KS Daily View 16.05.2023 >>> ติดตามการจัดตั้งรัฐบาล มองการลดลงของตลาดเป็นโอกาสซื้อ SET คาดแกว่งตัวในกรอบ 1,520-1,585 จุด หุ้นแนะนำ CK, CPALL
สรุปภาวะตลาดเมื่อวันวานนี้
ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA +0.14%, S&P 500 +0.30%, และ NASDAQ +0.66%โดย Sector ที่outperform ใน S&P500 ได้แก่ Materials (+0.85%), IT (+0.74%), Financial +0.82%) ส่วน Sector ที่ underperform ได้แก่ Utilities (-1.2%), Consumer staple (0.3%), Real Estate (-0.24%) เป็นต้น
ในประเทศ: SET Index -19.97pts. หรือ -1.28% เป็น 1,541.38 จุด ตัวที่ปรับตัวแย่กว่าตลาดได้แก่ SINGER (-19.3%), GUNKUL (-10.5%), JMART (-10.3%), BAM (-9.1%), GULF (-8.6%) เป็นต้น ส่วนตัวที่ปรับตัวดีกว่าตลาด ได้แก่ NEX (+24.3%), JAS (+18.4%), DELTA (+5.8%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:
คงมุมมองตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1520-1585 จุด ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงแรงกว่า 1.28% วานนี้ เนื่องจากตลาดกังวลสองประเด็น เรื่องแรกคือหุ้นที่เกี่ยวข้องกับสัมปทาน (BGRIM GULF INTUCH TRUE GPSC THCOM ADVANC) ปรับตัวลงจากนโยบายของพรรคก้าวไกลซึ่งเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลที่จะออกนโยบายจำกัดการผูกขาด นอกจากนี้ตลาดยังกังวลกับความเสี่ยงที่พรรคก้าวไกลจัดตั้งรัฐบาลไม่สำเร็จเพราะอาจรวบรวมเสียง ส.ส. หรือ ส.ว.ได้ไม่ถึง 376 เสียง ทำให้เสี่ยงที่ฝ่ายที่สนับสนุนพรรคก้าวไกลอาจลงถนนจนกระทบกับภาคการท่องเที่ยวที่กำลังฟื้นตัวดี ดังนี้หากมีพัฒนาการของข่าวด้านบวกอาจเห็นตลาดพลิกฟื้นตัวได้รวดเร็ว โดยเรามองแนวทางของการตั้งรัฐบาลเป็น 3 แนวทางคือ
1.) พรรคร่วมฝ่ายค้านตั้งรัฐบาล
2.) พรรคร่วมฝ่ายค้านดึงพรรคภูมิใจไทยเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลเพื่อปิดสวิสต์ ส.ว.
3.) พรรคอันดับสองคือเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล
โดยคาดจะเห็นความชัดเจนภายในเดือน ก.ค.-ส.ค. อย่างไรก็ตามเราประเมินว่าทั้ง 3 แนวทางซึ่งยังเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยจะหนุนดัชนีปรับตัวขึ้นได้ในที่สุดหากได้รัฐบาลที่มีเสถียรภาพสามารถออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และปฏิรูปโครงสร้างเพื่อสนับสนุนการเติบโตทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) GDP ไตรมาส 1/66 ของไทย GDP เพิ่มขึ้น +2.7% YoY, +1.9% QoQ นำโดยภาคเอกชน (+5.4% YoY), การลงทุน (+3.1%), และการส่งออก (+3.0%) เราเชื่อว่า GPD ไตรมาส 2/66 น่าจะเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปทั้งจากจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ นักท่องเที่ยวในประเทศ และการบริโภค ทั้งนี้ยังคงมุมมอง GDP ปี 2566 เติบโต +3.7% YoY อัตราเงินเฟ้อประมาณ 3.2% อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% และ อัตราแลกเปลี่ยน ประมาณ 33.5 – 34.0 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ
2.) หนึ่งในนโยบายของพรรคก้าวไกลที่จะทำภายใน 100 วันหลังเลือกตั้ง คือ ลดค่า Ft ลง 0.70 บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งทำให้เกิด downside ต่อประมาณการของเรา เราทำการวิเคราะห์ความอ่อนไหวและพบว่า BGRIM ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยมี downside ต่อกำไรปี 2566 ที่ 22% ตามมาด้วย GPSC ที่ 18% และ GULF 2% ตามลำดับ
3.) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวขึ้น 1.4% ปิดที่ 75.23 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มอุปทานตึงตัวในแคนาดา หลังจากไฟป่าโหมกระหน่ำในรัฐอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา กระทบกำลังการผลิตน้ำมันดิบ 300K บาร์เรลต่อวันหยุดชะงัก นอกจากนี้สหรัฐฯ ทยอยซื้อน้ำมันดิบ 3 ล้านบาร์เรล เพื่อเติมเข้าคลังสำรองทางยุทธศาสตร์ที่ลดลงกว่า 200 ล้านบาร์เรลในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
