KS Daily View 01.06.2023 >>> กนง. ส่งสัญญาณคงดอกเบี้ย จากเงินเฟ้อชะลอตัว SET คาดแกว่งตัวในกรอบ 1,490-1,555 จุด หุ้นแนะนำวันนี้ AAV, AEONTS

สรุปภาวะตลาดเมื่อวานนี้

ต่างประเทศ: ดัชนี DJIA -0.41%, S&P 500 -0.61%, และ NASDAQ -0.63%. โดย Sector ที่ outperform ใน S&P500 ได้แก่ Utilities (+0.96%) และ Real Estates (+0.65%) ส่วน Sector ที่ underperform ได้แก่ Energy (-1.88%), Industrials (-1.4%), Materials (-1.1%), IT (-1.0%)

ในประเทศ: SET Index -1.27pts. หรือ -0.08% เป็น 1,533.54 หุ้นใน SET100 ที่หนุนตลาดคือ JMT (+8.2%), JMART (+5.7%), TQM (+4.2%), และ SINGER (+3.6%) ขณะที่ตัวที่ปรับตัวแย่กว่าตลาดได้แก่ PSL (-3.6%), KTC (-3.3%), TU (-3.3%), และ SPRC (-2.9%) เป็นต้น

แนวโน้มตลาดหุ้นในประเทศ: ประเมินตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวในกรอบ 1,490-1,555จุด รอสภาคองเกรสโหวตกฎหมายขยายเพดานหนี้เช้านี้ ขณะที่ กนง. ส่งสัญญาณคงดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้า วันที่ 2 ส.ค. จากเงินเฟ้อชะลอตัวกลับสู่กรอบเป้าหมายของ ธปท. ที่ 2% ในปี 2566-67 มองเป็น sentiment บวกกับตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะกลุ่ม Consumer Finance ในส่วนตัวเลขเศรษฐกิจวานนี้ภาพรวมฟื้นตัวต่อในเดือน เม.ย. โดยเฉพาะการบริโภคในประเทศหนุนจากการท่องเที่ยว และการจ้างงานที่กลับสู่ระดับปกติก่อนเกิดโควิด ทั้งนี้ ธปท. ยังคงคาดการณ์ GDP ไทยปี 2566-67 ที่ 3.6%/3.8% โดยปรับประมาณการนักท่องเที่ยวปี 2566 ขึ้นเป็น 29 ล้านคน (จาก 28 ล้านคน) และปรับประมาณการตัวเลขส่งออกปี 2566 ขึ้นเป็น -0.1% (จาก -0.7%) แต่มีการปรับลดการลงทุนภาคเอกชน, การบริโภคภาครัฐ และการลงทุนภาครัฐ ลงจากความไม่แน่นอนของการเมืองในประเทศ/การผ่านร่างงบประมาณปี 2567

ประเด็นสำคัญที่เป็นกระแสในช่วงนี้และมีผลต่อการลงทุน:

1.) ตัวเลขเศรษฐกิจจีนยังคงส่งสัญญาณชะลอตัวต่อ โดย NBS Manufacturing PMI ของจีนในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 48.8 เทียบกับประมาณการที่ 49.4 จุดโดยประมาณ ตัวเลขที่ต่ำกว่า 50 จุด สะท้อนการชะลอตัวของคำสั่งซื้อ ส่งผลให้ตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงปรับตัวลงต่อ กดดันหุ้นที่เกี่ยวข้อง เช่น PSL, RCL, SCGP เป็นต้น ในส่วนของตัวเลข NBS Non-manufacturing PMI ของจีนสำหรับเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 54.5 เทียบคาดการณ์ที่ 55 จุด สะท้อนการฟื้นตัวในส่วนของภาคบริการหลังคลายล๊อกดาวน์

2) อัตราเงินเฟ้อของฝรั่งเศสในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 5.1% เทียบกับคาดการณ์ +5.4% YoY ขณะที่อัตราเงินเฟ้อของเยอรมันในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ 6.1% เทียบกับคาดการณ์ที่ +6.5% YoY โดยตัวเลขเงินเฟ้อที่ลดลง

3) สหรัฐฯ รายงานตัวเลข US April JOLTs เปิดที่ 10.10 เทียบกับ 9.35 ล้านโดยประมาณ เพิ่มขึ้นจาก 9.59 ล้านในเดือนที่แล้ว สะท้อนภาคการจ้างงานที่ยังแข็งแกร่ง และมุมมอง Soft Landing

