บล.ฟิลลิป:

ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป – TU 1Q66 ต้นทุนวัตถุดิบสูงกว่าคาด

Key Point

1Q66 กำไร 1,022 ลบ. -41.5%y-y -17.3%q-q คำสั่งซื้อของลูกค้าลดลง จากภาวการณ์ขนส่งปีนี้กลับสู่ภาวะปกติ และผลกระทบจากภาวะโลกร้อนตั้งแต่ต้นปี และเอลนีโญทำให้ปริมาณทูน่าจับได้น้อยลง ต้นทุนทูน่าสูงขึ้น y-y และ q-q เฉลี่ยที่ 1,820 เหรียญ/ตัน, GPM ลดลงอยู่ระดับ 15.1%, 2Q66 เห็นราคาวัตถุดิบบางส่วนลดลงอย่างมีนัย คาดทำ GPM ดีขึ้น และเริ่มเห็นคำสั่งซื้อกลับมาใน 2Q66 คาดธุรกิจจะค่อยๆ ฟื้นตัว คงคำแนะนำ “ซื้อ”

การขนส่งกลับสู่ภาวะปกติ

1Q66 มีรายได้ 32,651 ลบ. -10.0%y-y -17.6%%q-q ลดลงจากปีก่อนทุกธุรกิจหลัก จากเรื่องการขนส่งในปีก่อนที่เป็นปัญหาทำให้ลูกค้าต้องซื้อสินค้าเยอะเพื่อป้องกันการขนส่งล่าช้า แต่ปัจจุบันกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ทำให้การสั่งซื้อลดลง, GPM อยู่ระดับ 15.1% ลดลง y-y และ q-q, SG&A ดีขึ้นจากค่าขนส่งที่กลับสู่ภาวะปกติ, มีกำไรจากค่าเงิน 215 ลบ.

ยอดขายลดลงทุกธุรกิจหลัก / Red lobster กลับมามีกำไร

1.) ธุรกิจอาหารทะเลแปรรูป ยอดขายลดลง y-y และ q-q จากการปรับราคาเพิ่มในช่วงต้นปี ทำให้ปริมาณขายในส่วนของ OEM ลดลงเป็นหลัก ส่วนต้นทุนที่สูงขึ้นเกิดจากภาวะอากาศทำให้อุณหภูมิน้ำสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี และเอลนีโญที่เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่เดือน มี.ค. ทำให้ปลาทูน่าต้องหนีไปอยู่ในน้ำที่ลึกขึ้นและกระจายตัวยากต่อการจับ ส่งผลให้จับปลาได้น้อยลง ทำให้ราคาปลาทูน่าอยู่ในระดับสูงทั้ง y-y และ q-q

2.) ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็ง ยอดขายลดลง y-y และ q-q ราคาตลาดอาหารทะเลลดลงมาอยู่ในสภาวะปกติ ขณะราคาวัตถุดิบยังอยู่ในระดับสูง

3.) อาหารสัตว์เลี้ยงผลประกอบการลดลงจากลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อจากสต็อกลูกค้ายังอยู่ในระดับสูง เริ่มเห็นคำสั่งซื้อกลับมาใน 2Q66, ส่วน TFM แม้ยอดขายจะเติบโตขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ แต่ต้องเจอกับต้นทุนที่สูงขึ้นจนเกิดขาดทุน

4.) ธุรกิจผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่า ภาพรวมยอดขายลดลงจากราคาและปริมาณ, เป็นส่วนธุรกิจที่มีมาร์จิ้นสูง และกำลังจะมีโรงงานผลิตอาหารใน 3Q66 และโรงงาน Protein hydrolysate & collagen peptide เริ่มผลิตได้ใน 2Q66 และมีสินค้าอื่นๆ ที่เริ่มวางขายใน 7-11 และในเนเธอร์แลนด์ ตั้งแต่ต้นปี

