บล.พาย:
SCB – SCB X PCL แนวโน้มโตอย่างมั่นคงมากขึ้น
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 122 บาท กำไรสุทธิไตรมาส 1/23 อยู่ ที่ 1.10 หมิ่นล้านบาท (+8% YoY, +54% QoQ) เรามองเป็นกลางสำหรับการประชุมนักวิเคราะห์ และยังคงประมาณการการเติบโตของกำใรสุทธิที่ 14% สำหรับปี 2023 ทั้งนี้ SCB ยังเน้นการขยายกิจการ Gen 2 และ Gen 3 และการใช้เงินทุนเพื่อปลดล็อคมูลค่าผู้ถือหุ้น ด้วยเป้าหมายในการกระตุ้นอัตราส่วนผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) สู่หลักสิบกลางในปี 2025 มูลค่าหุ้นที่ 0.7XPBV’23E หรือ -1.25SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี ถือว่าน่าดึงดูด
การประชุมนักวิเคราะห์
- SCB คาด GDP ไทยปี 2023 จะโต 3.9% หนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่อง
- SCB ตั้งสำรองหนี้ฯ เพิ่มเติมสำหรับลูกค้ารายใหญ่ 1 รายที่มีปัญหาด้านเครดิตในไตรมาส 1/23 ทําให้ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้สูญเพิ่มเป็น 166bp (แนวทางธนาคารสำหรับปี 2022 ที่ 120-140bp) ผู้บริหารชี้แจงว่าการตั้งสำรองหนี้ฯ ดังกล่าวน่าจะลดลงในไตรมาส 2/23 และคาดว่าจะมีการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่ลดลงมากในครึ่งปีหลัง
- ด้วยอานิสงส์จากการขึ้นดอกเบี้ย จึงคาดว่าอัตราส่วนต่างดอกเบี้ย (NIM) จะเพิ่มขึ้นในไตรมาส 2/23 และ NIM ทั้งปี 2023 อาจสูงกว่า 3.6% (แนวทางผู้บริหารมากกว่า 3.5%)
- SCB คาดธุรกิจผู้บริโภคและบริการการเงินดิจิทัล Gen 2 จะมีส่วนแบ่งกำไรที่สูงขึ้นต่อ SCBX โดยรวม และคาดว่าผลการดำเนินงานของธุรกิจแพลตฟอร์มและสินทรัพย์ดิจิทัล (Gen 3) จะปรับดีขึ้นในปี 2023
- เพื่อปลดล็อคมูลค่าผู้ถือหุ้น SCB จึงรีดประสิทธิภาพจากเงินทุนอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งด้วยการจ่ายเงินปันผลระดับสูงเพื่อกระตุ้น ROE ให้สูงขึ้น
ผลประกอบการไตรมาส 1/23 ที่แข็งแกร่ง
กำไรสุทธิไตรมาส 1/23 อยู่ที่ 1.10 หมื่นล้านบาท (+8% YoY, +54% 000) สูงสุดในกลุ่มธนาคารไทย การเติบโตที่แข็งแกร่ง QoQ เป็นผลจากรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ย (non-NII) ที่สูงขึ้น และค่าใช้จ่ายการดำเนินงาน (OPEX) ที่ลดลง ด้านคุณภาพสินเชื่อค่อนข้างทรงตัว อัตราส่วนหนี้สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL ratio) ทรงตัว 200 ที่ 3.3% และอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ปรับเพิ่มเป็น 163.8%
แนวโน้มโตมั่นคง
การที่ SCB จะก้าวเป็นบริษัทเทคโนโลยีก็มีความจําเป็นที่จะต้องลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT มากขึ้น เราจึงยังคงสมมติฐานอัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ (CIR) ที่ 45% สอดคล้องกับแนวทาง SCB โดยคาดกำใรสุทธิจะโตมั่นคงมากขึ้นที่ 14% 15% ในปี 2023-24 เทียบ 6% ในปี 2022
คงคำแนะนำ “ซื้อ” มูลค่าพื้นฐาน 122.00 บาท
มูลค่าพื้นฐาน 122.0 บาท คํานวณด้วยวิธี GGM (ROE 9.5%, TG 2%) อิง 0.86x PBV’23E หรือ -1.0SD ต่อค่าเฉลี่ย 10 ปี คำแนะนำซื้อสะท้อน 1) ภาพรวมการเติบโตของกำไรสุทธิที่มั่นคงมากขึ้นและ ROE ที่สูงขึ้น 2) NIM ที่สูงขึ้นจากดอกเบี้ยขาขึ้น 3) มีอัตราผลตอบแทนเงินปันผลที่สูงสุดในกลุ่มธนาคาร 4) อานิสงส์ที่อาจได้รับจากกระแสดิจิทัลในภูมิภาค และ 5) มูลค่าหุ้นไม่แพง
สรุปผลประกอบการไตรมาส 1/23
- กำไรสุทธิไตรมาส 1/23 อยู่ที่ 1.10 หมื่นล้านบาท (+8% YoY, +54% QoQ) สูงกว่าคาด 14% จาก non-NII ที่สูงเกินคาด การเติบโต YoY ได้แรงหนุนจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NII) ที่สูงขึ้นจากการขึ้นดอกเบี้ย ส่วนในเชิง QoQ แม้จะมีการตั้งสำรองหนี้ฯ ที่สูงขึ้น แต่กำไรก็โตขึ้น QoQ จากกำไรมูลค่ายุติธรรมผ่านกำไรขาดทุน (FVTPL) ที่สูงขึ้นเป็น 2.3 พันล้านบาท เทียบ -507 ล้านบาทในไตรมาส 4/22 และ OPEX ที่ลดลง
- NIM ลดลง QoQ เป็น 3.5% หลังกลับมาจ่ายค่าธรรมเนียมกองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ที่ 0.46% แต่ NIM ยังสูงกว่า 3.1% ในไตรมาส 1/22 จากการขึ้นดอกเบี้ยหลายครั้ง ด้าน CIR ลดลงเหลือ 41%
- สินเชื่อโต 0.9% QoQ ในไตรมาส 1/23 หนุนจากสินเชื่อ SME รายย่อย และสินเชื่อภายใต้บริษัทย่อย
- คุณภาพสินเชื่อค่อนข้างทรงตัว ด้วย NPL ratio ที่ทรงตัวในระดับ 3.3% สำหรับอัตราส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ ปรับเพิ่มเป็น 163.8% เพียงพอต่อการรับมือกับความไม่แน่นอนในอนาคต