ASL ANALYSIS GUIDE
- ประเมิน SET Index พักตัวลดความร้อนแรงลง ระยะสั้นเน้นยืนแนวรับ 1,560-50 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา แนวต้าน 1,572-82
- วันนี้เคาะ IRPC กำไรสุทธิ 1Q66 เท่ากับ 301 ล้านบาท +104%QoQ แนวโน้มตลาดปิโตรฯ ในช่วง 2Q66 คาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีปรับสูงขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ
MARKET STRATEGY
สรุปตลาดวานนี้ SETI ปิดที่ 1,564.66 จุด เพิ่มขึ้น 2.41 จุด (+0.15%) มูลค่าการซื้อขาย 52,794.94 ล้าน บาท ตลาดยังคงรอรายงานตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐ และการขยายเพดานหนี้สาธารณะของสหรัฐ หลังจากตอบรับปัจจัยบวกจากผลประชุมเฟดไปแล้ว
Research Highlight: Sideway รอตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ-เพดานหนี้สหรัฐฯ
Update การเจรจาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ
- ประเด็น debt ceiling ที่ผ่านสภาล่างมาแล้วแต่ข้อเสนอจากทางเคลวิน แมคคาที ปธ.สภาจากรีพลับบลิกกัน กดดัน ปธน. ไบเดน เช่นการปรับลดค่าใช้จ่ายในอนาคต เช่นการยกเลิกการพักหนี้การศึกษา สวัสดิการสุขภาพ และคูปองช่วยเหลือ ค่าอาหาร แลกกับการเพิ่มเพดานหนี้อีก 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งก่อนหน้านี้พรรคเดโมแครตได้หาเสียงเกี่ยวกับการเพิ่มรัฐสวัสดิการ
- อ้างอิงจากบทวิเคราะห์ ASL Smart Invest 1-16 พ.ค. ที่ผ่านมา เราได้ประเมิน timeline จะอยู่ในช่วง มิ.ย.-ก.ค. ซึ่งตลาดจะเริ่มสะท้อนข่าวสารช่วงกลางเดือน พ.ศ. โดยจะเป็น Sentiment เชิงลบต่อหุ้น Infrastructure
- หากไม่มีการขยายเพดานหนี้สหรัฐอาจเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้ภายในวันที่ 1 มิ.ย. ซึ่งอาจทําให้เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยรุนแรง อัตราการว่างงานพุ่งสูง และสั่นคลอนเสถียรภาพระบบการเงินโลก โดยจะมีการหารือเพิ่มเติมกันของผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายวันวันศุกร์นี้
การเคลื่อนไหวราคาของสินทรัพย์เสี่ยง-ปลอดภัยยังทรงตัว
- ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลก, Dollar index และราคาทองคำแกว่งตัว sideway เราประเมินว่าตลาดอยู่ในภาวะ Wait&see โดยต้องจับตาตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในวันพุธและพฤหัสบดีตามลำดับ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด
- ตลาดคาด CPI เม.ย. +5.0%YoY ทรงตัวจากเดือนก่อน หากออกมาต่ำกว่าคาดจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้น เนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดโอกาสการคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไปของเฟดในเดือนมิ.ย.
- CME Fed Watch Tool นักลงทุนประเมินว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งถัดไป และจะเริ่มลดอัตราดอกเบี้ยช่วงเดือน ก.ย. นี้
FETCO รายงานดัชนีเชื่อมั่นนักลงทุนดีดขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ทรงตัว
- ผลสํารวจในเดือน เม.ย.66 พบว่า ดัชนีในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 110.09 เพิ่มขึ้น 15.1% จากเดือนก่อนหน้า โดยยังอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว”
- มองว่าการเลือกตั้งในประเทศจะเป็นปัจจัยหนุนความเชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือความคาดหวังต่อการไหลเข้าของเงินทุ นและการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว สำหรับปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ แนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟด รองลงมาคือสถานการณ์การเมืองในประเทศในช่วงเลือกตั้ง และสถานการณ์เงินเฟ้อ
- ในเชิงกลยุทธ์ตลาดมักจะแกว่งตัว sideway เมื่อดัชนีความเชื่อมั่นอยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” แนะทยอยสะสมกลุ่มท่องเที่ยว AWC MINT ERW AOT AAV กลุ่มธนาคาร KBANK KKP KTB กลุ่มปิโตรฯ (ระยะสั้น) TOP IRPC IVL PTTGC และกลุ่มค้า ปลีก-อาหาร CPALL BJC HMPRO CPN CRC TU
ติดตาม
- 10 พ.ค. CPI สหรัฐฯ เม.ย.
