สรุปภาวะตลาด

วันศุกร์ที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหวในแดนลบเป็นส่วนใหญ่ ราว -12 จุด ดัชนีปรับตัวลงต่อเนื่องทั้งสัปดาห์ นักลงทุนรอดูความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลไทยจะมีการแถลง MOU ของพรรคร่วมรัฐบาล ในวันที่ 22 พ.ค. นี้ หุ้นที่กดดันดัชนีมาจาก หุ้นกลุ่มพลังงาน ค้าปลีก ขนส่ง เป็นต้น ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,514.89 จุด -11.80 จุด -0.77% มูลค่าการซื้อขาย 47,318 ลบ. ต่างชาติ -1,193.42 ลบ. TFEX -24,715 สัญญา ตราสารหนี้ 9,788.53 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าในช่วง 4M66 อนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย 217 ราย เพิ่มขึ้น 11% เม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 38,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% จ้างงานคนไทยเพิ่มขึ้น 6% ส่วนการลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนต่างชาติ มีนักลงทุนต่างชาติสนใจลงทุน คิดเป็น 20% ของจํานวนนักลงทุนทั้งหมด มูลค่า การลงทุน 7,521 ล้านบาท คิดเป็น 19% ของเงินลงทุนทั้งหมด

ปัจจัยลบ-  

– ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลดลง 109.28 จุด หรือ -0.33% แรงบวกลดลง หลังการเจรจาเรื่องเพดานหนี้ของสหรัฐในกรุงวอชิงตันหยุดชะงัก ซึ่งทำลายความหวังที่ว่าจะมีการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวในเร็วๆ นี้ เพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ แต่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านดัชนีดาวโจนส์บวก 0.38%

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 31 เซนต์ หรือ -0.43% ปิดที่ 71.55 ดอลลาร์/บาร์เรล แต่เพิ่มขึ้น 2.2% ในรอบสัปดาห์ที่ผ่าน โดยถูกกดดันจากรายงานที่ว่าการเจรจาเรื่องเพดานหนี้ของสหรัฐหยุดชะงักลง

– การประชุม G7 ออกแถลงการณ์สนับสนุนยูเครนซึ่งถูกรัสเซียรุกราน ขณะที่ปธน.โวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน เจรจาในระดับทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และมีแผนพบปะกับปธน.โจ ไบเดน ของสหรัฐในระหว่างการเยือนฮิโรชิ  โดยปธน.ไบเดนสนับสนุนให้ประชาคมโลกร่วมฝึกนักบินยูเครนให้บินเครื่องบินรบ F-16 ตามที่ทางการยูเครนร้องขอ

– จีนคว่ำบาตรการประชุม G20 ที่แคชเมียร์ ชี้เป็นดินแดนพิพาทระหว่างอินเดีย-ปากีสถาน

– แคนาดาประกาศคว่ำบาตรรัสเซียรอบใหม่ ครอบคลุมทั้งหน่วยงานและ บุคคล

– การเจรจาปรับเพิ่มเพดานหนี้ของสหรัฐยังไม่ได้ข้อสรุป

– รมว.คลังชี้แจ้งว่างบประมาณปี 2567 ให้รอรัฐบาลใหม่มาเคาะเอง

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีเคลื่อนไหว Sideway Down หลัง Fund Flow ยังไหลออกต่อเนื่อง ทั้งในตลาดตราสารหนี้และตลาดหุ้น  เนื่องจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐอายุ 2 ปีอยู่ที่ระดับ 4.28% และการเมืองในไทยยังมีความไม่แน่นอน ทำให้นักลงทุนเทขายเพื่อลดความเสี่ยง มองกรอบดัชนีในวันนี้ 1,500-1,525 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • จำนวนนักท่องเที่ยวปรับตัวเพิ่มขึ้น : AOT BAFS AAV BA MINT CENTEL ERW SPA
  • หุ้นเด่น IAA : ADVANC AOT BBL COM7 CPALL
  • หุ้นเข้าคํานวณ MSCI Equity Indexes เข้า MAKRO ออก JMT, TU และ MSCI Small Cap Indexes เข้า JMT, TIDLOR, SAPPE, SISB TU ออก – มีผลวันที่ 31 พ.ค.

