KS Daily View 29.05.2023 >>> เจรจาเพดานหนี้ได้ข้อยุติ หนุนกลุ่ม Global play ฟื้นตัว คาด SET แกว่งตัวทดสอบแนวต้าน 1,490-1,535 จุด หุ้นแนะนำ AAI, GFPT
สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้
ต่างประเทศ : ดัชนี DJIA +1.00%, S&P 500 +1.30%, และ NASDAQ +2.19% โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ IT (+2.7%), Consumer discretionary (+2.4%), และ Communication Services (+1.7%) ส่วน Sector ที่ underperform ได้แก่ Energy (-0.4%), Healthcare (-0.2%), Utilities (-0.10%)
ในประเทศ: SET Index -4.58 จุด หรือ -0.30% ปิดที่ 1,530.84 หนุนโดย ONE (7.3%), BEC (5.2%), AP (4.6%), และ BLA (2.9%) ขณะที่ตัวที่ปรับตัวแย่กว่าตลาดได้แก่ MART (-7.7%), SINGER (-6.0%), PTTEP (-3.7%), JMT (-3.6%) เป็นต้น
แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ:
ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,490-1,535จุด โดยยังเผชิญแรงกดดันจากความไม่แน่นอนเรื่องจำนวนเสียงของ ส.ว.ที่จะโหวตให้ฝั่งพรรคก้าวไกล ความกังวลต่อนโยบายเศรษฐกิจของพรรคก้าวไกลที่จะมีผลต่อกำไร บจ. รวมถึงการปรับขึ้นภาษีการซื้อขายหุ้น/Capital gain tax และเงินทุนไหลออกทั้งในส่วนตราสารทุน และตราสารหนี้จากความกังวลข้างต้น และการแข็งค่าของ USD นอกจากนี้ให้ติดตามตัวเลขการส่งออกนำเข้าของไทย รวมถึงการประชุม กนง. กลางสัปดาห์ด้วย
ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:
1.) สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่าประธานาธิบดีโจ ไบเดนและประธานสภาเควิน แมคคาร์ธีบรรลุข้อตกลงการขยายเพดานหนี้ของสหรัฐฯ โดยร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวจะนำเข้าสู่การลงมติในสภาคองเกรสภายในวันพุธนี้ ก่อนการลงนามโดยประธานาธิบดีเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ครั้งประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ มองเป็น sentiment บวกกับสินทรัพย์เสี่ยงทั่วโลก
2.) เมืองต่างๆ ของเวียดนามได้ตัดไฟสาธารณะเพื่อประหยัดพลังงานหลังจากมีคำเตือนถึงการขาดแคลนไฟฟ้าเนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงและการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำลดลง รัฐบาลจะระดมทรัพยากรที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักของไฟฟ้า โดยการไฟฟ้าของเวียดนาม (EVN ) ได้ประเมินความเสี่ยงของการขาดแคลนไฟฟ้าในภาคเหนือ ตั้งแต่ 1,600 MW ถึง 4,900 MW ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน เทียบกับกำลังการผลิตของระบบทั้งหมดที่ 77,800 MW ณ สิ้นปี 2565 เพิ่มขึ้นเกือบ 1,400 MW จากปี 2564 ทั้งนี้เวียดนามได้เปิดตัวแผน PDP8 เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 150,000 MW ภายในปี 2573 โดยครึ่งหนึ่งของ MW เป้าหมายจะเป็นพลังงานหมุนเวียน มองเป็นบวกกับ BGRIM, GULF และ SSP
3.) ติดตามตัวเลขนักท่องเที่ยวขาเข้า โดยข้อมูลจากกระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬาระบุว่า ตั้งแต่ 1 มกราคม- 21 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติรวม 9.78 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นนักท่องเที่ยวจีน 1.03 ล้านคน สูงสุดเป็นอันดับ 2 รองจาก มาเลเซียที่มีจำนวน 1.39 ล้านคน จากเป้าหมายจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่ 5 ล้านคน โดยขณะนี้กรุ๊ปทัวร์ยังเข้ามาน้อยเพราะก่อนหน้านี้ยื่นขอวีซ่าแบบกรุ๊ป 3-5 วัน ก็ได้รับการอนุมัติแล้ว แต่ตอนนี้กรอบเวลา อยู่ที่ 15 วัน ทางแอตต้าได้แจ้งความประสงค์ไปยังการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แล้ว ว่าขอให้อยู่ภายใต้ กรอบเวลา 10 วัน นอกจากนี้ กพท.ได้ประชุมร่วมกับสายการบินจีนกว่า 10 สายการบิน เพื่อจัดสรรเที่ยวบินเพิ่มเติม เบื้องต้นคาดว่าเที่ยวบินจากจีนจะทำการบินเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 430 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ จากปัจจุบันที่มีกว่า 100 เที่ยวบิน ต่อสัปดาห์ โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
Theme การลงทุนสัปดาห์นี้
