สรุปภาวะตลาด

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวลงต่อเนื่อง มีแรงขายมากในหุ้นกลุ่มไอซีที พลังงาน และค้าปลีก กดดันดัชนี โดยปัจจัยการเมือง เรื่องการโหวตประธานสภาฯ ยังมีความไม่แน่นอน ประกอบกับ Fund Flow ต่างชาติที่ไหลออกต่อเนื่อง ส่งผลให้ดัชนี SET Index ปิดตลาดที่ 1,509.31 จุด -12.81 จุด -0.84% มูลค่าการซื้อขาย 46,825 ลบ.ต่างชาติ 927.69 ลบ. TFEX -4,195 สัญญา ตราสารหนี้ -1,579.50 ลบ.

ปัจจัยบวก+

+ สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเพิ่มขึ้น 0.2% สู่ระดับ 4.3 ล้านยูนิตในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าลดลงสู่ระดับ 4.25 ล้านยูนิต

+ ส.อ.ท.โชว์ยอดรถยนต์เดือน พ.ค. ผลิตได้ 150,532 คัน เพิ่มขึ้น 16.48% ขยายตัวตามยอดขายที่ 65,088 คัน และส่งออกโต 12.25%

+ กระทรวงสาธารณสุขรับมอบวัคซีนโดวิด-19 ไบโอเอ็นเทค (ไฟเซอร์) รุ่นใบวาเลนท์ จากเยอรมนี จํานวน 999,360 โดส เตรียมตรวจสอบคุณภาพและกระจายลงพื้นที่ภายในมิ.ย. นี้ เพื่อสนับสนุนการฉีดวัคซีนโดวิตประจำปี

ปัจจัยลบ-

– ดัชนีดาวโจนส์ปิดลดลง 4.81 จุด -0.01% หลังจากนายเจอโรม พาวเวล ประธานเฟด แถลงต่อสภาคองเกรสในวันที่ 2 ย้ำว่าเฟดจะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แต่จะเป็นการดำเนินการอย่างระมัดระวัง ขณะที่ดัชนี S&P500 และ Nasdaq ปิดในแดนลบ โดยได้ปัจจัยหนุนจากแรงซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี

– สัญญาน้ำมันดิบ WTI ร่วงลง 3.02 ดอลลาร์ หรือ 4.16% ปิดที่ 69.51 ดอลลาร์/บาร์เรล หลัง EIA เปิดเผยสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐลดลง 3.8 ล้านบาร์เรล สวนทางคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 3 แสนบาร์เรล ประกอบกับ BoE ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าคาด และประธาน FED ส่งสัญญาณเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำให้นลท.กังวลถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุปสงค์นํ้ามัน

– IMF ระบุว่า สัดส่วนของดอลลาร์ในการเป็นสกุลเงินสํารองของโลกได้ลดลงสู่ระดับ 58% ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2565 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 20 ปี

– ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีมติ 7-2 ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.50% สู่ระดับ 5.00% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2551 ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่า BoE จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 0.25% เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาพลังงาน อาหาร แอลกอฮอล์ และยาสูบอยู่ ที่ 7.1% ในเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้นจาก 6.8% ในเดือนเม.ย. สูงสุดนับตั้งแต่ เดือนมีนาคม 1992

– ธนาคารกลางตุรกีสร้างความประหลาดใจให้กับตลาดด้วยการประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย 6.50% สู่ระดับ 15.00%

– FED ชิคาโกเผยดัชนีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (CFNAI) ปรับตัวลงในเดือน พ.ค. เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการลดลงของการผลิตและการจ้างงาน ทั้งนี้ดัชนี CFNAI ถือเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดในการประเมินความเสี่ยง

แนวโน้มตลาดวันนี้

คาดดัชนีในวันนี้มีโอกาสปรับตัวลงทดสอบแนวรับสำคัญบริเวณ 1,500 จุด จาก Fund Flow ของนักลงทุนต่างชาติที่ยังไหลออก ประกอบกับนักลงทุนคาดว่าเฟดจะยังคงเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ คาดกรอบดัชนีในวันนี้ 1,500-1,520 จุด