- 11 พ.ค. PPI สหรัฐฯ เม.ย. // CPI จีน เม.ย. // MSCI ประกาศทบทวนดัชนี (ลุ้น MAKRO)
Investment Strategy
- ประเมิน SET Index แกว่งตัว Sideway ระยะสั้นเน้นยืนแนวรับ 1560-50 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา แนวต้าน 1572-82
- ตลาดรอความชัดเจนด้านเสถียรภาพของรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง
Global Markets
(-) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดลบ โดยนักลงทุนระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่สหรัฐจะเปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมทั้งการประชุมของบรรดาผู้นำทางการเมืองของสหรัฐเพื่อหารือกันเกี่ยวกับการเพิ่มเพดานหนี้
(-) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดลดลง โดยถูกกดดันจากการเปิดเผยผลประกอบการที่อ่อนแอของบริษัทจดทะเบียนหลายแห่ง ขณะที่นักลงทุนรอการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
(+) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดบวก หลังจากมีรายงานรัฐบาลสหรัฐมีแผนที่จะซื้อน้ำมันดิบ เพื่อเติมเต็มคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐ (SPR)
(+) สัญญาทองคำตลาด COMEX ปิดบวกติดต่อกันเป็นวันที่ 2 โดยได้แรงหนุนจากการที่นักลงทุนกันเข้าซื้อ ทองในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤตการณ์ในภาคธนาคารของสหรัฐ ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อของสหรัฐในวันนี้
หุ้นเคาะไป คุยไป..IRPC
- IRPC รายงานกำไรสุทธิ 1Q66 เท่ากับ 301 ล้านบาท +104%QoQ จากรายได้ขายที่เพิ่มขึ้นตามปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้น 62% ขณะที่ราคาขายเฉลี่ยสุดลง 24% ตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลง รวมถึงมีอัตราการกลั่นอยู่ที่ 196,000 บาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 65% หลังใน 4Q65 มีการปิดซ่อมบำรุงใหญ่ราว 1 เดือน ทั้งนี้ Market GIM อยู่ที่ 11.8เหรียญสรอ.ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 172% จากต้นทุน crude premium ที่ลดลง ประกอบกับส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ 80%YoY จาก การขายที่ลดลง ตามราคาขายเฉลี่ยที่สุดลงกว่า 13% และการบันทึกขาดทุนจากการบริหารความเสี่ยงน้ำมันที่ยังไม่เกิดขึ้นราว 27 พันล้านบาท
- แนวโน้มตลาดปิโตรฯ ในช่วง 2Q66 คาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีปรับสูงขึ้นแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่มีสต๊อกสินค้าระดับสูง ขณะที่ความต้องการในภูมิภาคยังคงระดับต่ำจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว เพราะความกังวลวิกฤตการเงินของธนาคารหลายแห่งทั้งในสหรัฐฯ และยุโรป ซึ่งมีโอกาสลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันก็มีกําลังการผลิตใหม่ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นทั้งจากประเทศจีน มาเลเซีย และเวียดนาม จะเป็นแรงกดดันให้ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในภูมิภาคเอเชียลดลง ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันคาดว่าปริมาณการใช้น้ำมันของโลกจะเพิ่มขึ้น สาเหตุหลักจากการเปิดประเทศของจีน รวมถึงธุรกิจการบินมีแนวโน้มเติบโตตามการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวใกล้ถึงระดับก่อนการระบาดของ COVID-19