หุ้นรายงานพิเศษ

AU  “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 12.10 บาท “แนวโน้มกำไร 2Q66 โตต่อเนื่องทั้ง YoY, QoQ ส่วนทั้งปี 66 คาดกำไรโต 60%”

  • งวด 1Q66 กำาไร 34 ลบ. +135%YoY -5%QoQ โดยมีรายได้ 268 ลบ. +34%YoY -1%QoQ อ่อนลงเล็กน้อย QoQ หลังผ่านพ้นช่วง High Season แต่เติบโตแรง YoY ได้แรงหนุนหลักจากการเปิดประเทศ ส่งผลให้ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ามารับประทานแบบ Dine in มากขึ้น สะท้อน SSSG +21%YoY ประกอบกับจำนวนสาขา After You ที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้นสู่ 53 แห่ง (+14 แห่ง YoY, +2 แห่ง QoQ) และแฟรนไชส์มิกก้า (Mikka Café) สู่ 114 แห่ง (+31 แห่ง YoY, +5 แห่ง QoQ) ส่วน %GPM เติบโตดีขึ้นสู่ 63.8% (1Q65 = 60.5%, 4Q66 = 63.0%) สอดคล้องกับยอดขายที่เพิ่มขึ้น และสัดส่วน Dine in ที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับ %SG&A/Sales ปรับลดลงสู่ 48.0% (1Q65 = 50.8%, 4Q66 = 47.0%) แต่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย QoQ จากการปรับเพิ่มค่าแรง ส่งผลให้งวด 1Q66 มีกำไร 34 ลบ. +135%YoY -5%QoQ โดยมี %NPM อยู่ที่ 12.7% (1Q65 = 7.2%, 4Q65 = 13.3%) และคิดเป็น 18% ของประมาณการทั้งปี 66 ที่ราว 190 ลบ. +60%YoY
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการช่วงที่เหลือของปี 66 โดยเราคาดกำไร 2Q66 จะเติบโตต่อเนื่องทั้ง YoY และ QoQ จากการเข้าสู่ฤดูร้อนและเป็นไตรมาสที่มีวันหยุดยาว รวมทั้งรับรู้รายได้จาก After You 2 แห่งใหม่ที่เพิ่งเปิดเมื่อช่วงปลาย 1Q66 และมีแผนเปิดเพิ่มอีก 5-6 สาขาในช่วง 2Q66 ส่วนทั้งปี 66 เราประมาณการรายได้และกำไรราว 1,190 ลบ. +27%YoY และ 190 ลบ. +60%YOY ตามลำดับ จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและการเปิดประเทศ ประกอบกับกลยุทธ์การขยายสาขาเชิงรุกมากขึ้น โดยคาดจะเปิดเพิ่มดังนี้ ร้าน After You 10 แห่ง ร้าน Mikka 5 แห่ง ร้านลูกคือ 5 แห่ง Franchise Mikka 50 แห่ง และในช่วง 2H66 จะเปิดให้บริการ Franchise After You ในต่างประเทศอีก 2 แห่ง คือ ฮ่องกงและกลุ่ม CLMV โดยเราแนะนำ “ซื้อ” ราคาเหมาะสม 12.10 บาท มี Upside 20% และอัตราผลตอบแทนเงินปันผลราว 1.5-2% ต่อปี

