สรุปภาวะตลาด
วันพุธที่ผ่านมา ดัชนีเคลื่อนไหว sideway ราว +,- 6 จุด นักลงทุนจับตาประเด็นทางการเมือง ยังเป็นปัจจัยกดดันต่อเนื่อง โดยกกร.คงคาดการณ์ GDP 3-3.5% ส่วนปัจจัยกดดันเศรษฐกิจไทยยังมาจากภาคการส่งออก และเงินเฟ้อ กลุ่มหลักทรัพย์ที่ปรับตัวลง เช่น กลุ่มค้าปลีก ในขณะที่มีแรงซื้อในหุ้นกลุ่มพลังงาน และไอซีที ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,533.21 จุด +4.67 จุด +0.31% มูลค่าการซื้อขาย 50,565 ลบ. ต่างชาติ +1,611.10 ลบ. TFEX +10,501 สัญญา ตราสารหนี้ +2,813.02 ลบ.
ปัจจัยบวก+
+ ดัชนีดาวโจนส์ปิด เพิ่มขึ้น 91.74 จุด +0.27% ได้รับปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq และ S&P500 ปิดลบ เนื่องจากนักลงทุนเทขายทำกำไรหุ้นบริษัทที่มีทุนจดทะเบียนสูง และหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี รวมทั้งความกังวลว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้
+ สัญญาน้ำมันดิบ WTI เพิ่มขึ้น 79 เซนต์ +1.1% ปิดที่ 72.53 ดอลลาร์/บาร์เรล ได้แรงหนุนจากแนวโน้มภาวะน้ำมันตึงตัว หลังซาอุดีอาระเบียประกาศลดกำลังการผลิตน้ำมันลงอีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งช่วยบดบังปัจจัยลบจากรายงานสต็อกเชื้อเพลิงของสหรัฐที่พุ่งขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว และข้อมูลการส่งออกที่ย่ำแย่ของจีน
+ ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า แบบจำลองคาดการณ์ GDPNow ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 2.2% ใน 2Q66 หลังจากขยายตัว 1.1% ใน 1Q66
+ สหรัฐขาดดุลการค้าภาคสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 23% สู่ระดับ 7.46 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนเม.ย. สูงสุดในรอบ 6 เดือน แต่ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 7.58 หมื่นล้านดอลลาร์
+ ธพ.เผยยอดใช้ น้ำมันรอบ 4 เดือนโตกว่า 3.1% ชี้เห็นสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจ น้ำมันเครื่องบินขยายตัวต่อเนื่อง คาดกลับมาใกล้เคียงปี 62
ปัจจัยลบ-
+/- กกร. คงคาดการณ์ GDP ปีนี้ เติบโต 3-3.5% ลุ้นตั้งรัฐบาลใหม่โดยเร็วที่สุดภายใน ส.ค.นี้ หากล่าช้าและมีม็อบออกมาชุมนุมประท้วง ฉุดเศรษฐกิจโตได้แค่ 2-2.5%
– กกร.กังวลภัยแล้งสร้างความเสียหาย 3.6 หมื่นล้านบาท หวั่นค่าแรงขั้นต่ำที่ขยับขึ้นเป็น 450 บาท และการลดภาษีดีเซล 5 บาทสิ้นสุดลง จะส่งผ่านราคาสินค้าขึ้นซ้ำเติมประชาชน กดดันเงินเฟ้อสูง บีบธปท. ขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง
– สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน ในอีก 3 เดือนข้างหน้าลดลง 26.8%MoM สู่เกณฑ์ซบเซาเป็นครั้งแรก ในรอบ 8 เดือน จากปัญหาการเมืองหลังการเลือกตั้ง รองลงมาคือการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ และการเก็บภาษีตลาดทุน
แนวโน้มตลาดวันนี้
คาดดัชนีวันนี้ยังแกว่งตัวในลักษณะ Sideway ออกข้าง โดยนักลงทุนเริ่มมีความกังวลว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยในการประชุมเดือนนี้ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวขึ้นช่วยหนุนหุ้นกลุ่มพลังงาน มองกรอบดัชนีในวันนี้ 1,525-1,540 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
- หุ้นปันผลดี : TISCO INTUCH, หุ้นเด่นเกาะ Megatrend : BE8 BBIK GABLE, หุ้นยั่งยืน : EA WAVE, หุ้นเติบโตใน EEC : AMATA WHA ORI, หุ้นพื้นฐานเด่น : PJW XO
- สินค้าส่งออกเดือน เม.ย. ที่ยังขยายตัวได้ดี : GFPT TFG AH SAT
- หุ้นเข้า FTSE SET Index : Large Cap เข้า MAKRO TRUE ออก BEM DIF Mid Cap เข้า BEM BTG DIF ITC SAPPE SISB SNNP SCAP ออก CPNREIT RAM SINGER TRUE VIBHA XPG มีผล 19 มิ.ย.