5.) Red Lobster มีกำไรสุทธิ 134 ลบ. +76.3%y-y, ซึ่งเป็นช่วง Seasonal ที่มีการจัด Lobsterfest, คาดว่าใน ไตรมาสถัดๆ ไป หลังจากหมดเทศกาลจะยังคงขาดทุนต่อ แต่จะดีขึ้น y-y ในทุกๆ ไตรมาส, คาดปีนี้ขาดทุน 985 ลบ. ลดลงครึ่งหนึ่งจากปีก่อน

1Q66 มีกำไรสุทธิ 1,022 ลบ. -41.5%y-y-17.5%q-q, สาเหตุหลักจาก 1.) i-tail dilution จากการนำ ITC เข้าตลาดฯ (ใน 1Q65 หากเทียบสัดส่วน dilute ที่ 22.18% จะอยู่ราว 200 ลบ.) 2.) 1Q65 มีบันทึกกำไรจาก RL preferred interest จำนวน 318 ลบ. แต่ 1Q66 ไม่มีการบันทึก 3.) ที่เหลือเป็นส่วนของการดำเนินงานของธุรกิจที่กระทบประมาณ 21.8%y-y

เริ่มเห็นคำสั่งซื้อกลับมาใน 2Q66

ปริมาณกุ้งในประเทศมากขึ้นทำให้ราคากุ้งได้ปรับตัวลงมามากในเดือน เม.ย. ที่ 134 บาท/กก. จาก 168 บาท/กก. ใน 1Q66, ส่วนราคาทูน่าในเดือน เม.ย. ยังอยู่ระดับสูงที่ 1,980 เหรียญ/ตัน จาก 1,820 เหรียญ/ตัน ใน 1Q66 คาดว่า 2066 ราคายังอยู่ในระดับสูง และจะลดลงในปลาย 3066 จากอุณหภูมิ น้ำที่ดีขึ้น มองว่าวัตถุดิบบางตัวต้นทุนจะถูกลงกว่าไตรมาสแรก และเริ่มเห็นคำสั่งซื้อกลับมาใน 2066 คาดว่าจะทำยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นรวมได้ดีขึ้น และปีนี้เริ่มมองหาธุรกิจที่น่าสนใจเพื่อทำ M&A เนื่องจากมี Net Debt to Equity อยู่ในระดับต่ำที่ 0.57 เท่า โดยตั้งเป้าไว้ที่ 1.0 เท่า ซึ่งเป็นระดับ เดียวกับก่อนนำ ITC เข้าตลาดฯ

ปรับลดคาดการณ์รายได้

ทางฝ่ายประเมินราคาหุ้น โดยใช้ P/E เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี เฉลี่ยอยู่ที่ 14.2 เท่า เนื่องจากเป็นบริษัทฯที่มั่นคงและเป็นบริษัทฯที่ใหญ่ การลงทุนใหม่ๆจะทำให้ผลประกอบการเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทางบริษัทฯได้ปรับคาดการณ์ค่าเงินบาทแข็งค่าจาก 35 เป็น 34 บาท/ดอลลาร์ ทำให้มีการปรับลดรายได้ลง คาดกำไรสุทธิปี 66 ที่ 6,769 ลบ. -5.2%y-y, ราคาพื้นฐานปี 2566 อยู่ที่ 20.10 บาท/หุ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารให้สัญญาณแนวโน้มที่ดีขึ้นในไตรมาสที่สอง และราคาหุ้นปัจจุบันยังต่ำกว่าราคาพื้นฐาน คงคำแนะนำ “ซื้อ”

ความเสี่ยง

1.เกิดโรคระบาดในวัตถุดิบที่น่ามาผลิต

2. ความผันผวนของราคาวัตถุดิบส่งผลต่อต้นทุนการผลิตให้สูงขึ้น

3. กฎระเบียบการนำเข้าของคู่ค้าในประเทศต่างๆ

- Advertisement -