KS Daily View 24.04.2023 >>> เงินเฟ้อสหรัฐฯ เม.ย. มีโอกาสเด้งขึ้น ภาพรวมถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศ SET คาดแกว่งตัวในกรอบ 1,540 – 1,585 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ KTB, BH

สรุปภาวะตลาดเมื่อวันวานนี้

ต่างประเทศ: ดัชนี  DJIA +0.07%, S&P 500 +0.09%, และ NASDAQ +0.11% โดยSector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่  Consumer Discretionary (+1.2%), Consumer staples (+0.75%), และ Healthcare (+0.68%) ส่วน Sector ที่ underperform ได้แก่ Materials (-0.91%), Energy (-0.59%), และFinancials (-0.39%)

ในประเทศ: SET Index ปรับตัวลดลง -6.74 จุด หรือ -0.43% ปิดที่ 1,580.73 จุด หุ้นที่ปรับขึ้นได้แก่ TTB (+4.9%), KTB (+4.0%), SCB (+3.3%), และ KKP (+2.8%) เป็นต้น ส่วนหุ้นที่ปรับลงแรง ได้แก่ HANA (-7.4%), DELTA (-7.3%), TQM (-4.9%), และ KCE (-3.9%) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:

เราประเมินตลาดหุ้นไทยสัปดาห์นี้แกว่งตัวในกรอบ 1,540 – 1,585 จุด  ภาพรวมยังถูกกดดันจากปัจจัยต่างประเทศ ได้แก่ ความเสี่ยง Recession และโอกาสการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นจากภาวะเครดิตที่ตึงตัวสะท้อนผ่านการตั้งสำรองของธนาคารพาณิชย์สูงขึ้น ขณะที่ตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือน เม.ย. มีโอกาสเด้งขึ้นหลังราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้เฟดยังต้องขึ้นดอกเบี้ยต่ออีก 25bps. ในรอบการประชุม 2-3 พ.ค. และคงดอกเบี้ยที่ระดับ 5-5.25% จนถึงปลายปีก่อนลดดอกเบี้ยลง 25-50bps. ขณะที่ความไม่แน่นอนในผลการเลือกตั้งของไทยยังเป็นปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนเลือกตัดสินใจชะลอตัวการลงทุนออกไปก่อน สัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่เรา cover 7 แห่งรายงานกำไร 1Q23 ออกมาดีกว่าคาด 14% และดีกว่า Bloomberg consensus คาด 8% ทำให้มีโอกาสที่จะเห็นโมเมนตัมเชิงบวกต่อจากโอกาสที่ ธปท. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps. ในวันที่ 31 พ.ค. หนุน NIM สูงขึ้น สำหรับสัปดาห์หน้าติดตามการรายงานกำไร 1Q23 ของ HMPRO, DELTA, BH, ITC, SCGP และ SCC

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) การค้นหาตั๋วต่างประเทศในประเทศจีนในช่วง Golden week อยู่ที่ 120% ของระดับในปี 2019 สื่อของรัฐรายงานโดยอ้างการประมาณการจาก Trip.com ณ วันที่ 18 เมษายน โดยยอดจองจริงมีมากกว่าปีที่แล้วถึง 10 เท่า มองเป็นsentiment บวกกับกลุ่มท่องเที่ยว

2.) ตลาดหลักทรัพย์ฯ เตือนผู้ลงทุนศึกษาข้อมูลอย่างรอบคอบ ก่อนตัดสินใจซื้อขาย DELTA หลังหลุด “แคชบาลานซ์” 24 เม.ย.นี้ ชี้หากพบสภาพการซื้อขายผิดไปจากสภาพปกติโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานสนับสนุน จะถูกยกระดับเข้าสู่มาตรการกำกับการซื้อขายระดับ 2 และ 3 ต่อไป

3.) TSMC บริษัทผู้ผลิตชิปชั้นนำของโลกส่งสัญญาณว่าการชะลอตัวอย่างรวดเร็วที่สุดของอุตสาหกรรมในรอบกว่าทศวรรษนั้นยาวนานกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากความต้องการชิปในธุรกิจยานยนต์ที่ลดลง กอปรกับยอดขายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและสมาร์ทโฟนตกต่ำ มองเป็นลบกับกลุ่ม Electronics ในภาพรวม

4.) ธนาคารพาณิชย์ผลักดันแผนรื้อโครงสร้าง “ค่าธรรมเนียม” การทำธุรกรรมเงินสดผ่านสาขาและเครื่องเอทีเอ็มให้สะท้อนต้นทุนแท้จริง แจงธนาคารแบกต้นทุนการจัดการเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มกว่าหมื่นล้านบาท สวนทางค่าฟีบัตรเอทีเอ็ม-เดบิตลดฮวบต่อเนื่อง โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาของ ธปท.

