สรุปภาวะตลาด

วันอังคารที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหว sideway เนื่องจากนักลงทุนรอความชัดเจนในการจัดต้ังรัฐบาลของพรรคก้าวไกล และการโหวตนายกที่ต้องการคะแนน 376 เสียง โดยในวันน้ีมีแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวขึ้น และหุ้นกลุ่มไอซีทีที่ปรับตัวลงในวันก่อนหน้า ในขณะที่หุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ และขนส่งเผชิญแรงขาย ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,539.84 จุด -1.54 จุด-0.10% มูลค่าการซื้อขาย 53,185 ลบ.ต่างชาติ -1,111.41 ลบ. TFEX +14,748 สัญญา ตราสารหน้ี +11,644.42 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ ปธน.โจ ไบเดน และประธานสภาเควิน แมคคาร์ธี ใกล้บรรลุข้อตกลงเพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้ของสหรัฐ ส่งผลให้ปธน.ไบเดนตัดสินใจยุติการเดินทางเยือนเอเชีย เพื่อมุ่งเน้นที่การเจรจา แม้ทั้งสองฝ่ายยังมีความขัดแย้งกันในเรื่องวิธีการเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่าย แต่ก็มีฉันทามติว่าจะต้องไม่เกิดการผิดนัดชำระหน้ี

+ รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า GDP ไตรมาส 1/2566 ขยายตัว 1.6%YoY ซึ่งเป็นการขยายตัวคร้ังแรกในรอบ 3 ไตรมาส

+ ครม.เดินหน้ามาตรการ EV 3.5 ในส่วนที่ไม่ต้องใช้เงินสนับสนุน โชว์ต่างชาติไทยยังสนับสนุน หวังดึงค่ายรถ ยุโรปใช้ไทยเป็นฐานผลิตรถอีวี โดยให้สามารถปรับเปลี่ยนซีรีส์ของรถที่ผลิตในประเทศไม่ตรงกับรถที่นำเข้าได้ และรถอีวีที่นำเข้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท อาจผลิตรถกระบะอีวีทดแทนรุ่นที่นำเข้ามาได้

ปัจจัยลบ-

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดร่วงลง 336.46 จุด หรือ -1.01% หลังจากโฮม ดีโปท์ ซึ่งเป็นบริษัทจำหน่ายสินค้าตกแต่งบ้านรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ เปิดเผยผลประกอบการที่น่าผิดหวัง และสหรัฐเปิดเผยรายงานยอดค้าปลีกเดือนเม.ย. ที่ต่ำกว่าคาด ซึ่งบ่งชี้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคในสหรัฐอ่อนแอลง และตลาดยังถูกกดดันจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟด และการเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของรัฐบาลสหรัฐที่ยังไม่บรรลุผล

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลดลง 25 เซนต์ -0.35% ปิดที่ 70.86 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากจีนและสหรัฐเปิดเผย ข้อมูลเศรษฐกิจอ่อนแอ บดบังปัจจัยบวกจากการที่ IEA ปรับเพิ่มคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันท่ัวโลกในปีน้ี

– สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือน เม.ย. แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าเพิ่มขึ้น 0.8% หลังจากร่วงลง 0.7% ในเดือนมี.ค.

– ส.อ.ท. เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเม.ย. 66 อยู่ที่ระดับ 95.0 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 97.8 ซึ่งเป็นการลดลงคร้ังแรกในรอบ 4 เดือน เนื่องจากมีปัจจัยลบจากการชะลอตัวของภาคการผลิตในเดือนเม.ย. มี วันหยุดยาวสงกรานต์

– ส.อ.ท. หากจัดตั้งรัฐบาลและการต้ังนายกรัฐมนตรีล่าช้าไปเป็นช่วง ก.ย.-ต.ค.66 ไทยจะมีช่วงสูญญากาศ 4-5 เดือน จะกระทบต่อการใช้เงินงบประมาณปี 67 และจัดทำงบปี 68 จึงเสนอให้เร่งจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้แกว่งตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยยังมีความไม่แน่นอนในการเจรจาเพิ่มเพดานหน้ีของ สหรัฐ ซึ่งกำหนดเส้นตายในวันที่ 1 มิ.ย. ขณะที่ปัจจัยในประเทศยังมีความกังวลเกี่ยวกับการจัดต้ังรัฐบาล มองกรอบ ดัชนีในวันนี้ท่ี 1,530-1,545 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • จำนวนนักท่องเท่ียวปรับตัวเพิ่มขึ้น : AOT BAFS AAV BA MINT CENTEL ERW SPA
  • หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL COM7 CPALL
  • หุ้นเข้าคำนวณ MSCI Equity Indexes เข้า MAKRO ออก JMT, TU และ MSCI Small Cap Indexes เข้า JMT, TIDLOR, SAPPE, SISB ,TU ออก – มีผลวันที่ 31พ.ค.