กลยุทธ์การลงทุน

  • หุ้นปันผลดี : TISCO INTUCH, หุ้นเด่นเกาะ Megatrend : BE8 BBIK GABLE, หุ้นยั่งยืน : EA WAVE, หุ้นเติบโตใน EEC : AMATA WHA ORI, หุ้นพื้นฐานเด่น : PJW XO
  • สินค้าส่งออกเดือน เม.ย. ที่ยังขยายตัวได้ดี : GFPT TFG
  • SET50 หุ้นเข้า -TLI, WHA หุ้นออก – JMT, JMART SET100 หุ้นเข้า – AURA, BTG, ERW, MBK, SNNP, STEC, TASCO, TLI หุ้นออก – BEC, EPG, JAS KEX, ONEE, QH, RBF, SINGER

รายงานพิเศษ

SORKON Opportunity Day

  • งวด 1Q66 บริษัท มีกำไรสุทธิ 0.84 ลบ. 96.6%YoY, 95.5%QoQ โดยรับรู้ขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายสินทรัพย์ชีวภาพ จํานวน 21.8 ลบ. ถ้าหากไม่รวมรายการดังกล่าว บริษัทจะมีกำไร 23 ลบ. 47.7%YoY โดยมีรายได้จากการขายเท่ากับ 767.1 ลบ. (สัดส่วนรายได้จากกลุ่มอาหารแปรรูปจากเนื้อสัตว์ 53% กลุ่มอาหารทะเลแปรรูป 33% กลุ่มงานฟาร์มสุกร 12% และกลุ่มงานร้านอาหาร 2%) +2.5%YoY, -5.4%QoQ เติบโต YoY จากการเติบโตของยอดขายผ่านทางโมเดิร์นเทรด และการออกสินค้าใหม่ เช่น แหนมใบมะยมพริกแซ่บ โดยมี %GMP ที่ 24.2% ลดลง YoY เนื่องจากค่าไฟฟ้าและค่าแรงปรับตัวสูงขึ้น (4Q65 = 23.2%, 1Q65 = 25.6%)
  • ความเห็น เรามีมุมมองบวกต่อผลการดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปี โดยจะเห็นการฟื้นตัวของผลการดำเนินงานในงวด 2Q66 จากราคาหมู ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลัก มีราคาลดลง QoQ ปัจจัยสนับสนุน การเติบโตในปี 66 มาจากปัจจัยดังต่อไปนี้ 1.บริษัทมีแผนขยายการขายเข้าสู่ช่องทาง Traditional Trade มากขึ้น 2.ขยายฟาร์มสุกร 3.การลงทุนในธุรกิจร้านอาหาร เช่น แบรนด์ Leanlicious ขายอาหารคลีน, ZAAP Museum ร้านอาหารไทย, MALAYAKI ขายหม้อไฟหมาล่า และ 4. เพิ่มฐานการผลิต ผลิตภัณฑ์จากเนื้อหมู ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อส่งออกไปในประเทศต่างๆ ในยุโรป รวมถึง ประเทศจีนและอเมริกา โดยปัจจุบันหุ้นซื้อขายที่ P/E 21x สูงกว่า อุตสาหกรรม FOOD เล็กน้อยที่มี P/E 18×

หุ้นมีข่าว

(+) NEX (Bloomberg consensus 13.75 บาท) จับมือ KBS นำรถบรรทุกหัวลากอีวีวิ่ง ไตรมาส 3/2566 ปิดดีลได้ เปิดตลาดขนส่งเกษตร ขณะที่ลูกค้าโลจีสติกส์คุยเพียบทั้ง DHL-CEVA-มนตรีทรานสปอร์ต รับปัจจุบัน เจรจาลูกค้ากว่า 90 ราย ส่งรถให้ BYD ไตรมาส 2/2566 จำนวน 480 คัน เข้าประมูลรถขยะอีวีกทม.ด้วย (ที่มา ทันหุ้น)

