สรุปภาวะตลาด
วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้นสอดคล้องกับตลาดในภูมิภาค แต่วอลุ่มเบาบาง เนื่องจากนักลงทุนเริ่มทยอยปิดสถานะก่อนช่วงหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ ขณะที่กองทุนเข้าซื้อกลุ่มธนาคาร ได้แก่ KTB, KBANK และ SCB ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,597.10 จุด +3.97 จุด +0.25% มูลค่าการซื้อขาย 36,038 ลบ. ต่างชาติ 50.98 ลบ. TFEX -18,358 สัญญา ตราสารหนี้ +2,549.92 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิดเพิ่มขึ้น 98.27 จุด หรือ +0.29% จากแรงซื้อหุ้นวัฏจักรที่คาดว่าจะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และประธาน FED สาขาชิคาโกเตือนว่า FED จําเป็นต้องใช้ความระมัดระวังในการปรับดอกเบี้ยเชิงรุกมากเกินไป ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และผลประกอบการ 1Q66 ของบริษัทจดทะเบียน
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 1.79 ดอลลาร์ +2.24% ปิดที่ 81.53 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่ารัฐบาลจีนจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังจีนเปิดเผยข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความอ่อนแอของอุปสงค์ภายในประเทศ
+ ปธน.โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐ ลงนามในกฎหมายยุติการประกาศภาวะฉุกเฉินแห่งชาติในการรับมือกับการแพร่ ระบาดของโรคโควิด-19
+ จีนรายงานว่า ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นเพียง 0.7%YoY ในเดือน มี.ค. ซึ่งชะลอตัวลงจากเดือนก.พ.ที่ปรับตัวขึ้น 1%YoY และต่ำกว่าโพลสํารวจนักวิเคราะห์ของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1%YoY
+ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย รายงานดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มี.ค. แตะระดับ 53.8 ปรับตัวสูงสุดในรอบ 37 เดือน รับอานิสงส์ท่องเทียวฟื้นตัว ราคาน้ามันปรับตัวลดลง
ปัจจัยลบ-
– ปธน.ไช่ อิงเหวิน ผู้นำไต้หวันระบุว่า การซ้อมรบของจีนได้บ่อนทำลายเสถียรภาพในไต้หวันและภูมิภาค และถือเป็นท่าทีที่ไม่มีความรับผิดชอบของจีน
– IMF คาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปี 2566 และ 2567 ที่ระดับ 2.8% และ 3% ตามลำดับ ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในเดือนม.ค.ที่ระดับ 2.9% และ 3.1%
– ตลท. เปิดเผยว่า ภาพรวมการซื้อขายหุ้นไทยที่ไม่คึกคัก โดยมูลค่าการซื้อขาย (วอลุ่ม) เฉลี่ยต่อวันในขณะนี้ลดลง เหลือประมาณ 30,000-40,000 บาท จากเดิมการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 60,000 ล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นเพราะนักลงทุน Wait & See รอจังหวะที่เหมาะสมในการเข้าลงทุน
– สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ 5 แห่งประกาศขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝากเป็นครั้งที่ 2 ในรอบปี ส่งผลให้ ดอกเบี้ยเงินกู้ในปี 66 ปรับขึ้นมาแล้วถึง 0.50%
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้แกว่งตัว Sideway ออกข้าง โดยคาดว่าปริมาณการซื้อขายจะเบาบาง เนื่องจากเป็นวันทำการ สุดท้ายก่อนหยุดยาวสงกรานต์ ประกอบกับนักลงทุนยังจับตาสหรัฐเปิดเผย CPI ประจำเดือนมี.ค. ในวันนี้ มองกรอบ การเคลื่อนไหวในวันนี้ที่ 1,590-1,605 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้น mai เด่นปี 66 : SPA D CEYE AU
- หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC STPI
- หุ้นปันผลดี : ADVANC TISCO SCB PT SMIT
- จํานวนนักท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้น : AOT BAFS AAV BA MINT CENTEL ERW
- หุ้นที่ได้ประโยชน์จากโอเปกพลัสลดกำลังการผลิต : PTTEP TOP PTT SPRC BCP
- หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL COM7 CPALL
หุ้นรายงานพิเศษ
SKN ( “ซื้อ” ราคาเหมาะสมปี 23 เท่ากับ 8.90 บาท) Downside Risk จํากัด
