เริ่มเห็นสัญญาณนักท่องเที่ยวจีนเข้าไทย รอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ SET คาดแกว่งตัวในกรอบ 1,555-1,596 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ AOT, D

สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้ 

ต่างประเทศ: ตลาดหุ้นสหรัฐฯปิดทำการเนื่องในวัน Good Friday โดยดัชนี Dow Jones futures และ S&P500 futures ปรับตัวขึ้น +0.1% และ +0.2% ตามลำดับ ในประเทศ: SET Index ปรับตัวขึ้น +5.94 จุด หรือ +0.38% ปิดที่ 1,577.07 จุด โดยหุ้นที่ปรับขึ้นแรง ได้แก่ KTC (+5.74%), SAWAD (+4.41%), DELTA (+3.63%), KCE (+3.53%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ OSP (-3.31%), CPF (-2.34%), GLOBAL (-2.21%) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: เราประเมินตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้แกว่งตัวในกรอบ 1,555 – 1,596 จุด มูลค่าการซื้อขายยังเบาบาง เนื่องจากวันหยุดยาวหลายวัน รอประเมินทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศหลังประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ คืนวันพุธ ตัวเลข GDP และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนใน 1Q23 รวมถึงผลการเลือกตั้งในเดือน พ.ค. โดยเริ่มเห็นแรงเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากนโยบายหาเสียงของพรรคการเมืองต่างๆ เช่น กลุ่ม Finance เป็นต้น ในเชิงกลยุทธ์ยังแนะนำเลือกหุ้นตามธีมที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว และเน้นผสานการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Quality growth , Defensive, และกลุ่มพลังงาน ตามลำดับ

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน: 

1.) ตัวเลขภาคการจ้างงานของสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง โดย NFP +236K ในเดือน มี.ค. สูงกว่าคาดที่230K, อัตราการว่างงาน 3.5% ต่ำกว่าคาดที่ 3.6% และค่าจ้างรายชั่วโมง +4.2% YoY ตามคาด แต่ต่ำสุด นับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2021 แต่เร่ิมเห็นสัญญาณค่อยๆอ่อนตัวได้แก่ ตำแหน่งงานใหม่เปิดน้อยลง (-6% MoM เป็น 9.9 ล้านตำแหน่ง), Jobless claim (สูงสุดในรอบสามสัปดาห์), ลูกจ้างแบบชั่วคราว (Temp) เริ่มถูกปลดมากขึ้น โดยลดลง 7 ใน  8 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งโดยปกติจะถูกจ้างงานเป็นกลุ่มแรกหากเศรษฐกิจฟื้นตัว และในขณะเดียวกันจะถูกปลดก่อนหากเศรษฐกิจชะลอตัว, และเริ่มเห็นการจ้างงานในภาคอสังหาฯหดตัวด้วย เราประเมินว่านับจากนี้เราจะเริ่มเห็นการปลดพนักงงานเพิ่มขึ้นอีกโดยเฉพาะภาคการเงินหลังเริ่มเห็นสัญญาณเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการปล่อยสินเชื่อเข้มงวดขึ้นหลังเหตุการณ์ธนาคาร SVB ล้ม อย่างไรก็ตามในระยะสั้นภาคการจ้างงงานในฝั่งบริการยังคงแข็งแกร่งโดยเฉพาะภาค Leisure และ Hospitality ที่ยังมีการจ้างงานต่ำกว่าก่อนโควิดถึง 368K หรือ -2.2%

กลยุทธ์การลงทุน จากตัวเลขภาคการจ้างงานของสหรัฐฯที่ส่งสัญญาณค่อยๆอ่อนตัว แต่ยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่งและห่างจากระดับ 1.0 แสนตำแหน่งต่อเดือนตามที่ Powell เคยประเมินไว้ ทำให้คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่หนึ่งครั้งในเดือนพค25bps ที่ 5.25% พร้อมให้น้ำหนักว่ามีโอกาสจะเป็นครั้งสุดท้ายของการขึ้นดอกเบี้ยในรอบนี้ อย่างไรก็ตามจะถึงขั้นปรับแผนลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงครึ่งปีหลังตามที่ตลาดส่วนใหญ่ประเมินไว้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการรายงานตัวเลขเงินเฟ้อที่จะประกาศในวันที่ 12 เม.ย. (ตลาดคาดเงินเฟ้ออ่อนตัวลงเป็น 5.2% YoY จาก 6.0% YoY เดือนก่อน) และราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงในสัปดาห์ที่ผ่านมาจากOPEC+ ลดกำลังการผลิตเหนือความคาดหมายของตลาด ทำให้ความเสี่ยงเงินเฟ้อด้านอุปทานอาจกลับมาเป็นประเด็น เพื่อความไม่ประมาทเราแนะนำนักลงทุนเน้นกลยุทธ์เชิงตั้งรับไว้ก่อน โดย weight น้ำหนักการลงทุนผสานในหุ้นกลุ่ม Quality growth , Defensive, และกลุ่มพลังงาน ตามลำดับ