4.) ผลประกอบการ 1Q23 ดีกว่าคาด (CRC, BGRIM, SPA, GULF, EGCO, SIRI, KLINIQ), ตามคาด (ERW, DUSIT, ANAN, CPN), แย่กว่าคาด (HANA, KISS, SAWAD, KEX, STEC, CK, PR9, AMATA, SJWD, WARRIX) ส่วนหุ้นที่ นวค. มีการปรับคำแนะนำ/ราคาเป้าหมาย ได้แก่ TASCO, SGC, SINGER HANA, KEX
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
เน้นหุ้น Domestic play ที่ผลประกอบการไตรมาส 1Q23 แข็งแกร่ง และมีแนวโน้มเติบโตหลังการเลือกตั้งจากนโยบายกระตุ้นของภาครัฐ และความเชื่อมั่นภาคเอกชนฟื้นตัว ได้แก่ CPALL, CK, TOA, SAK, AEONTS SIRI เป็นต้น
หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:
- CPALL (ราคาพื้นฐาน 73.50 บาท) กำไรปกติไตรมาส 1/2566 อยู่ที่ 4.0 พันลบ. (+16% YoY และ +28% QoQ) สูงกว่าประมาณการของเราและตลาด 9% และ 4% ตามลำดับ SSSG ไตรมาส 1/2566 เพิ่มขึ้น 8% จากจำนวนลูกค้าเข้าร้านที่เพิ่มขึ้น GPM ของ CVS ไตรมาส 2/2566 เพิ่มขึ้น 80bps YoY SG&A ต่อรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย YoY คาดความต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและเครื่องดื่มจะกระตุ้นยอดขายและ SSSG ไตรมาส 2/2566
- CK (ราคาพื้นฐาน 33.55 บาท) กำไรปกติไตรมาส 1/66 ที่ 169 ลบ. เพิ่มขึ้น 79% YoY พลิกจากขาดทุนปกติ QoQ มองได้ sentiment บวกจากการประมูลงานรัฐกลับมาหลังเลือกตั้ง รวมถึงการอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ค้างท่อมาจากรัฐบาลก่อนหน้า ราคาหุ้นปัจจุบันซื้อขายไม่แพง มีส่วนลดจากมูลค่าสินทรัพย์ถือครองอยู่ที่ 41%
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ:
- วันอังคาร ติดตาม ตัวเลข Industrial Production ของจีน เดือน เม.ย. คาด +10.1% YoY (เร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนที่+3.9% YoY) การลงทุนใน Fixed asset ของจีนใน 4M23 คาด +5.2% YoY ตัวเลข Retail sales ของจีนเดือน เม.ย. คาด +20.1% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ +10.6% YoY) ตัวเลข GDP 1Q23 ของยูโรโซนคาด +0.1% QoQ และ+1.3% YoY ตัวเลข Zew Economic sentiment ของเยอรมัน เดือน พ.ค. คาด -5.5 จุด (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ 4.1 จุด) ถ้อยแถลงของ Fed Mester, Fed Williams, Fed Logan และ Fed Barr, ตัวเลข Retail sales ของสหรัฐฯ เดือนเม.ย. คาด +0.7% MoM (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -0.6% MoM) ตัวเลข Industrial production ของสหรัฐฯ เดือนเม.ย. คาด flat MoM
- วันพุธ ติดตาม ตัวเลข GDP 1Q23 ของญี่ปุ่น คาด +0.1% QoQ และ +0.7% YoY ดัชนี House Price index ของจีนเดือน เม.ย. คาด -0.2% YoY (เทียบเดือนก่อนหน้าที่ -0.8% YoY) ตัวเลข Building Permits ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 1.43M (+0.2% MoM) ตัวเลข Housing Stars ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด 1.4M (-1.5% MoM) และปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลขส่งออกของญี่ปุ่นเดือน เม.ย. คาด +3% YoY ตัวเลข Initial Jobless Claim ของสหรัฐฯ รายสัปดาห์คาด +254K (เทียบสัปดาห์ก่อนที่ +264K) ตัวเลข Existing Home Sales ของสหรัฐฯ เดือน เม.ย. คาด4.4M (-1% MoM) ถ้อยแถลงของ Fed Jefferson
- วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข CPI ของญี่ปุ่นเดือน เม.ย. คาด +0.1% MoM และ +3.2% YoY ตัวเลข Core CPI ของญี่ปุ่นเดือน เม.ย. คาด +3.2% YoY ตัวเลข PPI ของเยอรมันเดือน เม.ย. คาด +6.1% YoY และถ้อยแถลงของ Fed Chair Powell