- เราคาดว่าผลประกอบการปี 23 มีโอกาสชะลอตัวลง โดยมีสาเหตุจาก 1) ราคาขายที่เริ่มมีการปรับลดลง ตามความต้องการซื้อ MDF ที่อ่อนตัวลง ประกอบกับประเทศเวียดนาม มีแผนเพิ่มกำลังการผลิตปี 23-24 ส่งผลให้มีอุปทานเพิ่มขึ้น 2) อัตรากำไรขั้นต้นมีโอกาสอ่อนตัวลง จากราคาต้นทุนวัตถุดิบทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับเงินบาทที่อยู่ในทิศทางแข็งค่า เราคงประมาณการรายได้และกำไรสุทธิปี 23 ที่ 3,458 ล้านบาท และ 492.2 ล้านบาท -17.2%YoY และ -27.7%YoY ตามลำดับ
- ความเห็น แม้ผลประกอบการมีแนวโน้มชะลอตัว แต่เรามองว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวลงสะท้อนประเด็นดังกล่าวแล้ว โดยเราประเมินมูลค่าโดยอิง Average PE ย้อนหลัง 3 ปี ที่ 14.4 เท่า ได้ราคาเหมาะสมปี 23 ที่ 8.90 บาท ยังมี Upside จากราคาปัจจุบัน คงคําแนะนํา ซื้อ
หุ้นมีข่าว
(+) BCH (Bloomberg consensus 23.60 บาท) ลั่นปีทองโรงพยาบาล หลังบอร์ด สปส. อนุมัติขึ้นค่าบริการเหมาจ่ายต่อหัวประกันสังคมเป็น 1,808 บาทต่อคนต่อปี จาก 1,640 บาท เริ่ม 1 พ.ค.นี้ หนุนรายได้เพิ่มปีละประมาณ 168 ล้านบาท ลงกำไรทันที ชูลูกค้าประกันสังคมมากสุดกว่า 1 ล้านราย เตรียมขอโควตาเพิ่ม คนไข้ต่างชาติไหลกลับ ผู้ป่วยในพุ่ง มั่นใจปีนี้ 1.3 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) SISB (Bloomberg consensus 32.75 บาท) รับทรัพย์รายได้เพิ่มจากการเปิดโรงเรียนใหม่ 2 แห่ง สาขานนทบุรี-ระยอง ปัจจุบันมีนักเรียนสมัครแล้วกว่า 220 คน จากเป้าหมาย 300 คน มั่นใจหนุนรายได้ปี 2566 เติบโต 30% จากปี 2565 ท่ีมีรายได้ 1,339.97 ล้านบาท และยังเดินหน้าเพิ่มจำนวนนักเรียนของโรงเรียนเดิมทั้ง 4 แห่งอย่างต่อเนื่อง พร้อมตั้งเป้าจำนวนนักเรียนแตะ 8,000 คนภายในปี 2568 (ที่มา ทันหุ้น)
(+) THANI (Bloomberg consensus 4.50 บาท) มองไตรมาส 1/2566 ดีมานด์สินเชื่อขยายตัวดีขึ้น หลังเปิดประเทศ กิจกรรมเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระมากขึ้น วางกลยุทธ์คุมเข้ม NPL ต่ำ 3% วางเป้ายอดสินเชื่อใหม่ 3 หมื่นล้านบาท และพอร์ตคงค้างปี 2566 โตไม่ต่ำกว่า 10% จากปีก่อน (ที่มา ทันหุ้น)
(+) NDR (Bloomberg consensus – บาท) มีสัญญาณผลงานไตรมาส 2/2566 เทิร์นอะราวด์ หลังติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป เฟส 2 พฤษภาคมนี้ คาคลดต้นทุนค่าไฟได้เดือนละ 1.3-1.5 ล้านบาท มั่นใจหนุนกำไรดีกว่าปีก่อน ส่วนยอดขายตั้งเป้าไว้ราว 900-950 ล้านบาท เดินหน้าผลิตรถจักยานยนต์ EV ชี้เทรนโต 100% (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 12 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. เผยแพร่รายงานการประชุมกนง.ฉบับย่อและรายงานนโยบายการเงิน
- สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์
- กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการส่งออก-นำเข้า
- 18-21 เม.ย. หุ้นกลุ่มธนาคารส่งงบการเงินงวด 1Q66
- สัปดาห์ที่ 5 สํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
- 28 เม.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 3 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงข่าว “ดัชนีเศรษฐกิจค้า”
- 14 พ.ค. เลือกตั้ง
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 12 เม.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมี.ค. สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสํานักงาน สารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- (เช้าวันที่ 13 เม.ย.) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 21-22 มี.ค.
- 13 เม.ย. จีน รายงานยอดนำเข้า ยอดส่งออก และดุลการค้าเดือนมี.ค.
- สหรัฐ รายงานจํานวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค.
- 14 เม.ย. สหรัฐ รายงานยอดค้าปลีกเดือนมี.ค. การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมี.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนเม.ย.จาก มหาวิทยาลัยมิชิแกน