หุ้นรายงานพิเศษ

SFLEX (Bloomberg Consensus 4.70 บาท) เข้าลงทุนในเวียดนามร่วมกับ SCGP

  • SFLEX ผลประกอบการใน 1Q66 มีรายได้เท่ากับ 471.9 ล้านบาท +13.1%QoQ และ +11.5%YoY จากกำลังซื้อในประเทศที่ฟื้นตัวขึ้น ประกอบกับมีการทยอยปรับราคาขาย ด้านอัตรากำไรขั้นต้นทำได้ที่ระดับ 20.5% จาก 12.6% ใน 4Q65 และ 13.3% ใน 1Q65 เนื่องมาจากมีต้นทุนวัตถุดิบลดลงจากราคาน้ำมัน และเป็นผลมาจากการย้ายโรงงานผลิตมาอยู่รวมกัน (จากเดิม 2 แห่ง) ส่งผลให้บริษัทบริหารจัดการต้นทุนได้ดีขึ้น รวมถึงการทยอยปรับราคาขายในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิ 1Q66 เท่ากับ 40.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +23.0%QoQ และ +204.4%YoY
  • คาดผลประกอบการปี 66 เติบโตได้ดี จากการขยายตลาดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มี Margin สูง ประกอบกับการเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพ โดยเฉพาะ กลุ่ม Non-Food และ Medical เนื่องจากมี Demand เติบโตต่อเนื่อง นอกจากน้ี เมื่อวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา บอร์ดได้อนุมัติลงทุนในบริษัท Starprint Vietnam Joint Stock Company (“SPV”) ซึ่งประกอบธุรกิจการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษในประเทศเวียดนาม เป็นการ เพิ่มความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ และเพิ่มส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจบรรจุภัณฑ์ของบริษัทฯ ร่วมกับ SCGP โดย SFLEX และ SCGP จะเข้าถือหุ้นใน SPV ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 25.00 และไม่เกินร้อยละ 70.00
  • ความเห็น : เรามีมุมมองบวกต่อการเข้าลงทุนใน SPV ซึ่งจะช่วยหนุนผลประกอบการของบริษัทในระยะยาว  ประกอบกับเพิ่มโอกาสในการขยายการลงทุนใหม่ๆ ร่วมกับ SCGP โดยบริษัทคาดว่าจะสามารถรับรู้กำไร จาก SPV ได้ในช่วง 2H66 ซึ่งจะเข้ามาไตรมาสละประมาณ 10 ล้านบาท เราจึงแนะนำ “ซื้อ”

หุ้นมีข่าว

(+) BCH (Bloomberg consensus 23.50 บาท) ลั่นไตรมาส 2 จะกลับมาโต รายได้ประกันสังคมเพิ่ม หลังเพิ่มเหมาจ่ายต่อหัวเป็น 1,808 บาท เริ่ม 1 พฤษภาคม บริหารต้นทุนได้ ผู้ป่วยต่างชาติทะลุ 1 แสนราย โควิดยอดรักษาวันละ 140-150 ราย ลุยขยายโรงพยาบาล เปิดศูนย์เฉพาะทางมะเร็งไตรมาส 1/2567 มั่นใจปีนี้ 1.3 หมื่นล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) SABUY (Bloomberg consensus – บาท) ประกาศโตต่อเนื่องไตรมาส 2 ชี้ อีโคซิสเต็มติดลมบน แต่ไม่นิ่งนอนใจ วาง 3 กลยุทธ์ เพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย ปรับโครงสร้างเสริม ด้านครึ่งปีหลังจะรวมงบ AS เข้าดันรายได้ ตอกเป้ารายได้ 2 หมื่นล้านบาท ปีนี้ทำได้ ทุ่ม 5 พันล้านบาท ลุย M&A-JV เจรจา 3 ดีลชัดเจนปีน้ี เดินหน้าซื้อหุ้นคืนพันล้านเพิ่มผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ที่มา ทันหุ้น)

(+) RS (Bloomberg consensus 15.30 บาท) ลั่นรายได้ไตรมาส 2/2566 จะกลับมาทำนิวไฮอีกครั้ง ชู RS Music ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่รับโมเดลธุรกิจใหม่ จ่อปิดดีลใหญ่ต่างประเทศภายในไตรมาส 2/2566 นี้ ก่อนแต่งตัวเข้าตลาดหุ้นปีหน้า ขณะที่ RS Pet All ลุยธุรกิจ Petconomy เต็มสูบ มั่นใจว่าปี 2566 รายได้จะเป็นไปตามเป้าที่ไว้ 5,000-5,500 ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CENTEL (Bloomberg consensus 59.50 บาท) ปลื้มต่อสัญญาโรงแรมรถไฟหัวหินยาว 34 ปี โชว์จุดแข็งเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์-และธรรมชาติดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งปี หนุนรายได้ช่วงธุรกิจโรงแรมโลว์ซีซัน ด้านธุรกิจอาหารไตรมาส 2/2566 SSSG ยังโตแกร่ง 7-9% ดัน รายได้พุ่งครอบคลุมค่าไฟที่เร่งตัวขึ้น (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 4 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์
    • กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
  • 23 พ.ค. ประชุมกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ.พาณิชย์)
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค, สศอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 31 พ.ค.กำหนดประชุมกนง.ครั้งที่ 3/2566 ธปท.รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 17 พ.ค.อียูรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน เม.ย.
    • สหรัฐ รายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์ จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • 18 พ.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ดัชนีการผลิตเดือนพ.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย ยอดขายบ้านมือสองเดือนเม.ย. ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนเม.ย.จาก Conference Board
  • 22 พ.ค. ธนาคารกลางจีน ประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR)
    • อียู รายงานอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR)
  • 23 พ.ค. อียูรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ-ภาคการผลิตขั้นต้นเดือน พ.ค.จากฮัมบรูก์ คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB)
  • 1 มิ.ย. วันสุดท้ายของการบรรลุข้อตกลงการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐฯ
  • 4 มิ.ย. โอเปก และชาติพันธมิตรประชุมเพื่อกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมัน
- Advertisement -