หุ้นมีข่าว

  • (+) FORTH (Bloomberg consensus 37.75 บาท) เดินหน้าพัฒนานวัตกรรม รุกวิจัยตู้อัตโนมัติต่อ โชว์ตู้ชาร์จ “กิ้งก่า อีวี” แรงผลิตไม่ทัน เดินหน้าขยายเต่าบินปีนี้อีก 5 พันตู้ สิ้นปีไม่ต่ำกว่าหมื่นตู้ รายได้ต่อวันที่ 6 ล้านบาท 3 ปี แตะ 2 หมื่นตู้ เล็งประมูลงาน 7 พันล้านบาท หลังจัดตั้งรัฐบาลเสร็จ ทั้งปีมั่นใจรายได้แตะหมื่น ล้านบาท (ที่มา ทันหุ้น)
  • (+) WARRIX (Bloomberg consensus 10.86 บาท) “วอริกซ์ สปอร์ต” มั่นใจรายได้ปีนี้โตกว่าปีก่อน พร้อม ย้ำเป้าปี 69 รายได้รวมพุ่งแตะ 2.7 พันล้านบาท ขณะที่การเข้าลงทุนซื้อกิจการ Premier Football ใน สิงคโปร์ หวังขยายตลาดออกสู่ภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น เล็งเปิดให้บริการ Flagship Store แห่งที่ 2 บริเวณ สยามสแควร์ ในช่วงปลาย Q2 หรือต้น Q3 ปีนี้ (ที่มา ข่าวหุ้น)
  • (+) FPT (Bloomberg consensus 17.20 บาท) คาดครึ่งหลังปี 2565/2566 สดใส หลังเห็นกลุ่มธุรกิจ Industrial และ Commercial ฟื้นตัวดีต่อเนื่อง ขณะที่ธุรกิจที่อยู่อาศัย (HOME) เตรียมทยอยเปิดเพิ่ม 4 โครงการ มูลค่ารวม 5,010 ล้านบาท มั่นใจปีนี้ส่งมอบพื้นที่เช่าโรงงานและแวร์เฮาส์ครบ 130,000 ตารางเมตร หนุนทั้งปีแตะ 3.5 ล้านตารางเมตร (ที่มา ข่าวหุ้น)
  • (+) BPP (Bloomberg consensus 17.80) บาทเตรียมประกาศข่าวดี ปิดดีลใหม่โรงไฟฟ้าในสหรัฐฯ เร็วๆ นี้ เร่งกระตุ้นพอร์ตเติบโต ย้ำเป้าขยายกำลังการผลิต 5,300 เมกะวัตต์ ภายในปี 68 ขณะที่นโยบายค่าไฟของพรรคก้าวไกล ไม่หวั่นกระทบเดินเครื่องโรงไฟฟ้า เหตุ “บีแอลซีพี-หงสา” ต้นทุนถูกสุด เดินเครื่องจ่ายไฟ กฟผ.เต็มกำลัง (ที่มา ข่าวหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
  • 23 พ.ค. ประชุมกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ (กรอ. พาณิชย์)
  • 24 พ.ค. สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดการผลิตและส่งออกรถยนต์
  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค, ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
    • สสอ.แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 31 พ.ค. กำหนดประชุมกนง.ครั้งที่ 3/2566
    • ธปท. รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 22 พ.ค. ธนาคารกลางจีนประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR)
    • อียู รายงานธนาคารกลางจีนประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR)
  • 23 พ.ค. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ-ภาคการ ผลิตขั้นต้นเดือนพ.ค.จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB)
    • สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการ-ภาคการผลิต ขั้นต้นเดือนพ.ค.จากเอสแอนด์พี โกลบอล ยอดขายบ้านใหม่เดือนเม.ย.
  • 24 พ.ค. สหรัฐ รายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
    • อังกฤษ รายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนเม.ย.
  • (เช้าวันที่ 25 พ.ค.) คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) เปิดเผยรายงานการประชุมวันที่ 2-3 พ.ค.
  • 25 พ.ค. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566 (ประมาณการครั้งที่ 2) ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนเม.ย.
  • 1 มิ.ย. วันสุดท้ายของของการบรรลุข้อตกลงการเพิ่มเพดานหนี้สหรัฐ
  • 4 มิ.ย. โอเปก และชาติพันธมิตรประชุมเพื่อกำหนดนโยบายการผลิตน้ำมัน
- Advertisement -