2.) ติดตามตัวเลขนักท่องเที่ยวจีนที่คาดว่าจะเดินทางเข้าไทยมากขึ้นใน 2Q23 โดยนายธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เผยว่า ไตรมาส 1/2566 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยแล้ว 6 ล้านคน เป็นนักท่องเที่ยวจีนกว่า 5 แสนคน สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3 แสนราย และคาดว่าไตรมาส 2/2566 จะมีนักท่องเที่ยวจากจีนไม่ต่ำกว่า 5 แสนคนเช่นกัน โดยเฉพาะในเดือนเมษายนประเมินว่าจะมีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้าประเทศไทยที่ประมาณ 2.5 แสนคน และคาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวจีนสะสมทะลุ 1 ล้านคนได้ในเดือนมิถุนายน 2566 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวที่เดินทางด้วยตนเอง (FIT) ส่วน “กรุ๊ปทัวร์” ยังเดินทางเข้ามาในจำนวนไม่มากนัก โดยปัจจัยสำคัญคือ สายการบินกลับมาให้บริการเที่ยวบินระหว่างไทยและจีนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงภาคเอกชนที่ได้มีการพูดคุยกับสายการบินเพื่อเปิดเที่ยวบินเช่าเหมาลำจากจีนมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นเช่นกัน

3.) กระแสรถ EV เริ่มจุดติดในประเทศไทยแล้ว ในงานมอเตอร์โชว์ 2023 ที่ผ่านมา รถอีวีสามารถกวาดยอดจองได้9,234 คัน คิดเป็นสัดส่วน 21.53% จากยอดจองทั้งหมด 45,983 คัน ทั้งนี้จำนวนส่วนยอดจดทะเบียนสะสมประเภทBEV ณ วันที่ 28 ก.พ. 2566 สูงถึง 44,294 คัน โดยสองเดือนแรกมียอดจดทะเบียนจำนวนรวม 12,243 คัน มองเป็นบวกกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องทั้งค่ายรถยนต์, ผู้ผลิตชิ้นส่วน, แบตฯ, สถานีชาร์จ, ธนาคาร, และประกันภัย

4.) ราคาน้ำตาลดิบโลกล่าสุดปรับตัวขึ้นทำจุดสูงสุดนับแต่ปี 2016 ที่ 23.46 เซ็นต์ต่อปอนด์ (+2.2% DoD และ +5% WoW) จากความกังวลด้าน supply หลังอินเดียมีแนวโน้มจะงดส่งออกน้ำตาลจากผลผลิตที่น้อยกว่าระดับคาดหมายขณะที่ผลผลิตจากไทยและปากีสถานออกมาน้อยกว่าคาดด้วย ขณะที่ผลผลิตอ้อยจากทางฝั่งบราซิลมีแนวโน้มถูกดึงไปผลิตเอทานอลมากขึ้นตามทิศทางราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้ 

1.) หุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุนหรือทิศทางผลประกอบเติบโต (Quality Growth) ได้แก่ 1.1) KLINIQ ราคาพื้นฐาน 48.10 บาท ตั้งเป้ารายได้ปี 2566 ที่ 2 พันลบ. เติบโต 22% YoY ด้วยอัตรากำไรสุทธิ 13% เพิ่มขึ้นจาก 12.5% จากการเปิด10 สาขาใหม่ในปีนี้ เพิ่มกิจกรรมการตลาด เปิดศูนย์ศัลยกรรมใหม่รองรับความต้องการลูกค้าต่างชาติ และควบคุมต้นทุนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 1.2) TKN ราคาพื้นฐาน 10.80 บาท และ SNNP ราคาพื้นฐาน 30.30 บาท สินค้าของทั้งสองบริษัทเป็นของฝากที่คนจีนนิยมซื้อกลับไปที่บ้าน และคาดจะเห็นยอดขายเร่งตัวขึ้นใน 2Q23 จากการกลับมาของกลุ่มทัวร์จีน และ 1.3) D ราคาพื้นฐาน 8.93 บาท คาดกำไร 1Q23 จะเติบโตต่อเนื่อง การขึ้นค่ารักษา 10% ไม่มีผลกระทบลูกค้ายังแนวโน้มดีต่อเนื่องจากลูกค้าต่างชาติกลับมามากขึ้น และคาดจะเร่งตัวใน 2Q23 หลังลูกค้าจีนกลับมา (สัดส่วนประมาณ 20% ก่อนโควิด)