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

1.) หุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุนหรือทิศทางผลประกอบเติบโต (Quality Growth) ได้แก่

1.1) AMATA ราคาพื้นฐาน 26.50 บาท คาดกำไรปกติปี 2023 เติบโต 11% YoY เป็น 1.65 พันลบ. ขณะที่ AMATA ตั้งเป้ายอดขายที่ดินปีนี้โต 50% YoY เป็น 2,250 ไร่หนุนจากการย้ายฐาน และความเชื่อมั่นภาคเอกชนฟื้นตัวหลังเลือกตั้งกลางปี และ

1.2) BE8 ราคาพื้นฐาน 69.08 บาท คาดกำไรปี 2566 ท่ี 302 ลบ. เติบโต 118% YoY หนุนโดยธุรกิจหลักเติบโตดีต่อ การรวมบัญชีทั้งปีของ X-10 และ Baycom ราคาหุ้นปัจจุบันปรับตัวลง -25% YTD มาเทรดที่ P/E ปี 2023 ที่ 37x vs. EPS growth ปี2023-24 ที่ 118% YoY/39% YoY ตามลำดับ

2.) กลุ่ม Defensive ที่จะช่วยลดความผันผวน/ความเสี่ยงของพอร์ทการลงทุนรวม แนะนำ 2.1) BH ราคาพื้นฐาน 237 บาท เก็งงบ 1Q23 ที่คาดว่าจะรายงานกำไรปกติที่ 1.53 พันลบ. โต 114% YoY มาจากรายได้และอัตรากำไรที่สูงขึ้นทำให้มีโอกาสที่หุ้นจะถูก rerate ไปเทรดระหว่างค่าเฉลี่ย P/E 31.7x กับ +1 S.D. ที่ 41.4x vs. EPS คาดการณ์ปีนี้ที่7.50 บาท และ 2.2) KTB ราคาพื้นฐาน 20.40 บาท กำไร 1Q23 โต 15% YoY และทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 1 หมื่นลบ. vs. คาดการณ์ทั้งปีของเราที่ 3.6 หมื่นลบ. ขณะที่ ROE ปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 10% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่8.5% แต่ PBV ยังเทรดที่ 0.6x ต่ำกว่าคาดเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 0.65x

3.) กลุ่ม พลังงาน แนะนำ PTTEP ราคาพื้นฐาน 172 บาท เพื่อ hedge กับทิศทางราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะปรับตัวขึ้นทดสอบระดับ U$90/bbl

4.) กลุ่ม Turnaround play แนะนำ SCGP ราคาพื้นฐาน 49 บาท แม้กำไรปกติ 1Q23 จะอ่อนแอที่ 1.08 พันลบ. ลดลง37.2% YoY แต่เพิ่มขึ้น 72.4%QoQ และคาดว่าจะเร่งตัวขึ้นต่อเนื่อง QoQ ในช่วงที่เหลือของปีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีน

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

  • KTB (ราคาพื้นฐาน 20.40 บาท) กำไร 1Q23 โต 15% YoY และทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 1 หมื่นลบ. vs. คาดการณ์ทั้งปีของเราที่ 3.6 หมื่นลบ. ขณะที่ ROE ปรับตัวขึ้นมาที่ระดับ 10% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 8.5% แต่PBV ยังเทรดที่ 0.6x ต่ำกว่าคาดเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 0.65x
  • BH (ราคาพื้นฐาน 237 บาท) เก็งงบ 1Q23 ที่คาดว่าจะรายงานกำไรปกติที่ 1.53 พันลบ. โต 114% YoY มาจากรายได้และอัตรากำไรที่สูงขึ้น ทำให้มีโอกาสที่หุ้นจะถูก rerate ไปเทรดระหว่างค่าเฉลี่ย P/E 31.7x กับ +1 S.D. ที่ 41.4x vs. EPS คาดการณ์ปีนี้ที่ 7.50 บาท แนะนำขายทำกำไรที่ 250 บาท หรือ คิดเป็น upperbound 10% ของราคาพื้นฐานที่ 237 บาท

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ

  • วันจันทร์ ติดตาม Ifo business climate index ของเยอรมัน เดือน เม.ย. คาด 93.7 จุด(+0.4% MoM) และตัวเลข Dallas Fed Manufacturing index เดือน เม.ย. คาด -17 จุด (แย่ลงจาก -15.7 จุด)
  • วันอังคาร ติดตาม ดัชนีราคาบ้าน S&P/Case-Shiller Home Price เดือน ก.พ. ของสหรัฐฯ คาด -0.6% MoM และ+1.3% YoY ยอดขายบ้านใหม่ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +1.1% MoM เป็น 0.635M ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 104.2 จุด (ทรงตัว MoM)
  • วันพุธ ติดตาม ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน มี.ค. คาด -15.2% YoY และ -4.7% YoY ตามลำดับ ขณะที่คาดว่าดุลการค้าของไทยจะขาดดุล US$1bn ตัวเลข GfK Consumer Confidence ของเยอรมันเดือน พ.ค. คาด -28 จุด (ดีขึ้นจาก -29.5 จุด) ตัวเลข Durable Goods Orders ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.9% MoM (ดีขึ้นจาก -1% MoM ในเดือน ก.พ.) และปริมาณสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐฯ รายสัปดาห์
  • วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลข GDP 1Q23 ของสหรัฐฯ คาด +2% QoQ ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด +249K (เทียบสัปดาห์ก่อนที่ +245K) ตัวเลข Pending Home Sales เดือน มี.ค. คาด +1% MoM
  • วันศุกร์ ติดตาม การประชุม BOJ ตัวเลข GDP 1Q23 ของยุโรป คาด +0.2% QoQ และ +1.3% YoY ตัวเลขเงินเฟ้อของเยอรมันเดือน เม.ย.คาด +7.2% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +7.4% YoY) ตัวเลข Core PCE Price Index ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.4% MoM ตัวเลข Personal Income ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด +0.2% MoM และตัวเลข Personal Spending ของสหรัฐฯ เดือน มี.ค. คาด -0.1% MoM
- Advertisement -