ASL ANALYSIS GUIDE

ประเมิน SET Index แกว่งตัว Sideway to sideway up เน้นยืนแนวรับ 1,518 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา หากยืนได้มั่นคง ความเสี่ยงขาลงเริ่มจำกัด แนวต้านเส้นกลาง Bollinger band ที่ 1,540 ผ่านยืนมั่นคง เป็นโมเมนตัมบวก

ประเด็นการลงทุน
1. ตลาดคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย
2. ข้อมูลเศรษฐกิจยุโรปเริ่มปรับตัวดีขึ้น
3. สหรัฐฯ-ไต้หวัน ลงนามข้อตกลงการค้า
  • วันนี้เคาะ MEGA ในเชิง Valuation ซื้อขายกันที่ PER ที่ 16.3 เท่าเทียบกับตลาดที่ 18 เท่า ถือว่าราคาซื้อขายต่ำกว่าตลาด และยัง Laggard กว่ากลุ่ม โดยระดับราคาชอง MEGA ปรับตัวลงมากว่า 16.6%YTD

MARKET STRATEGY

สรุปตลาดวานนี้ SETI ปิดที่ 152140 จุด ลดลง 124 จุด (-0.79%) มูลค่าการซื้อขาย 48,244.01 ล้านบาท จากความไม่แน่นอนของปัจจัยการเมืองในประเทศทียังไม่ชัดเจน แม้ว่า Sentiment จากภายนอกจะเริ่มดีขึ้นก็ตาม

Research Highlight: “ติดตามการประชุม OPEC+ // ตัวเลขเงินเฟ้อไทยในสัปดาห์หน้า

ตลาดคาดว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ย

  • ข้อมูลจาก Fedwatch tool รายงานตลาดเพิ่มน้ำหนักว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 14-15 มิ.ย. นี้ ที่ 5.00-5.25% หลังจากมีเจ้าหน้าที่เฟดหลายท่านสนับสนุนการระงับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมิ.ย. โดยข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมา ทั้งการจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้น การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างพุ่งขึ้น ขณะที่ดัชนีภาคการผลิตลดลงสู่ระดับ 46.9 ในเดือนพ.ค. ต่ำกว่าที่คาด ทั้งหมดสะท้อนภาพ soft landing ของเศรษฐกิจสหรัฐกำลังอยู่ในทิศทางที่ดี คือไม่ร้อนแรงเกินไปจนทําให้เฟดมีความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ และไม่ได้อ่อนแอเกินไปจนทำให้ตลาดวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
  • ติดตามตัวเลขภาคแรงงานในคืนนี้ โดยเฉพาะตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตร คาดการณ์ว่าตัวเลขจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 180,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ซึ่งชะลอตัวจากระดับ 253,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. และคาดว่าอัตราว่างงานจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 3.5% ในเดือนพ.ค. จากระดับ 3.4% ในเทียนเม.ย. หากออกมาตาม/แย่กว่า คาดจะเป็นอีกปัจจัยสนันสนุนให้เฟดคงอัตราดอกเบี้ย
  • ด้าน US bond yield ปรับตัวลงต่อเนื่อง และ Dollar index ที่เริ่มชะลอการแข็งค่า สนับสนุนการลงทุนใน สินทรัพย์เสี่ยง คาดอาจเห็นแรงซื้อกลับของตลาดหุ้นทั่วโลก โดยเฉพาะหุ้น Big cap ในตลาดหุ้นไทย เช่น กลุ่มการเงิน โรงไฟฟ้า