2.) กลุ่ม Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม แนะนำ 2.1) AOT ราคาพื้นฐาน73.50 บาท ได้ประโยชน์จากแนวโน้มนักท่องเที่ยวที่คาดว่าเร่งตัวขึ้นใน 2Q23 โดยเฉพาะจากกลุ่มทัวร์จีนหลังจำนวนflight บินมากขึ้นและตั๋วถูกลง และ 2.2) BDMS ราคาพื้นฐาน 33.90 บาท คาดผู้ป่วยต่างชาติยังฟื้นตัวต่อกลับไปสู่ระดับก่อนโควิด ขณะที่ราคาหุ้นซื้อขายที่ระดับค่าเฉลี่ยประมาณ 32x

3.) กลุ่มพลังงาน แนะนำ PTTEP ราคาพื้นฐาน 172 บาท เพื่อ hedge กับทิศทางราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ U$90/bbl

ประเมินตลาดหุ้นไทยวันนี้แกว่งตัวในกรอบ 1555-1596 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ AOT และ D

Top pick: AOT (ราคาพื้นฐาน 73.50 บาท) ได้ประโยชน์จากแนวโน้มนักท่องเที่ยวที่คาดว่าเร่งตัวขึ้นใน 2Q23 โดยเฉพาะจากกลุ่มทัวร์จีนหลังจำนวน flight บินมากขึ้นและตั๋วถูกลง  D (ราคาพื้นฐาน 8.93 บาท) คาดกำไร 1Q23 จะเติบโตต่อเนื่อง การขึ้นค่ารักษา 10% ไม่มีผลกระทบลูกค้ายังแนวโน้มดีต่อเนื่องจากลูกค้าต่างชาติกลับมามากขึ้นและคาดจะเร่งตัวใน 2Q23 หลังลูกค้าจีนกลับมา (สัดส่วนประมาณ 20% ก่อนโควิด)

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ:

  • วันจันทร์ ติดตาม ตัวเลข Consumer confidence เดือน มี.ค. ของญี่ปุ่น คาด 35 จุด(+12.5% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Williams
  • วันอังคาร ติดตาม ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของไทยเดือนมี.ค. ตัวเลขเงินเฟ้อของจีน เดือน มี.ค. คาด +2.0% YoY (vs. เดือนก่อนที่ 1.0% YoY) ตัวเลข PPI ของจีนเดือน มี.ค. คาด -1.0% YoY (vs. เดือนก่อนหน้าที่ -1.4% YoY) และถ้อยแถลงของ Fed Harker และ Fed Kashkari
  • วันพุธติดตาม ตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.2% MoM และ +5.2% YoY (vs. เดือนก่อนหน้าที่ +0.4% MoM และ +6.0% YoY) และเงินเฟ้อพื้นฐานที่ +0.4% MoM และ +5.6% YoY เงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค. 2023 การประชุมธนาคารกลางแคนาดาคาดคงดอกเบี้ยที่ 4.5% ปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รายสัปดาห์ และ FOMC minutes
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขส่งออกของจีนเดือน มี.ค. คาด -1.1% YoY และตัวเลขนำเข้าของจีนเดือน มี.ค. คาด +6.5% YoY ตัวเลข PPI ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.1% MoM และ +3.1% YoY (จากเดือนก่อนหน้าที่-0.1% MoM) ตัวเลข Initital Jobless Claim คาด +205K (จากสัปดาห์ก่อนที่ +228K)
  • วันศุกร์ ติดตาม  ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -0.4% MoM และตัวเลข Retail sales ex auto ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -0.2% MoM ตัวเลข Industrial production ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.2% MoM ตัวเลข Michigan Consumer Sentiment เดือน เม.ย. คาด 62.7 จุด (+1.1% MoM) และถ้อยแถลงของ Fed Waller
- Advertisement -