ตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศอ่อนตัว
สรุปภาวะตลาด
วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้นในช่วงแรก เป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่จากแรงเทขายหุ้นต่อเนื่อง ทำให้ดัชนีลดช่วงบวกลง โดยนักลงทุนติดตามการรายงานตัวเลข PCE ของสหรัฐ และการประชุมเฟดช่วงต้นเดือน พ.ค. ประกอบกับนักลงทุนชะลอการซื้อ-ขาย ก่อนเข้าสู่ช่วงหยุดยาว ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,529.12 จุด -2.11 จุด -0.14% มูลค่าการซื้อขาย 45,043 ลบ. ต่างชาติ -2,722.20 ลบ. TFEX +4,666 สัญญา ตราสารหนี้ -3,241.01 ลบ.
ปัจจัยบวก +
+ เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค เข้าซื้อกิจการธนาคาร เฟิร์สท์ รีพับลิก แบงก์ (FRB) ครอบครองเงินฝาก 9.2 หมื่นล้านดอลลาร์ รวมถึงเงินกู้อีก 1.73 แสนล้านดอลลาร์ และหลักทรัพย์ 3 หมื่นล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ เจพีมอร์แกน ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐมีขนาดสินทรัพย์เพิ่มขึ้นอีก
+ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายของสหรัฐ ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน โดยปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 50.2 ในเดือนเม.ย. จากระดับ 49.2 ในเดือนมี.ค.
ปัจจัยลบ –
– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 46.46 จุด -0.14% กังวลเก่ียวกับวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐ หลังมีรายงานว่าเจพีมอร์ แกน เชส แอนด์ โค เข้าซื้อกิจการธนาคารเฟิร์สท์ รีพับลิก แบงก์ ซึ่งประสบปัญหาสภาพคล่อง และคาดว่า FED จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ดัชนีดาวโจนส์ +0.9%
– สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 1.12 ดอลลาร์ -1.46% ปิดท่ี 75.66 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจีนรายงานว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตหดตัวใน เดือนเม.ย. และความกังวลที่ว่า FED จะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ สัปดาห์ที่ผ่านมาสัญญาน้ำมัน WTI -1.4%
– กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยว่าอาจไม่มีเงินที่จะชำระค่าใช้จ่ายทั้งหมดของรัฐบาลอย่างเร็วที่สุดในเดือนมิ.ย.นี้ หากไม่มีการปรับเพิ่มเพดานหนี้ ทำให้ปธน.ไบเดนเรียกประชุมผู้นำสภาฯ ด่วนในวันที่ 9 พ.ค.น้ี
– ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ในวันที่ 2-3 พ.ค. จะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% สู่ระดับ 5-5.25% ซึ่งคาดจะเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งสุดท้าย หลังการปรับขึ้นดอกเบี้ยแรงในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว
– สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่าในช่วง 1Q66 ผู้ประกอบการ SME จำนวน 53.4% ยังคงมีภาระหน้ีสิน เพิ่มขึ้นจาก 44.7% ในช่วง 4Q65 ท้ังนี้ สัดส่วนที่ผิดชำระหน้ีสูงขึ้นส่วนหน่ึงมาจากภาวะเศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีในวันนี้พักฐานต่อเนื่องจากเศรษฐกิจไทยในเดือนมี.ค.เริ่มชะลอตัวตามการส่งออก สอดคล้องกับตัวเลข เศรษฐกิจของต่างประเทศที่อ่อนแอ ท้ังเงินเฟ้อส่วนบุคคลสหรัฐ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐและจีนที่ชะลอตัว รวมถึง ฝรั่งเศสถูกปรับลดอันดับความน่าเช่ือถือจาก AA สู่ AA- จากปัญหาขาดดุลงบประมาณและหน้ีสูง มองกรอบดัชนี ในวันนี้ที่ 1,525-1,540 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้นเชื่อมโยงการเมือง : TKS SIRI PR9 SC STEC STPI
- จำนวนนักท่องเท่ียวปรับตัวเพิ่มขึ้น :AOT BAFS AAV BA MINT CENTEL ERW
- หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL COM7 CPALL
- โอมิครอนสายพันธ์ุ XBB.1.16 ระบาด : BCH CHG VIBHA EKH
- สินค้าส่งออกเดือนมี.ค.ที่ยังขยายตัว : KBS BRR KSL GFPT TFG SNC
หุ้นรายงานพิเศษ
SISB (Bloomberg Consensus 32.75 บาท) คาดกาไร 1Q66 Record High ต่อเนื่อง
- คาดกำไร 1Q66 อยู่ที่ราว 145-150 ลบ.+137%YoY และ +17%QoQ โดยได้แรงหนุน 1) จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น 150 คน จากไตรมาสก่อนสู่ 3,264 คน และ 2) การปรับขึ้นค่าเล่าเรียน 5% ต้ังแต่ ส.ค. 65 ช่วยหนุนอัตรากำไรขั้นต้นให้สูงกว่า 53.3% ขณะที่ต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนคงที่