ข้อมูลเศรษฐกิจยุโรปเริ่มปรับตัวดีขึ้น

  • CPI พ.ค. ของ EU ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ 6.3%YOY สู่ระดับ 6.1%YoY และลดลงจากเดือน เม.ย. ที่ขยายตัว 7%YoY (อัตราเงินเฟ้อเป้าหมายระยะกลางอยู่ที่ 2 ) มาจากอัตราเงินเฟ้อรายปีของเยอรมนีและฝรั่งเศสปรับตัวลดลงมากกว่าคาดในเดือนพ.ค ขณะที่จะมีการประชุมนโยบายการเงินของ ECB 15 มิ.ย. นี้ หลังจากที่ ECB ได้ค่อยๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจาก -0.5% เมื่อปีที่แล้วสู่ระดับ 3.25% ในเดือนพ.ค. หลังจากรอง ปธ. ECB ความเห็นว่าวงจรคุมเข้มการเงินใกล้มาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว แต่ขณะที่ตลาดยังประเมินว่า ECB จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งสู่ระดับ 3.75% ภายในเดือน ก.ค.
  • PMI ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนพ.ค. EU หดตัวลดลงสระดับ 44.8 จากระดับ 45.8 ในเดือนเม.ย. ตามอุปสงค์ที่อ่อนแอในภาคการผลิตท่าให้บริษัทต่างๆ ต้องลดการผลิตติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2
  • ก่อนหน้านี้ EC รายงาน GDP 1Q’66 ขยายตัว 1.3% YoY และ 0.1%QoQ ขณะที่เป้าทั้งปีจะขยายตัวอยู่ที่ 0.9% ในปีนี้ และขยายตัว 1.5% ในปี 67 สะท้อนภาพเศรษฐกิจยูโรโซนรอดพ้นจากวิกฤตพลังงานมาได้ โดย ก่อนหน้านี้เกิดความวิตกกังวลว่าวิกฤตพลังงานจะเป็นชนวนให้เศรษฐกิจยูโรโซนถดถอย ขณะที่ได้แรงหนุนจากเศรษฐกิจอิตาลีและสเปนที่ขยายตัวเร็วขึ้น แต่เงินเฟ้อก็มีแนวโน้มที่จะยังคงเคลื่อนไหวในระดับสูงต่อไป

สหรัฐฯ – ไต้หวัน ลงนามข้อตกลงการค้า

  • สหรัฐฯและไต้หวันได้ลงนามสัญญาการค้าในเวลาเช้าวันพฤหัสบดี ตามเวลาสหรัฐฯ โดยสัญญานี้เป็นเพิ่ม ประสิทธิภาพทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศ ทําให้ไต้หวันสามารถรับสินค้าส่งออกจากสหรัฐฯ ได้มากยิ่งขึ้น สามารถสร้างสภาพคล่องในการตรวจสอบศุลกากร และพัฒนาการต่อด้านทุจริตระหว่างสหรัฐฯ และไต้หวัน มองว่าการเซ็นสัญญานี้เป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ และไต้หวัน
  • อย่างไรก็ดี ในการเซ็นสัญญาดังกล่าว อาจจะทําให้ความสัมพันธ์ระหว่างไต้หวันและจีนตึงเครียดมากยิ่งขึ้น และส่งสัญญาณการย้ายฐานการผลิต ด้านกลยุทธ์มองเป็นบวกต่อหุ้นนิคมอุตสาหกรรมในไทย WHA AMATA

สัปดาห์หน้าติดตาม

  • 4 มิ.ย. การประชุม OPEC+
  • 5 มิ.ย. PMI ภาค บริการของจีนและสหรัฐ // ยอดค่าสั่งชื้อสินค้าคงทนของสหรัฐ พ.ค.
  • 6 มิ.ย. อัตราเงินเฟ้อไทย พ.ค. // ยอดค้าปลีก EU พ.ค.,
  • 7 มิ.ย. ยอดน่าเข้า-ส่งออก จีน พ.ค. // ยอดสินเชื่อที่อยู่อาศัยรายสัปดาห์สหรัฐ
  • 8 มิ.ย. GDP 1Q66 ครั้งที่ 2 ของญี่ปุ่น // GDP 1Q66 ครั้งที่ 3 ของ EU
  • 9 มิ.ย. อัตราเงินเฟ้อ CPI/PPI ของจีน พ.ค.

