บล.กรุงศรีฯ:
INVESTMENT STRATEGY – ตลาดหุ้นไทยอยู่ในภาวะ anxiety attack
ตลาดหุ้นไทยถูกเทขายมาตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. โดยดัชนีลดลง -2.7% ซึ่งต้องยอมรับว่าปัจจัยขับเคลื่อนตลาด อาทิ โมเมนตัมของเศรษฐกิจทั้งภายนอกและภายในประเทศ รวมถึงแนวโน้มผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนไม่ได้ส่งสัญญาณบวกในระยะสั้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่นักลงทุนคาดเอาไว้แล้ว เราเชื่อว่าความกังวลเกี่ยวกับการเมืองเป็นปัจจัยที่เพิ่มแรงถ่วงตลาดลงอีก และก่อนที่จะเห็นความชัดเจนเกี่ยวกับการตั้งรัฐบาลใหม่ เรากังวลว่าตลาดหุ้นไทยจะยังคงผันผวนอย่างหนัก และดัชนีจะขยับอยู่ในกรอบที่ 1476-1580 จุด
ตลาดหุ้นไทยในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับประมาณการเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นไทยได้รับผลกระทบจากปัจจัยที่ไม่ปกติ เพราะดัชนีตกลงไปอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าโมเมนตัมของเศรษฐกิจ ตามที่เราได้แสดงใน Fig. 1 -8 ตลาดหุ้นหลักส่วนใหญ่ในโลกขยับตามประมาณการเศรษฐกิจของประเทศนั้น ยกเว้นประเทศไทย ซึ่งโมเมนตัมทางเศรษฐกิจดีสอดคล้องกับดัชนี Markit PMI แต่ดัชนี SET กลับเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ ดัชนี Financial Condition Index (FCI) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพยังบ่งชี้ทิศทางตลาดหุ้นที่มีประสิทธิภาพ ยังฉายภาพดัชนี FCI ของไทยที่ผ่อนคลายมากขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นแรงส่งทางด้านบวกต่อตลาดได้ แต่ SET กลับไม่ตอบสนองแต่อย่างใด ทั้งนี้หากมองจากความกังวลเกี่ยวกับเงินเฟ้อโลกที่เร่งตัวขึ้น และนโยบายการเงินที่ตึงตัวขึ้นเป็นสาเหตุให้ตลาดหุ้นอ่อนแอในช่วงนี้ แต่จากปัจจัยนี้ ไทยมีสถานะที่ค่อนข้างเป็นบวก เพราะเงินเฟ้อลดลงอย่างมากในขณะที่เศรษฐกิจทางฝั่งอุปทานยังคงเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง
ตลาดลงเพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง
มีความเป็นไปได้สูงที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองเกี่ยวกับการตั้งรัฐบาลใหม่จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หุ้นตกในช่วงนี้ ทั้งนี้ เราใช้ “ดัชนีความเสี่ยงทางการเมืองของไทย หรือ Thailand political risk index” เป็นตัวบ่งชี้ภาวะทางการเมืองไทย ซึ่งจาก fig. 9 พบว่าจากสถิติในอดีต เมื่อความเสี่ยงทางการเมืองเพิ่มขึ้นจะทำให้ตลาดหุ้นตกอย่างมีนัยสำคัญ ถึงแม้เราจะไม่มีข้อมูลความเสี่ยงหลังการเลือกตั้งในสัปดาห์ที่แล้ว แต่คาดว่าความเสี่ยงดังกล่าวน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะอาจต้องใช้เวลานานถึง 60 วันกว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เพื่อเทียบเคียงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เราจึงได้นำเหตุการณ์ในปี 2518 (fig. 10) มาเป็นตัวเปรียบเทียบ ซึ่งในปีนั้นพรรคประชาธิปัตย์ชนะการเลือกตั้ง แต่ไม่สามารถตั้งรัฐบาลได้ ในช่วงนั้น ดัชนีความไม่แน่นอนทางการเมืองพุ่งสูงขึ้นอย่างมากในขณะที่ตลาดหุ้นก็อ่อนแอไปจนมีการยุบสภาในปี 2520
ประเมินผลกระทบจากการที่ความเสี่ยงทางการเมืองสูงขึ้น
ถึงแม้ว่าแบบจำลองของเราจะยังไม่สมบูรณ์แบบ แต่ก็เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการประเมินผลกระทบจากสถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน โดยแบบจำลองแรกเราได้รวมปัจจัยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงของดัชนีความเสี่ยงทางการเมืองด้วย ในขณะที่แบบจำลองอื่นใส่ความไม่แน่นอนทางการเมืองเป็นเหตุการณ์หนึ่ง (ตัวแปร หรือ dummy variable) จากแบบจำลองแรกเราประเมินว่าในกรณีที่การเมืองขาดเสถียรภาพ ตลาดหุ้นมีแนวโน้มจะตกลง 55-164 จุด ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเหตุการณ์ ส่วนแบบจำลองที่ 2 ที่อิงตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตลาดมีแนวโน้มจะตกประมาณ 90 จุดในแต่ละเหตุการณ์ ซึ่งใช้การคำนวณโดยใช้สมมติฐานการเติบโตของตัวแปรในอัตราคงที่ ทั้งนี้ เนื่องจากดัชนี SET อยู่ที่ 1570 จุด ก่อนการเลือกตั้ง ดังนั้น เราจึงประเมินว่า downside จะอยูที่ประมาณ 1480 จุด