- ผบห.ต้ังเป้าปี 66 มีจานวนนักเรียน 3,700 คน โดยได้แรงหนุนจากการเปิดโรงเรียน นนทบุรี และระยองช่วงเดือน ส.ค. 66 ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนสมัครเข้ามาท้ัง 2 สาขาแล้ว 250 คน จากเป้าหมาย 300 คน เป็นปัจจัยหลักที่หนุนการเติบโต นอกจากนี้ในเดือน ส.ค. 66 จะปรับขึ้นค่าเล่าเรียนอีก 5% ท้ังนี้ บริษัทมีแผนขยายห้องเรียนที่สาขา ประชาอุทิศ ธนบุรี และเชียงใหม่ เพิ่มเติมเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
- ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลการดำเนินงาน 1Q66 และผลประกอบการปี 66 ที่คาดว่าจะเติบโต 137%YoY และ 69%YoY สู่ 145-150 ลบ. และ 625 ลบ.ตามลำดับ เนื่องจากจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และการเปิดเรียนที่โรงเรียนเต็มรูปแบบ อีกทั้งโรงเรียนอีก 2 สาขาจะแล้วเสร็จช่วง ส.ค. 66 ช่วยหนุนการเติบโตเพิ่มเติม เราจึงแนะนำ “ซื้อ”
หุ้นมีข่าว
(+) GFPT (Bloomberg consensus 14.30 บาท) ขอมองผ่านจุดต่ำ Q1 เชื่อ Q2/2566 ฟื้นตัวขึ้น ส่วน Q3/2566 เข้าไฮซีซันการส่งออกไก่ ปีนี้ตลาดหลักยังเป็นญี่ปุ่น ยุโรป หวังต้นทุนข้าวโพด ถั่วเหลืองดีขึ้น ยืนยันปีนี้โต 3-5% เดินหน้าขยายโรงเชือด ประกาศงบวันที่ 11 พฤษภาคมนี้ (ที่มา ทันหุ้น)
(+) EA (Bloomberg consensus 96.50 บาท) แย้มลูกค้ารายใหญ่เจรจาซื้อ PCM หากปิดดีลจะเพิ่มกำลังการผลิตเท่าตัว เดินหน้าประมูลโครงการพลังงานทดแทนเฟสใหม่ 3,600 เมกะวัตต์ มั่นใจศักยภาพ ส่วนธุรกิจ EV ดีมานด์แกร่ง ครึ่งปีหลังออเดอร์ไหลเข้าเปลี่ยนใช้งานรถอีวีมากขึ้น เดินหน้าขยายแบต 4GW ปีนี้ เป้ารายได้ 4 หมื่นล้านบาท วอนรัฐบาลใหม่สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานอีวี (ที่มา ทันหุ้น)
(+) DMT (Bloomberg consensus – บาท) เผยปริมาณการจราจรทางยกระดับดอนเมืองกลับมาถึงระดับ 110,000 คันต่อวัน และคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังมีโอกาสถึงระดับ 120,000 คันต่อวัน จากกิจกรรมการเดินทางที่เพิ่มขึ้น การท่องเที่ยวกลับมา แถมเข้าไฮซีซันฤดูฝน-เปิดเทอม ลุยประมูลโครงการ M82 กลางปี 2566 ส่วน M5 คาดประมูลปี 2567 ส่วนธุรกิจซ่อมบำรุง คาดปีนี้โกยรายได้ 10-50 ล้านบาท ปีหน้าแตะ 100 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
(+) ROJNA (Bloomberg consensus 7.40 บาท) เผยลูกค้าจีนเจรจาซื้อที่ดินต่อเนื่อง เล็งเพิ่มเป้ายอดขายปีนี้จากเดิมต้ังไว้ 400-500 ไร่ แย้มไตรมาส 1/2566 ทายอดขายได้ใกล้เคียงเป้าแล้ว ส่วนธุรกิจขายไฟฟ้า-น้ำ คาดสร้างรายได้กว่า 1 หมื่นล้านบาท ระบุค่าไฟฟ้าแพงโอกาสขายโซลาร์เซลอย่างมาก ส่วนการลงทุน GULF หนุน (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 3 พ.ค. กระทรวงพาณิชย์แถลงข่าว “ดัชนีเศรษฐกิจการค้า”
- 14 พ.ค. เลือกตั้ง
- 31 พ.ค. กำหนดประชุมกนง.ครั้งที่ 3/2566
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 2 พ.ค.อียู รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย.
- สหรัฐ รายงานตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน และอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนมี.ค.ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนมี.ค.
- 2-3 พ.ค.การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (FED)
- 3 พ.ค.อียูรายงาน อัตราว่างงานเดือนมี.ค.
- สหรัฐ รายงานตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนเม.ย. จาก ADP ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนเม.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล ดัชนีภาคบริการเดือนเม.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทาน ของสหรัฐ (ISM) สต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
- (เช้าวันที่ 4 พ.ค.) ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ย
- 4 พ.ค. จีน รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนเม.ย.จากไฉซิน
- อียู รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมี.ค.
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) แถลงมติอัตราดอกเบี้ย