Investment Strategy

  • ประเมิน SET แกว่งตัว sideway to slideway up เน้นแนวรับ 1518 ไม่ควรต่ำกว่าลงมา หากยืนได้มั่นคงความเสี่ยงขาลงเรื่องจำกัด แนวต้านเส้นกลาง Bollinger band ที่ 1540 ผ่านยืนมั่นคง เป็นโมเมนตัมบวก
  • ได้แรงหนุนจากความคืบหน้าในการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ในสภาคองเกรส และการคาดการณ์คงอัตราดอกเบี้ยของเฟด
  • ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น คาดกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ หนุนตลาด ร่วมกับ DELTA หลังทดสอบแนวต้านจิตวิทยา 100 แล้วยังไม่ผ่านยืน มีโอกาสลุ้นทดสอบอีกครั้ง หลังหุ้น NVIDIA ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง 5.12% ตาม Semiconductor index ที่ปรับตัวขึ้น
  • ระยะถัดไปยังคงมีปัจจัยสี่ยงจากแนวโน้มเศรษฐกิจจีนที่อาจฟื้นตัวช้าและไม่ขยายตัวตามที่คาด ประกอบกับปัจจัยภายในทั้งการจัดตั้งรัฐบาลที่ยังมีความไม่แน่นอน และดัชนีเชื่อมั่นธุรกิจพ.ค. ปรับลดเล็กน้อย หลังภาคท่องเที่ยวเข้าสู่ช่วง low season และมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐสิ้นสุดลง ส่งผลให้ความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการ การบริการ และคำสั่งซื้อปรับลดลงมาก
  • ในเชิงกลยุทธ์ เราแนะนำปรับลดพอร์ทการลงทุน โดย Selective buy หุ้นในกลุ่ม 1. คาดธปท. ส่งสัญญาณ จบการชื้นอัตราดอกเบี้ย AEONTS ASK MTC NCAP 2. ธปท. ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว KBANK BBL CPALL HMPRO TRUE BCP 3. กลุ่ม Defensive BDMS BH PR9 GULF SISB 4. DCA KBANK BJC TRUE CBG

Global Markets

(+) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกโดยได้แรงหนุนจากความคืบหน้าในการผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ในสภาคองเกรส รวมทั้งการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้

(+) ตลาดหุ้นยุโรป ปิดบวกเนื่องจากข้อมูลเงินเฟ้อที่ลดลง ทำให้นักลงทุนคาดหวังว่า ธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจไม่จำเป็นต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปอีกนาน นอกจากนี้ ตลาดยังได้แรงหนุนจากความคาดหวังที่ว่าสหรัฐจะสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระหนี้ได้

(+) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ปิดพุ่งขึ้น เหนือระดับ 70 ดอลลาร์ ขานรับข่าวสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติผ่านร่างกฎหมายขยายเพดานหนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาผลการประชุมของโอเปกพลัส ในวันอาทิตย์

(+) สัญญาทองคำตลาด COMEX ปิดพุ่งขึ้น โดยได้ปัจจัยบวกจากการอ่อนค่าของดอลลาร์ และการคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ ขณะที่นักลงทุนจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันนี้

หุ้นเคาะไป คุยไป…MEGA

  • ผู้บริหารตั้งเป้ารายได้ปี 66 เติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 5% จากยอดขายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพยังขยายตัวต่อเนื่อง  โดยมีแรงหนุนจากจีนเปิดประเทศ หนุนยอดขายยาที่เกี่ยวข้องกับโควิด เช่น ยาแก้ปวด แก้ไอ และอยู่ในระหว่างการพัฒนาและยื่นรอขึ้นทะเบียนมากกว่า 170 รายการ (SKUs) จากปัจจุบัน 350-400 รายการ ขณะที่ port กว่า 80% เป็นแบรนด์ของบริษัทเอง ทำให้มีมาร์จิ้นที่ดี (Overall 44-45%, Mega We Care 67% และ Maxxcare 17.5%) ขณะที่แรงกดดันด้านต้นทุนพลังงาน ต้นทุนการเงินที่เข้าใกล้ปลายทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
  • ด้านความเสี่ยงของสถานการณ์การเมืองในเมียนมาร์ ยังมีความไม่แน่นอน และระเบียบในการนำเข้าสินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภคจะมีความยากมากขึ้น แต่เชื่อว่าจะดีขึ้นจากปีที่แล้ว ด้านโรงงานในอินโดฯ ยังเปิดตามแผน 2Q66 ตั้งเป้าหมายในระยะ 4-5 ปีจากนี้จะทำได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 30-50 ล้านดอลลาร์ เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ Tablet Hard/Soft Gel และยามะเร็ง เน้นลูกค้ารายย่อยและโรงพยาบาลในประเทศอินโดฯ เป็นหลัก
  • ในเชิง Valuation ซื้อขายกันที่ PER ที่ 16.3 เท่า เทียบกับตลาดที่ 18 เท่า ถือว่าราคาซื้อขายต่ำกว่าตลาด และยัง laggard กว่ากลุ่ม โดยระดับราคาซอง MEGA ปรับตัวลงมากว่า 16.6%YTD
- Advertisement -