4) นายฟิลิป เจฟเฟอร์สัน ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณว่าธนาคารกลางมีแนวโน้มจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งหน้าในเดือนมิถุนายน เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายมีเวลามากขึ้นในการประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจ แต่การตัดสินใจดังกล่าวไม่ได้หมายความว่าการปรับขึ้นจะสิ้นสุดลง

Theme การลงทุนสัปดาห์นี้

เลือกหุ้นส่งออกที่ได้ประโยชน์จาการอ่อนค่าของเงินบาท หุ้นธนาคารพาณิชย์จากการขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. หนุน NIM ขยายตัวและหุ้น K ขาล่าง ที่ได้ประโยชน์จากนโยบายกระจายรายได้ของพรรคก้าวไกล/อัดฉีดเงินลงระบบของเพื่อไทยคาดว่าจะยัง outperform ได้ต่อ โดยสัปดาห์นี้เราเลือก GFPT (ราคาพื้นฐาน 13.60 บาท), PTG (ราคาพื้นฐาน 16.20 บาท), TTB (ราคาพื้นฐาน 1.73 บาท), และ SNNP (ราคาพื้นฐาน 30.30 บาท) เป็นต้น

หุ้นแนะนำวันนี้ Top pick:

AAV (ราคาพื้นฐาน 3.10 บาท) เราคาดว่ากำไรจะปรับขึ้นในไตรมาส 2/2566 จากราคาน้ำมันอากาศยานที่ลดลง เนื่องจากปัจจุบัน AAV ไม่มีสถานะป้องกันความเสี่ยง ค่าโดยสารเฉลี่ยที่สูงขึ้นซึ่งแสดงถึงการแข่งขันที่เริ่มผ่อนคลายในอุตสาหกรรมการบิน AAV มีการเพิ่มจำนวนเครื่องบินเพื่อให้บริการจาก 45 ลำใน 1Q23 เป็น 48/50/53 ลำใน 2Q23-4Q23 นอกจากนี้ประเมินนักท่องเที่ยวจีนจะทยอยมามากขึ้นจากการที่รัฐเร่งแก้ปัญหาการออกวีซ่ากรุ๊ปทัวร์ ราคาเป้าหมายของเราที่ 3.10 บาท อิงตาม PER ล่วงหน้า 12 เดือนที่ 14.6 เท่า หรือประมาณ  2SD สูงกว่าค่าเฉลี่ย PER ล่วงหน้า 12 เดือนของตลาดสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำในช่วงปี 2557-62

AEONTS (ราคาพื้นฐาน 208 บาท) กลุ่ม Consumer Finance จะได้ประโยชน์จากแนวโน้มที่ ธปท. จะคงดอกเบี้ยในระยะถัดไป การอัดฉีดเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ และนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหนุน upsides ต่อ loan growth และ asset quality ของ AEONTS ราคาหุ้นปัจจุบันอยู่ในระดับที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากขณะนี้หุ้น AEONTS ซื้อขายอิงตาม PBV ปี FY2567 ที่ 1.8 เท่า หรือเท่ากับ 0.5SD ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย PBV ในอดีต

รายงานตัวเลขเศรษฐกิจ:

  • วันพฤหัสฯ ติดตามตัวเลข Caixin Manufacturing PMI เดือนพ.ค. คาดที่  49.3 จุด จากเดือนที่ผ่านมา 49.5 จุด ตัวเลข EU unemployment rate เดือนเม.ย. คาดที่  6.5% YoY จากเดือนที่ผ่านมา 6.5% YoY ตัวเลข EU Inflation rate เดือนพ.ค. คาดที่  6.5% YoY จากเดือนที่ผ่านมา 7.0% YoY ตัวเลข ISM Manufacturing PMI สหรัฐฯ เดือนพ.ค. คาดที่ 47 จุด จากเดือนที่ผ่านมา 47.1 จุด ตัวเลขการขอรับสวัสดิการว่างงานของสหรัฐฯรายสัปดาห์คาด +235K จากสัปดาห์ก่อนที่ +229K ตัวเลขสต๊อกน้ำมันดิบรายสัปดาห์ของสหรัฐฯ
  • วันศุกร์ ติดตาม ตัวเลข US Unemployment Rate เดือนพ.ค. คาดที่ 3.5% จากเดือนที่ผ่านมา 3.4% ตัวเลข US Non-Farm Payrolls เดือนพ.ค. คาดที่ +195,000 ตำแหน่ง จากเดือนที่ผ่านมา 253,000 ตำแหน่ง ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงของสหรัฐฯ เดือน พ.ค. คาด +0.3% MoM และ +4.4% YoY
- Advertisement -