ตลาดหุ้นเมื่อวันศุกร์

SET Index ลดลง 2 จุด ปิดที่ระดับ 1,528 จุด ดัชนียังผันผวนขึ้นลงตามราคาหุ้น DELTA, มูลค่าการซื้อขายเบาบางเนื่องจากนักลงทุนขายลดเสี่ยงก่อนวันหยุดยาว

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้      

ประเมิน SET แกว่งตัว 1,520 – 1,540 จุด เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่โดยคาดว่าภาวะตลาดจะเป็นลักษณะ Selective buy หุ้นที่มีข่าวเฉพาะตัว แต่จะมีความผันผวนสูงจากแรงขายลดความเสี่ยงเพื่อรอผลการประชุม FED ที่คาดว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% สู่ 5.25% อีกทั้งตัวเลข PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย.ของจีนที่ชะลอตัวลงสู่ 49.2 จะกดดันทิศทางการลงทุนช่วงนี้

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • BBL KTB TTB KBANK SCB แนวโน้มกำไร 2Q23 ยังคงเติบโต
  • ADVANC INTUCH BCH WHAUP CPALL SISB ICHI คาดการณ์งบ 1Q23F เติบโตขึ้น

หุ้นแนะนำวันนี้

  • SCB (ปิด 103.5 ซื้อ/เป้า 160 บาท) กำไรสุทธิ 1Q23 โตแกร่ง แนวโน้ม 2Q23 ยังโตต่อเนื่องจาก NIM ที่เพิ่มขึ้นตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติ ส่วนการตั้งสำรองหนี้ฯ คาดว่าจะปรับลงสู่ระดับปกติที่ระดับ 7-8 พันล้านบาทจาก 9,900 ใน 1Q23
  • BGRIM (ปิด 38.75 ซื้อ/เป้า IAA Consensus 47.5 บาท) ได้ Sentiment บวกจากราคาพลังงานลดลง ด้านผลประกอบการคาดงบ 1Q23 พลิกมีกำไรจากที่ขาดทุนสุทธิใน 4Q22 หนุนจากค่า Ft เพิ่มขึ้นและต้นทุนลดลง

บทวิเคราะห์วันนี้

  • BEM (ปิด 8.85 ซื้อ/เป้า 11.5), Property sector

ประเด็นสำคัญวันนี้

(+) แนวโน้ม ศก. ไทยเดือน เม.ย. โรงแรม ค้าปลีกดีต่อ ส่วนอสังหาฯ มีสัญญาณบวก: ธปท. รายงานภาวะ ศก. เดือน มี.ค. โดยรวมชะลอตัวตามภาคการค้า แต่ผลสำรวจเดือน เม.ย. มีสัญญาณดีขึ้น โดยภาคท่องเที่ยว และบริการยังดีต่อเนื่อง ภาคอสังหาฯ มีสัญญาณฟื้นตัว แต่ภาคการค้าและการผลิตยังชะลอตัว

(+) เจพีมอร์แกนซื้อกิจการ เฟิร์สท์ รีพับลิก แบงก์ คลายกังวลวิกฤติธนาคารในสหรัฐ: วานนี้ เจพีมอร์แกน ตกลงเข้าซื้อกิจการของธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิก แบงก์ (FRB) เป็นที่เรียบร้อย ปัจจัยนี้ช่วยคลายกังวลให้กับตลาด เนื่องจากก่อนหน้านักลงทุนกังวลว่า FRB อาจจะต้องถูกสั่งปิดคล้าย SVB หลังจากลูกค้าแห่ถอนเงินเป็นจำนวนมากขณะที่ราคาหุ้นร่วงลงราว 90% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน

(+/-) สัปดาห์นี้จับตาม FED Meeting คาดขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย: เราคงมุมมองเดิมคาด FED meeting 2-3 พ.ค. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25% เป็น 5-5.25% แต่คาดเป็นการปรับขึ้นครั้งสุดท้ายจากนั้นจะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับดังกล่าวเพื่อประเมินผลกระทบจากดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจากนั้นจึงจะพิจารณาลดอัตราดอกเบี้ยในช่วงปลายปีนี้

ข่าวในประเทศและต่างประเทศ

สรุปข่าวเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศ

ไทย

(-) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน มี.ค. 66 ลดลงสู่ระดับ 104.65 หดตัว 4.56%yoy ส่งผลให้ 1Q23 หดตัว 3.94% เป็นผลจากความต้องการซื้อจากต่างประเทศชะลอตัวตามทิศทาง ศก.

สหรัฐ

(-) ดัชนี PCE ท่ัวไป +4.2%yoy ในมี.ค. ชะลอตัวจากระดับ 5.1% ในก.พ. ส่วนดัชนี PCE พื้นฐาน ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน และเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสําคัญ เพิ่มขึ้น 4.6%yoy ในมี.ค. สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 4.5% แต่ชะลอตัวจากระดับ 4.7% ในก.พ.

ยุโรป

(-) สํานักงานสถิติของยูโรโซน (Eurostat) เปิดเผยในวันศุกร์ (28 เม.ย.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาสแรกของยูโรโซนขยายตัว 0.1% เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ซึ่งสอดคล้องกับรายงานก่อนหน้าน้ี แต่ต่ำกว่าระดับคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ที่ 0.2%

เอเชีย

(-) สํานักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนเม.ย.ของจีนอยู่ที่ 49.2 ลดลงจากระดับ 51.9 ในเดือนมี.ค. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 51.4 โดยดัชนีอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนหดตัวลง และเป็นการหดตัวลงคร้ังแรกนับต้ังแต่เดือนธ.ค. 2022

- Advertisement -