(+) IVL (Bloomberg consensus 43.00 บาท) เผยคำสั่งซื้อสินค้าเร่งตัวขึ้นประมาณ 80% เมื่อเทียบกับ ไตรมาส 4/2565 หนุนผลงานไตรมาส 2/2566 เติบโตได้ดี แถมรับอานิสงส์ราคาพลังงานอ่อนตัว หนุนศักยภาพการทำกำไรเพิ่มขึ้น มั่นใจผลงานกลุ่มธุรกิจ IOD และ PET ทั้งปีเติบโตสอดคล้องกับภาพรวมเศรษฐกิจโลก ย้ำแผน เข้าซื้อกิจการสร้างมูลค่าเพิ่ม (ที่มา ทันหุ้น)

(+) ITEL (Bloomberg consensus 4.50 บาท) จ่อบุ๊กงานเพียบ หนุน Q2/2566 ฟอร์มแจ๋ว พร้อมปักหมุด ปี 2566 รายได้แตะ 3.7 พันล้านบาท รับพอร์ตลูกค้าขยายตัว ผู้บริหาร “ณัฐนัย อนันตรัมพร” เผยซิวโครงการซ่อมบำรุงกฟภ.เฉียด 125 ล้านบาท หนุน Backlog พุ่งแตะ 2.64 พันล้านบาท กินยาวถึงปี 2569 (ที่มา ทันหุ้น)

(+) CI (Bloomberg consensus – บาท) มั่นใจธุรกิจโรงแรมปีนี้ฟื้นตัวต่อเนื่อง นักท่องเที่ยวต่างชาติหนุน วางเป้าโกยรายได้ธุรกิจโรงแรมปี และ 1,000 ล้านบาท โรงแรมกูเกิลอัตราการเข้าพักยังอยู่ในระดับสูงราว 70-80% แม้เข้าช่วงโลว์ซีซันในไตรมาส 3/2566 คาดฟื้นตัวอีกทีไตรมาส 4/2566 ถึงต้นปี 2567 ด้านธุรกิจอสังหาปีนี้โต 2,000 ล้านบาท เตรียมโอนแบ็กล็อกต่อเนื่อง เดินหน้าเปิดโครงการใหม่ทั้งแนวราบและคอนโดมิเนียม ตามแผน (ที่มา ทันหุ้น)

ปัจจัยจับตาในประเทศ

  • สัปดาห์ที่ 5 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลัง, ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาค,ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) แถลงดัชนีอุตสาหกรรม
  • 20 – 28 มิ.ย. กำหนดเวลาของส.ส.ที่กกต.ประกาศรับรองต้องรายงานตัวต่อสภาฯ
  • 30 มิ.ย. ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจไทย

ปัจจัยจับตาต่างประเทศ

  • 23 มิ.ย. อียู รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นต้น เดือนมิ.ย.จากฮัมบูร์ก คอมเมอร์เชียล แบงก์ (HCOB)
  • สหรัฐ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิต-ภาคบริการ ขั้นต้นเดือนมิ.ย.จากเอสแอนด์พี โกลบอล
  • 26 มิ.ย. สหรัฐ รายงานดัชนีการผลิตเดือนมิ.ย.จากเฟดดัลลัส
  • 27 มิ.ย. สหรัฐ รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพ.ค. ราคาบ้านเดือน เม.ย.จากเอสแอนด์พี/เคส-ชิลเลอร์ ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.จาก Conference Board
  • 28 มิ.ย. จีน รายงานกำไรภาคอุตสาหกรรมเดือนพ.ค.
    • สหรัฐ รายงานสต็อกน้ำมันรายสัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA)
  • 29 มิ.ย. อียู รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิ.ย.
    • สหรัฐ รายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 1/2566 ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home Sales) เดือนพ.ค.
- Advertisement -