หุ้นรายงานพิเศษ
NOBLE (Bloomberg Consensus 6.05 บาท) x PROUD
- บอร์ด NOBLE มีมติอนุมัติขายหุ้นสามัญทั้งหมดที่ถือในบริษัทร่วมทุน 2 แห่ง ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการนิว ครอส คูคต สเตชั่น เฟส 1 (sold 100%) เริ่มโอนปี 67 และโครงการนิว ดิสทริค อาร์ 9 คอนโดฯ ย่านถ.พระราม 9 (sold 83%) คาดเริ่มโอนปี 68 มูลค่าขาย 867.57 ล้านบาท มูลค่ารวมโครงการ 8,623 ล้านบาทโดยขายให้กับ PROUD ตามสัดส่วนที่ NOBLE ถือหุ้น 50% ร่วมกับ TNLA (บริษัทร่วมทุนกลุ่ม BTS และกลุ่มสหพัฒน์) คาดว่ากระบวนการขายจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือน ก.ค. 66 ส่วน PROUD เตรียมจัดประชุมผู้ถือหุ้น 29 มิ.ย. ขออนุมัติออกหุ้นเพิ่มทุน
- ประโยชน์ต่อ NOBLE : 1) กำไรปี 66 มี upside จากการบันทึกกำไรพิเศษ 300 – 400 ล้านบาท เพิ่มเติมจากคาดการณ์ของ Bloomberg Consensus ที่เท่ากับ 1,066 ล้านบาท +134%YoY 2) ได้รับกระแสเงินสดมาใช้พัฒนาโครงการในอนาคต 3) มีโอกาสทำให้ yield สูงขึ้น (IAA Consensus คาด yield เฉลี่ย 8%)
- ประโยชน์ต่อ PROUD : ข้อดี การซื้อโครงการมาพัฒนาต่อทำให้ backlog เพิ่มขึ้น และรายได้เติบโตเนื่องจากปี 67 มีเพียงโครงการแนวราบโครงการเดียวที่จะโอนซึ่งไม่เพียงพอสนับสนุนการเติบโตของรายได้
- ข้อเสีย PROUD ต้องเพิ่มทุนจัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิม (RO) จัดสรร 1.8 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ราคาหุ้นละ 1.75 บาท กำหนด XR 29 มิ.ย. (จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น 55%)
- ความเห็น ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกว่าดีลนี้จะช่วยสนับสนุนการเติบโตต่อเนื่องด้านรายได้ให้กับทั้งสองฝ่าย แนะนำ “ซื้อ” สำหรับ NOBLE และ “ซื้อเก็งกำไร” สำหรับ PROUD
หุ้นมีข่าว
(+) SNNP (Bloomberg consensus 28.50 บาท) โดดดีมานด์ทะลัก-สินค้าใหม่ดัน แย้มไตรมาส 2/2566 ผลงานมีเซอร์ไพรส์ พร้อมเดินเครื่องผลิต “เบนโตะ” ที่เวียดนาม เปิดช่องรับทรัพย์เพิ่มผู้บริหาร “วิโรจน์ วชิรเดชกุล” ปลื้ม ล่าสุดติดโผดัชนี “FTSE SET Mid Cap Index” ดีเดย์ 19 มิถุนายนนี้ ชี้ช่วยเพิ่ม เสน่ห์ดึงดูดกองทุนเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)
(+) EA (Bloomberg consensus 90.00 บาท) ปักธงรายได้ปีนี้โต 50% ธุรกิจอีวีทำเงิน เร่งส่งมอบรถบัสอีวี 3,000 คันในปีนี้ มองรถบรรทุกไฟฟ้าโอกาสโตอีกมาก พร้อมทุ่มงบ 1.1 หมื่นล้านบาท ต่อยอด เดินหน้าผลักดัน คาร์บอนเครดิต สร้างรายได้เพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)
(+) HL (Bloomberg consensus 20.00 บาท) ปั้นโปรดักต์ใหม่กลุ่มสินค้านวัตกรรมดันยอด โกยมาร์จิ้น 40% พร้อมอัพราคายา หนุนผลงานไตรมาส 2/2566 แจ่ม เดินหน้าขยายสาขาแตะ 40 สาขา ฟากบอสใหญ่ “ธัชพล ชลวัฒนสกุล” เดินหน้าผุดสาขาสิ้นปีนี้ให้ครบ 50 แห่ง มั่นใจรายได้โตตามแผน 20% (ที่มา ทันหุ้น)
(+) HARN (Bloomberg consensus – บาท) ตั้งเป้าดันยอดขายชน 1.5 พันล้านบาท ในปี 2568 พร้อมจ่าย ปันผลไม่ต่ำกว่า 40% ผู้บริหารส่งสัญญาณ 5 เดือนแรกตัวเลขสวย จับตาไฮซีซันหนุนยอดขายสนั่น อวดแบ็กล็อกแน่น 474.19 ล้านบาท ชี้ระบบดับเพลิงเป็นตัวทำเงิน (ที่มา ทันหุ้น)
ปัจจัยจับตาในประเทศ
- 8 มิ.ย. ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย แถลงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคและดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย
- สัปดาห์ที่ 3 สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม
- สัปดาห์ที่ 4 กระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ, การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) แถลงยอดผลิตและส่งออกรถยนต์
- สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค,ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค
- สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
- 30 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย
- 13 ก.ค. กกต.รับรองผลเลือกตั้งวันสุดท้าย
ปัจจัยจับตาต่างประเทศ
- 8 มิ.ย. สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งเดือนเม.ย.
- 9 มิ.ย. จีน รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.ค.
- 12 มิ.ย. สหรัฐ รายงานการคาดการณ์เงินเฟ้อของผู้บริโภคเดือนพ.ค.
- 13 มิ.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.
- สหรัฐ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของธุรกิจขนาดย่อมเดือน พ.ค. และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค.
- 13-14 มิ.ย. กำหนดประชุมธนาคารกลางสหรัฐเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (ทราบผลเช้าวันที่ 15 มิ.ย. เวลาในประเทศไทย)
- 22 มิ.ย. นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะแถลงเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐต่อคณะกรรมการธนาคารของวุฒิสภาสหรัฐ