1.) เลือกหุ้นส่งออกที่ได้ประโยชน์จาการอ่อนค่าของเงินบาท หุ้นธนาคารพาณิชย์จากการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. หนุน NIM ขยายตัวและหุ้น K ขาล่าง ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายกระจายรายได้ของพรรคก้าวไกล/อัดฉีดเงินลงระบบของเพื่อไทยคาดว่าจะยัง outperform ได้ต่อ
1.1) AAI (ราคาพื้นฐาน 5.80 บาท)
1.2) GFPT (ราคาพื้นฐาน 13.60 บาท)
1.3) PTG (ราคาพื้นฐาน 16.20 บาท)
1.4) TTB (ราคาพื้นฐาน 1.73 บาท)
1.5) SNNP (ราคาพื้นฐาน 30.30 บาท)
หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:
- AAI (ราคาพื้นฐาน 5.80) ราคาหุ้นปรับตัวลงกว่า -29% YTD และซื้อขายต่ำกว่าราคา IPO ที่ 5.55 บาทสะท้อนปัจจัยลบเรื่องผลประกอบการใน 1H23 ที่อ่อนตัวลงจากการลดระดับสินค้าคงคลังของลูกค้าไปพอควร ประเมินว่าทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นในช่วง 2H23 จะหนุนการ restock สินค้าของผู้ประกอบการ ทำให้กำไร 2H23 จะฟื้นตัว ขณะเดียวกันการอ่อนค่าของเงินบาทจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของ GPM ของ AAI มากกว่า ITC เพราะมีฐาน GPM ต่ำกว่า แนะนำเก็งกำไรบนประเด็นบวกดังกล่าว
- GFPT (ราคาพื้นฐาน 13.60 บาท) คาดกำไรฟื้นตัวใน 2Q23 จาก GPM ที่ฟื้นตัวกลับมาในระดับ 13-14% (จาก 10% ใน 1Q23) บนราคาไก่ที่ปรับตัวขึ้น ขณะที่ราคาอาหารสัตว์นำเข้าทยอยอ่อนตัวลงจากปรากฎการณ์แอลนีโญ่ ในส่วนของอุปสงค์นำเข้าจากต่างประเทศทยอยฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น และจีน
รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ
- วันอังคารติดตามติดตาม ตัวเลขส่งออก และนำเข้าของไทยเดือน เม.ย. คาด -2.1% YoY และ -5.3% YoY ตามลำดับ ขณะที่คาดไทยขาดดุลการค้าเดือน เม.ย. US$500mn ตัวเลข Japan Unemployment rate เดือนเม.ย. คาดที่ 2.8% ทรงตัวจากเดือนก่อน ตัวเลข S&P Case Shiller US House Price Index เดือน มี.ค. คาดที่ -1.6% YoY จากเดือนที่ผ่านมา +0.4% YoY ตัวเลข Dallas Fed Manufacturing เดือนพ.ค. คาดที่ -25 จุด จากเดือนที่ผ่านมา -23.4 จุด และตัวเลข CB Consumer Confidece ของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด 99.1 จุด (-2.2% MoM)
- วันพุธ ติดตาม การประชุม กนง. คาดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 25bps. เป็น 2.00% ตัวเลขเศรษฐกิจไทยเดือน เม.ย. โดย ธปท. ตัวเลข NBS Manufacturing PMI ของจีนเดือน พ.ค. คาดที่ 49.4 จุด จากเดือนที่ผ่านมา 49.2 จุด ตัวเลข NBS Non-manufacturing PMI ของจีนเดือน พ.ค. คาดที่ 55 จุด จากเดือนที่ผ่านมาที่ 56.4 จุด ตัวเลข Japan Consumer Confidence เดือนพ.ค. คาดที่ 36 จุด จากเดือนที่ผ่านมา 35.4 จุด ตัวเลขเงินเฟ้อของฝรั่งเศสเดือน พ.ค. คาด +5.4% YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +5.9% YoY ตัวเลขเงินเฟ้อเยอรมันเดือน พ.ค. คาด +6.5% YoY ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ +7.2% YoY ตัวเลข US JOLTs openings เดือนเม.ย. คาดที่ 9.35 ล้านตำแหน่งจากเดือนที่ผ่านมา 9.59 ล้านตำแหน่ง ถ้อยแถลงของ Fed Bowman Fed Jefferson และ Fed Harker ซึ่งล้วนแต่เป็น Voting comittee ปีนี้
- วันพฤหัสฯ ติดตาม ตัวเลข Caixin Manufacturing PMI เดือนพ.ค. คาดที่ 49.3 จุด จากเดือนที่ผ่านมา 49.5 จุด ตัวเลข EU unemployment rate เดือนเม.ย. คาดที่ 6.5% YoY จากเดือนที่ผ่านมา 6.5% YoY ตัวเลข EU Inflation rate เดือนพ.ค. คาดที่ 6.5% YoY จากเดือนที่ผ่านมา 7.0% YoY ตัวเลข ISM Manufacturing PMI สหรัฐฯ เดือนพ.ค. คาดที่ 47 จุด จากเดือนที่ผ่านมา 47.1 จุด ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯรายสัปดาห์คาด +235K จากสัปดาห์ก่อนที่ +229K ตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
- วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข US Unemployment Rate เดือนพ.ค. คาดที่ 3.5% จากเดือนที่ผ่านมา 3.4% ตัวเลข US Non-Farm Payrolls เดือนพ.ค. คาดที่ +195,000 ตำแหน่ง จากเดือนที่ผ่านมา 253,000 ตำแหน่ง ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +0.3% MoM และ +4.4% YoY