บล.บัวหลวง: 

Bank – เจาะลึกพื้นฐาน หุ้นกลุ่มธนาคาร (OVERWEIGHT)

เรากลับมาวิเคราะห์กลุ่มธนาคารอีกครั้ง โดยให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด ประมาณการของเราคาดสินเชื่อเติบโตแข็งแกร่ง การขยายตัวของ NIM และมูลค่าหุ้นที่น่าสนใจ โดยเราชอบ BBL KBANK และ SCB มากที่สุดในกลุ่ม

แนวโน้มสดใสขึ้นในปี 2566-2568

เราคาดกำไรสุทธิของหุ้นกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำในปี 2566 ที่ 1.922 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.3% YoY หนุนโดยการปล่อยสินเชื่อและการขยายตัวของ NIM จากหุ้นกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำ เราคาดว่า BBL จะรายงานการเติบโตของกำไรสุทธิแข็งแกร่งที่สุดในปี 2566 ตามมาด้วย TTB, KBANK, SCB, KTB, TISCO และ KKP นอกจากนี้ เราคาดกำไรสุทธิรวมหุ้นกลุ่มธนาคารที่เราให้คําแนะนําที่ 2.103 แสนล้านบาทในปี 2567 เพิ่มขึ้น 9.4% YoY และ 2.262 แสนล้านบาทในปี 2568 เพิ่มขึ้น 7.6% YOY สําหรับไตรมาส 2/66 เราคาดกำไรสุทธิรวมที่ 4.76 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% YoY (หนุนโดยการเติบโตของสินเชื่อและ NIM ที่ขยายตัว) แต่ลดลง 4.9% QoQ (อัตราส่วนต้นทุน/รายได้เฉลี่ยที่สูงขึ้น)

งบลงทุนรอบใหม่และการขยายตัวของ NIM

กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลังโควิดกำลังเข้าสู่ภาวะปกติ หนุนโดยการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของการท่องเที่ยวและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจ เราคาดว่าการลงทุนและการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นในปี 2566-2568 นอกจากนี้ โครงการสาธารณูปโภคมูลค่า 4.90 แสนล้านบาทมีกำหนดการเปิดประมูลราคาในช่วงครึ่งหลังของปี 2566-2567 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้เรามั่นใจว่าสินเชื่อของกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำจะเติบโต 4.3% YoY ในปี 2566 (GDP เติบโตที่ 1.1 เท่า) และ 4.2% YoY ในปี 2567 (GDP เติบโตที่ 1.1 เท่า) หนุนโดยธุรกิจองค์กรและธุรกิจรายย่อย

เราคาดว่า NIM เฉลี่ยของกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำ เราจะเพิ่มขึ้น 30bps YoY มาอยู่ที่ 3.26% ในปี 2566 หนุนโดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่สูงขึ้น โดยธนาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ BBL, KBANK, KTB, SCB และ TTB จะเห็นการขยายตัวของ NIM เนื่องจากพอร์ตการลงทุนของบริษัทส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่คิดอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ปล่อยกู้ให้กับบริษัท หน่วยงานของรัฐ/SOE และ SMEs) ในทางตรงกันข้าม พอร์ตการลงทุนของ KKP และ TISCO ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ (ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อเช่าซื้อ) ดังนั้น NIM ในปี 2566-67 มีแนวโน้มที่จะหดตัวจากระดับปี 2565

คุณภาพสินทรัพย์ที่ดี ส่งผลให้การตั้งสํารองฯ ลดลงในครึ่งหลังของปี 2566

สัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมเฉลี่ย ณ สิ้นเดือนมี.ค. 2566 ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทยทั้งหมดอยู่ที่ 2.72% ตามข้อมูลของ ธปท. ลดลง 4bps QoQ อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อหนี้เสีย ณ สิ้นเดือนมี.คอยู่ที่ 173.61% เพิ่มขึ้นจาก 169.84% ณ สิ้นปี 2566

เรามองว่าธนาคารไทยมีการตั้งสำรองความเสี่ยงด้านสินเชื่อเต็มจำนวน และเราคาดสัดส่วนหนี้เสียต่อสินเชื่อรวมเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำจะลดลงในปี 2566-67 โดยอาศัยการปรับปรุงคุณภาพสินเชื่อ ควบคู่ไปกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังโควิด ดังนั้น ธนาคารส่วนใหญ่ที่เราให้คำแนะนำจะตั้งสำรองลดลง ในช่วงครึ่งหลังของปี 2566-2567

มูลค่าหุ้นที่น่าสนใจ

หุ้นกลุ่มธนาคารที่เราให้คำแนะนำในปัจจุบันชื้อขายที่ค่าเฉลี่ย PER ปี 2556 ที่ 8.3 เท่า (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี อยู่ 1.1 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ในขณะที่อัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีของกำไรรวมในปี 2566-2568 คาดอยู่ที่ 11.0% ซึ่งคิดเป็นอัตราส่วน PEG ที่ 0.8 เท่า ค่าเฉลี่ย PBV ณ สิ้นปี 2566 ที่ 0.8 เท่า (ต่ำกว่า ค่าเฉลี่ย 10 ปี อยู่ 0.7 สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ซึ่งถือว่าไม่แพง

 

- Advertisement -